ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำข้าวหลาม

โดย : นางรุ่งทิวา รันดอน วันที่ : 2017-03-18-13:38:57

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ …57…หมู่ที่…12……ตำบล.....ดอน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เหตุผลที่ทำข้าวหลามเป็นอาหารที่ มีชื่อเสียงของอำเภอและปรากฏในคำขวัญของอำเภอว่า”ลำพระเพลิงน้ำใส ผ้าไหมเนื้องาม ข้าวหลามนกออก ถั่วงอกวังหมี หมี่ตะคุ”ข้าวหลามของอำเภอปักธงชัยเป็นอาหารพื้นบ้านที่ทำกินทำขายทั่วไปไม่เฉพาะตำบลนกออกตำบลดอนมีชาวบ้านหลายหมู่บ้านทำข้าวหลามขาย โดยเฉพาะที่บ้านตะกุด ข้าวหลามบ้านตะกุดมีชื่อเสียงมากขึ้นชื่อมนเรื่องของความอร่อย มีกลิ่นหอมจากการเผาเพื่อสืบทอดมรดกภูมิปัญญาการเผาข้าวหลาม และสามารถสร้างรายได้เป็นอาชีพหลักซึ่งมีรายได้ดี ทำให้ฐานะความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตดีขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่ครัวเรือนสัมมาชีพให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

2.เพื่อแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ด้วยการสร้างอาชีพเสริม”การทำข้าวหลาม”

3.เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงาน.ในหมู่บ้านที่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันโดยการสร้างอาชีพในชุมชน โดยใช้ภูมิปัญญาของชุมชน 4.เพื่อให้ปราชญ์สัมมาชีพของชุมชนได้ถ่ายทอดความรู้แก่ครัวเรือนสัมมาชีพ

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ข้าวเหนียว”ตราดอกบัว”ลักษณะเหนียวนุ่มไม่ใช้ข้าวเหนียวแข็ง

2.มะพร้าวถ้าเป็นมะพร้าวใต้จะดีเพราะมีความมัน

3.น้ำตาลทรายขาว

4.ไม้ไผ่ อ่อนจะไม่ใช้ไม้ไผ่แก่เพราะเผายาก

 

5.เกลือป่น

6.ถั่วลิสงหรือถั่วดำ

7.เปลือกมะพร้าว

อุปกรณ์ ->

1.หม้อ

2.กะละมัง

3.มีด

4.ไม้ฟืน,ซังข้าวโพดหรือเชื้อเพลิง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนที่1. แช่ข้าวเหนียวทิ้งไว้3ชั่วโมง

2.ขั้นตอนที่2 ต้มถั่วลิสงหรือถั่วดำพอสุกไม่ให้เลาะ

 

ขั้นตอนที่3  ขูดมะพร้าวแล้วคั้นเอาหัวกะทิน้ำกะทิต้องข้นไม่ต้องใช้น้ำมาก

ขั้นตอนที่4 นำข้าวเหนียวที่แช่ไว้3ชั่วโมงมาผสมกับน้ำกะทิน้ำตาลและเกลือให้เข้ากันเน้นหวานมัน

ขั้นตอนที่5  นำข้าวเหนียวที่ผ่านการปรุงรสมาใส่ในกระป๋องไม้ไผ่เติมกะทิพอประมาณปิดฝา

ขั้นตอนที่6การเผาข้าวหลามไม่ใช้ไฟแรงมากต้องเป็นไฟที่ครุแดงเท่านั้นใช้เวลาเผาประมาณ 1 ชั่วโมง

ขั้นตอนที่7 เมื่อเผาได้ที่สังเกตจะมีกลิ่นหอมของกะทิ นำมาวางให้เย็นแล้วปลอกเอาเลือกไม้ไผ่ออกให้เหลือเฉพาะขอบด้านในหนาประมาณ 1-2มิลลิเมตร

ข้อพึงระวัง ->

1. ข้าวเหนียวที่ใช้ต้องเป็นข้าวเหนียวเม็ดยาว ใช้ข้าวเหนียวที่หุงแล้วมีความอ่อนนุ่มไม่แข็งเช่นข้าวเหนียวตราดอกบัว ข้าวเหนียวเขี้ยวงู

2.มะพร้าวที่ใช้ต้องเป็นมะพร้าวที่มีความมัน เช่นมะพร้าวใต้เกาะสมุยแต่มีราคาแพงแต่จะทำให้ข้าวหลามหอมและมันกำลังดี

3.ไม้ไผ่ที่ใช้เผาข้าวหลามต้องเป็นไม้ไผ่ที่อ่อนหรือปานกลางไม่เป็นไม้ไผ่แก่

4.การเผาข้าวหลามไม่ใช้ไฟแรงต้องใช้ไฟครุเพราะจะได้อุณหภูมิสม่ำเสมอและกลับข้าวหลามเป็นระยะ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา