ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลานิลในกระชัง

โดย : นายพงษ์สิทธิื กาดนอก วันที่ : 2017-03-18-12:57:54

ที่อยู่ : 26 ม.6 ต.กระเบื้องนอก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

           ปลานิล...เป็นสัตว์น้ำชนิดเดียวที่มนุษย์นำมาเป็นอาหารได้หลากหลายรูปแบบ และทั้งยังให้โปรตีนสูง  มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายเท่า  สมัยก่อนมนุษย์นิยมนำปลามาทำเป็นอาหารหลัก  ปัจจุบัน มนุษย์เพิ่มจำนวนมากข้ึน  ปริมาณปลาที่หาได้ลดน้อยลง ไม่เพียงพอต่อการบริโภค  จึงมีผู้ทดลองนำปลา นิล ปลาไน ปลาตะเบียน มาขยายพันธ์ุ เพื่อเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคและจำหน่าย รายได้ดี  จำได้ว่าผู้ที่นำพันธ์ุปลานิล มาจากต่างประเทศ เพื่อมาเพาะขยายพันธุ์ให้คนไทยได้นำไปเลี้ยงไว้บริโภคและจำหน่ายเป้นอาชีพ คือ  พระบาทสมเด้จพระเจ้าอยู่หัว ร.9  นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งที่พระองค์ทรงเป้นห่วงราษฎร  ทรงหาวิธีสร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่ประชาพสกนิกรไทย ของพระองค์ บ้านโนนสำโรง ม.6 ของข้าพเจ้านับว่าโชคดีมีแหล่งนำ้ธรรมชาติเอื้ออำนวยในการสร้างสัมมาชีพการเลี้ยงปลาในกระชัง เพราะมีลำน้ำมูลไหลผ่านพื้นที่หมู่บ้านพอให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์  ประกอบกับข้าพเจ้าและเพื่อนบ้านพอจักมีความรู้ทักษะในการเลี้ยงปลาในกระชังอยู่บ้างจากการที่เคยไปเป็นลูกจ้างการเลี้ยงปลาในกระชังที่ต่างจังหวัด จึงเป็นเหตุผลที่บ้านโนนสำโรงขอสร้างสัมมาชีพชุมชนด้วย  การเลี้ยงนิล..ในกระชัง..

 

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้เพิ่มากขึ้น

2.เพื่อน้อมนำแนวปรัชญาของในหลวง ร.9 มาปฏิบัติให้เกิดผลดีต่อครอบครัว และสังคม

3.เพื่อรวมกลุ่มเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน มีความรักความสามัคคียิ่งขึ้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

- ปลานิล แปลงเพศ เจริญเติบโตได้ดี/โตเร็ว /ตัวใหญ่

-หัวอาหารปลา /รำข้าว / ปลายข้าว /นำ้หมักชีวภาพ

-สถานที่เลี้ยงในหนองน้ำประจำหมู่บ้าน

 

 

อุปกรณ์ ->

1.เลื่อยตัดเหล็ก

2.ท่อพีวีซี/กาว

3.ผ้ามุ้งเขียว/เชื่อกเขียว

4.ตาข่ายเขีย;

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.การเตรียมสถานที่สามารถเลี้ยงในลำห้วย หนอง คอลบึง ได้ดี แต่ต้องเป็น 

แหล่งนำ้ต้องสะอาดมีคุณภาพดี น้ำไหลเวียนตลอดเวลา

2.ความลึก อย่างน้อย  ประมาณ 1.2 ม. เป็นต้นไป

3.ชนิดของปลานิล ส่วนมากจะนิยมใช้ปลานิลแปลงเพศ

4.การให้อาหาร ควรให้อาหารที่มีระดับโปรตีนสูง และควรให้ในเวลากลางวันปลาสามารถรับประทานได้เต็มที่

  วิธีการเลี้ยง

     1.นำท่อ พีวีซี ตามขนาดมาขึ้นรูปสี่เหลี่ยนผื้นผ้า

      2.จัดเย็บกระชังรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าด้วยผ้ามุ้งเขียว ลึกประมาณ 2.00 -2.50 ซม.

3.นำไปผูกกับโครงท่อ พีวีซีที่เตรียมไว้

4.นำไปลงไปแขวนแช่น้ำในหนองนำ้ ให้โผล่พ้นน้ำประมาณ 20-25 ซม.

5.โดยให้แต่ละกระชังห่างกันประมาณ 2- 3  ม. กำลังพอดี

6.นำลูกปลาช่วงอายุที่ต้องการ ปล่อยลงในกระชัง 

7.ให้อาหาร /ดูแลรักษาตามห้วงเวลาที่แนะนำ

8.การจับปลามาบริโภคหรือจำหน่ายควรดูขนาดตามต้องการ

ข้อพึงระวัง ->

- ทุกสัปดาห์ ควรหมั่นตรวจสอบกระชัง ป้องกันการฉีกขาด ชำรุดเสียหายเมื่อมีการฉีกขาด ควรซ่อมแซมทีนที่

- เมื่อปลามีขนาดโตขึ้น ควรจับมาชั่นน้ำ เพื่อปรับลดการให้อาการ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา