ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปลูกมันสำปะหลัง

โดย : นายใบ จำปีกลาง วันที่ : 2017-03-15-17:55:32

ที่อยู่ : 171 ม.10 ต.หนองบัว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

  เริ่มจากภาวะราคาข้าวที่ตกต่ำ ข้าวล้นตลาด ครอบครัวมีหนี้สินที่กู้ยืมมาจากการทำนา หันมาปลูกพืชหลังฤดูทำนาและเข้าร่วมโครงการอบรมของเกษตร ในการใช้สมุนไพร และฮอร์โมนพืชในการปลูกพืชเพื่อเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนในการผลิต จึงหันมามาปลูกมันสำปะหลังซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยใช้สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช และใช้ฮอร์โมนจากพืชและสัตว์ที่ทำขึ้นดอง ใช้น้ำหมักชีวภาพ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิต และเป็นการบำรุงดินเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้นด้วย 

วัตถุประสงค์ ->

สร้างอาชีพ สร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

2.1 ขั้นตอนในการเตรียมดิน โดยการปลูกพืชบำรุงดิน เช่น ปอเทือง ซึ่งถือว่าเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน ไถครั้งแรกโดยไถกลบวัชพืชก่อนปลูกด้วยผาน 3 (อย่าเผาทำลายวัชพืช) ให้ลึกประมาณ 20-30 ซม. แล้วทิ้งระยะไว้ประมาณ 20-30 วัน เพื่อหมักวัชพืชเป็นปุ๋ยในดินต่อไป ไถพรวนด้วยผาน 7 อีก 1-2 ครั้ง ตามความเหมาะสม และรีบปลูกโดยเร็ว ในขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่           

            2.2 การเตรียมท่อนพันธ์ใช้ท่อนพันธุ์มันที่สด อายุ 10-12 เดือน ตัดทิ้งไว้ไม่เกินประมาณ 15 วัน โดยติดให้มีความยาวประมาณ 20 ซม. มีตาไม่น้อยกว่า 5 ตา เพื่อป้องกันเชื้อราและแมลง ควรจุ่มท่อนพันธุ์ในน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตขึ้น ในน้ำ 20 ลิตร ประมาณ 5 นาที แล้วใส่ท่อนพันธ์ในถุงปุ๋ยประมาณ 1-2 คืนเพื่อให้ตาของท่อนพันธ์แตกตาเพื่อประสิทธิภาพในการปลูก

            2.3 การปลูก ปลูกเป็นแถวแนวตรง เพื่อสะดวกในการบำรุงรักษาและกำจัดวัชพืช โดยใช้ระยะระหว่างแถว 1.20 เมตร ระยะระหว่างต้น 80 ซม. และปักท่อนพันธุ์ให้ตั้งตรงลึกในดินประมาณ 10 ซม.

ข้อพึงระวัง ->

การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง นอกเหนือจากการปรับปรุงบำรุงดิน ร่วมกับการอนุรักษ์ดิน และการใช้พันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดีแล้ว การจัดการดูแลที่ดี โดยเริ่มตั้งแต่ ฤดูการปลูกที่เหมาะสม การเตรียมดินดี การเตรียมท่อนพันธุ์ปลูก ระยะปลูกที่เหมาะสม ตลอดจนการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสม การกำจัดวัชพืช เป็นปัจจัยที่จะทำให้ผลผลิตสูงขึ้น โดยเฉพาะการเอาใจใส่ในการเตรียมท่อนพันธุ์ จะมีผลทำให้อัตราความอยู่รอดของมันสำปะหลังสูงขึ้น ต้องคัดเลือกใช้ต้นพันธุ์ (ท่อนพันธุ์) สมบูรณ์ นับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอันดับแรก เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น ๆ เนื่องจาก มีผลต่อความงอกและจำนวนต้นอยู่รอดจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับผลผลิต รวมทั้งต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ซึ่งมีข้อแนะนำ ดังนี้

          

                        1. ต้องใช้ต้นพันธุ์ที่มีอายุ 8 – 14 เดือน โดยสังเกตได้จากสีของลำต้นที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นสีเข้ม เมื่ออายุมากขึ้น และไม่มีโรคแมลงติดมา

                        2. ต้องเก็บรักษาต้นพันธุ์ให้ดี หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรรีบนำต้นพันธุ์ไปปลูกทันที ถ้าจำเป็นต้องเก็บรักษาต้นไว้ทำพันธุ์ต่อไป สามารถทำได้โดย ตั้งกองพันธุ์ไว้กลางแจ้งในแนวตั้ง ให้ส่วนของโคนสัมผัสกับพื้นดิน หรือใช้ดินกลบโคน และกองไม่ใหญ่เกินไป เพื่อให้อากาศถ่ายเท ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้ จะสามารถรักษาสภาพต้นได้ประมาณ 15 – 30 วัน หรือนานถึง 2 เดือน แต่ถ้าเก็บไว้นานต้นจะแห้งจากส่วนปลายลงมา และตาจะแตกทำให้ได้จำนวนท่อนที่สมบูรณ์น้อยลง

                        3. ต้องใช้ส่วนกลางของลำต้น ควรเป็นส่วนกลางและโคนต้นที่ไม่อ่อน หรือแก่จนเกินไป

                        4. ต้องตัดท่อนที่มีความยาวที่เหมาะสม ในช่วงต้นฤดูฝน ควรใช้ท่อนพันธุ์ขนาด 20 ซม. และช่วงปลายฝน ควรใช้ท่อนพันธุ์ขนาด 25 – 30 ซม. (ควรมีตาอย่างน้อยประมาณ 5 – 7 ตา) ส่วนการสับ ท่อนพันธุ์ควรสับให้เฉียงเล็กน้อย และหลีกเหลี่ยงไม่ให้ตาบนท่อนพันธุ์ช้ำ หรือถูกกระทบกระเทือน

                        5. วิธีการปลูกที่เหมาะสม ควรปลูกแบบปักตรงหรือเอียงเล็กน้อย เป็นวิธีที่ให้ผลผลิตสูง ความลึกในการปักท่อนพันธุ์ลงในดินประมาณ 8 – 10 ซม. แต่ไม่ควรปักลึกมาก และควรมีการตรวจสอบความงอกหลังปลูกเพื่อทำการปลูกซ่อมได้ทันเวลา

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา