ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ

โดย : นายศตวรรษ พึ่งน้ำ วันที่ : 2017-03-15-15:24:32

ที่อยู่ : 81 ม.9 ต.กระเบื้องนอก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

           การแสดงวามจงรักภักดีต่อในหลวง ร.9 ข้าพเจ้ามีโอกาสได้แสดงออกด้วยการถวายความเคารพ  ยกมือไหว้  ยืนตรงในการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ในวัน และเวลาอันสำคัญ เท่านั้น แต่การนำคำสอนของพ่อมาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ยังไม่เป็นรูปธรรมเท่าใดนัก ข้าพเจ้าจึงคิดว่า น่าจะทำอะไรสักอย่างที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพของตนเอง  

          นึกได้ว่าตนเองทำนา มาหลายปี ขาดทุนทุกปี ค่าใช้จ่ายก็มากขึ้นๆ ไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้  จึงอยากจะลดต้นทุนในการทำนาสักอย่าง แล้วความคิดก็นึกได้ว่า ปุ๋ยเคมี มีราคาแพง ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการลงทุนอย่างอื่น จึงต้องการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ที่สามารถทำได้เอง วัตถุดิบก็หาง่าย และไม่เป้นอันตรายต่อตนเอง และสภาพแวดล้อมอีกด้วย เป็นการลดต้นทุนในการทำนาได้เป็นอย่างดี..-

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อต้องการลดต้นทุนการทำนา

2.เพื่อนำวัตถุดิบที่หาได้ง่ายมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำการเกษตร

3.เพื่อปรับปรุงบำรุงดินให้มีสภาพแวดล้อมดีขึ้น

4.เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี ในการได้ปฏิบัติตามคำสอนของพ่อ (ในหลวง ร.9)

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เศษพืช มูลสัตว์ ปุ๋ยคอก แกลบเผา  แกลบดำ ปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0

2.หินฟอสเฟต/ กากน้ำตาล 

3.ปูนขาว

4.สาร EM

5. พ.ด. 1

6. น้ำเปล่า

อุปกรณ์ ->

1.จอบ เสียม พั้วเอาไว้ผสมคลุกเคล้ากองปุ๋ย

2. ผ้าเต้นท์   ผ้ายางสีดำอาไว้คลุม

3. ถังน้ำมีฝาปิด   คราด รถเข็น  ตราชั่ง และไม้กวาด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนวิธีทำ  เตรียมวัสดุและส่วนผสม ดังนี้ให้พร้อม แล้วดำเนินการ ดังนี้.-

         1.นำผ้าเต้นท์ปูลงพื้นกว้างยาวตามความต้องการที่จำหมักปุ๋ย(มูลสัตว์ 1 ตัน ใช้ผ้ารองพื้นขนาด 5X5 ม.)

2.นำเศษพืช มูลสัตว์  มาเทกองบนผืนผ้าเต้นท์

3.นำปุ๋ยยูเรีย /ผงหินฟอสเฟต/ปูนขาว ผง พด.1 และน้ำหมัก EM ใส่ลงไปในถัง

4.นำน้ำเปล่าเทลงในถัง ใช้ไม้คนให้ละลายแล้วเทลาดลงไปในกองปุ๋ยให้ทั่ว

5.ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดวัตถุดิบ

      (ส่วนผสม. ได้แก่ 1. ปุ๋ยคอก 1 ตัน ใช้ปุ๋ยยูเรีย 1 กระสอบหรือ 25 กก.

                             2.หินฟอสเฟต   จำนวน  25 กก.

3.น้ำหมัก EM   ประมา  1 ลิตร  และ พด.1  จำนวน  1 ซอง และปูนขาว)

4.ใช้อุปกรณ์ผสมให้เข้ากันแล้วเอาผ้ายางดำมาคลุมไว้ พอได้ ประมาณ 7 วัน

ให้กลับกองปุ๋ยครั้งที่ 1 /  11 วัน กลับครั้งที่ 2 แล้วปล่อยิท้งไว้ประมาณ 24 วัน หรือ 1 เดือน ก็ได้ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพปลอดภัยใช้ในการทำการเกษตร

 

ข้อพึงระวัง ->

-อาจมีกลิ่นเหม็นรบกวนในตอนที่หมัก

-ควรหาหน้ากากมาปิดปาด ปิดจมูก

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา