ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก

โดย : นายสมชาย ซ่อนนอก วันที่ : 2017-03-14-19:12:55

ที่อยู่ : ๘๑ หมู่ที่ ๔ ต.ดอนใหญ่ อ.คง จ.นครราชสีมา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปลาดุก    เป็นปลาพื้นถิ่นของบ้านเรา  เป็นปลาที่มีเนื้อแน่น  รสชาติอร่อย  ไม่ว่าจำนำมาย่าง  ต้ม  ลาบ   ก็มีความอร่อย    แต่ในปัจจุบัน  ปลาดุกในแหล่งน้ำธรรมชาติ  ได้ลดจำนวนลงเป็นอย่างมาก  หาได้ยาก  จึงมีการนำปลาดุกมาเพาะเลี้ยงในฟาร์ม  หรือแม้กระทั่งในครัวเรือน    การเลี้ยงในครัวเรือนนั้นสามารถเลี้ยงได้หลายรูปแบบ   ตั้งแต่ปล่อยเลี้ยงในสระน้ำ  เลี้ยงในโอ่ง    เลี้ยงในบ่อซีเมนต์   เลี้ยงในบ่อพลาสติก  ระยะเวลาในการเลี้ยงจนปลามีขนาดที่จะนำมาประกอบอาหารได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ปลา   หากต้องการความเร็วมาก ๆ  ก็เลี้ยงปลาดุกรัสเซีย    ซึ่งอายุในการเลี้ยงก็สามารถจับมาประกอบอาหารได้ตั้งแต่อายุ  ๑  เดือนขึ้นไป    ปลาดุกรัสเซียจึงมีผู้นิยมเลี้ยงโดยทั่วไป

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อหากิจกรรมลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. ผ้าพลาสติก  ขนาด  ๓.๕ คูณ  ๗  เมตร

                ๒. พันธุ์ปลาดุกรัสเซีย

                ๓. อาหารสำเร็จรูป  ปลาดุก

อุปกรณ์ ->

๑. บ่อดินขนาด  ๒.๘  คูณ  ๖  เมตร  ลึก  ๐.๕  เมตร

                ๒. น้ำสะอาด

                ๓. ดิน (โคลน)

                ๔. วัชพืช  เช่น  ผักบุ่ง  ผักตบชวา  เป็นต้น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. นำผ้าพลาสติกลงปูในบ่อดิน    นำโคลนมาลงในบ่อ  พร้อมวัชพืช  แล้วใส่น้ำลึกประมาณ  ๓๐  เซนติเมตร

                ๒. นำพันธุ์ปลาดุกรัสเซีย  ปล่อยลงไป   อัตรา  ๘๐๐ – ๑,๐๐๐  ตัว

                ๓. ขุนอาหารสำเร็จรูป  เช้า-เย็น

                ๔. เมื่อเลี้ยงมาครบ  ๑  เดือน  ปลาจะมีขนาด  ๒-๔  ตัว  ต่อ  ๑  กิโลกรัม  ซึ่งสามารถจับมาประกอบอาหารได้  หรือเริ่มจับขายได้

                ๕. หากต้องการปลาที่มีขนาดใหญ่  ๑  กิโลกรัมต่อตัว  ก็เลี้ยงต่อไปอีก  ๓๐ วัน

ข้อพึงระวัง ->

การเลี้ยงปลาดุก  ควรถ่ายน้ำทุกสัปห์ดา  และไม่ควรปล่อยน้ำเก่ามากเกินไป  เพราะจะทำให้ปลาตื่นไม่กินอาหาร   และการให้อาหารไม่ควรให้มากเกินไปจนอาหารเหลือเพราะจะทำให้น้ำเสีย

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา