ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นบ้าน

โดย : นายอนันต์ ประดิษฐจา วันที่ : 2017-03-15-16:51:49

ที่อยู่ : ๙๕ หมู่ที่ ๒ ต.ดอนใหญ่ อ.คง จ.นครราชสีมา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ครอบครัวมีอาชีพทำนา   ซึ่งประสบปัญหาภัยแล้งต่อเนื่อง  ๒-๓ ปี  ประสบปัญหาการขาดทุน  จึงคิดหาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว     ขณะนั้นก็ได้เลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองอยู่แล้ว  ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เป็นอาหารของครอบครัวเป็นส่วนใหญ่  คือเลี้ยงแบบปล่อย  ไม่มีโรงเรือน  ไม่ทำวัคซีน  ขุนบ้างเป็นบางวัน   ผลผลิตที่ได้ก็ได้บ้างเสียบ้างเนื่องจากโรคระบาด (ห่า)  จึงได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นบ้าน  และขอความรู้เรื่องการทำวัคซีนจากสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ  และนำมาปฏิบัติในการเลี้ยงไกของตน  ซึ่งสามารถเพิ่มผลผลิต  ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้  และมีอาชีพเสริมให้กับตนเองและครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. ไก่พันธุ์พื้นเมือง

                ๒. อาหารไก่เนื้อสำเร็จรูป (ไก่เล็ก)

                ๓. ข้าวเปลือก  ปลายข่าว  รำ

                ๓. วิตามิน/ยาปฏิชีวนะ

อุปกรณ์ ->

๑. โรงเรือน (เล้าไก่)  ยกพื้นสูง  ๑.๒๐ เมตร 

๒. ตาข่ายไนล่อน  ล้อมพื้นที่  ๑  ไร่  สูง  ๒  เมตร  เพื่อป้องกันไก่ออกไปหากินคุ้นเขี่ยพืชผลของเพื่อนบ้าน

                ๓. อุปกรณ์ให้น้ำไก่

                ๔. อุปกรณ์ให้อาหารไก่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. ปล่อยพ่อพันธุ์  แม่พันธุ์ไก่พื้นบ้านในเล้าไก้  (อัตราส่วนพ่อพันธุ์  ๑ ตัว ต่อ  แม่พันธุ์ไก่  ๖ ตัว

                ๒. หาลัง หรือเข่ง  ใส่ฟางข้าว  มาวางไว้บนพื้นโรงเรือน  เท่ากับจำนวนแม่พันธุ์ไก่  เพื่อใช้เป็นรังออกและฟักไข่

                ๓. ขุนไก่ด้วยข้าวเปลือก  หรือปลายข้าวผสมรำ  เช้า-เย็น  (ขุนบ้างเล็กน้อยส่วนใหญ่ให้ไก่หากินเอาเอง)

                ๔. ในพื้นที่โรงเรือนที่ล้อมตาข่าย  ให้ขุดหลุมกว้าง   ๑ คูณ ๑ เมตร  ลึก  ๕๐  เซนติเมตร  เพื่อใส่เศษไม้  ใบไม้  แล้วลดน้ำให้ชุ่มลิวปิดด้วยสังกะสีทิ้งไว้  ๕-๗ วัน  เปิดให้ไก่ไปเขี่ยหากินปลวกและแมลง  ตอนเย็นก็กวาดใบไม้เศษไม้ลงหลุม  และรดน้ำให้ชุม  เอาสังกะสีปิด  (ทำหลาย ๆ หลุม  สลับเปิดให้ไก่หาอาหาร)

                ๕. หัวค่ำเปิดไฟล่อแมลงมาให้ไก่กิน  ๔  ทุ่ม ปิดไฟ

                ๖. เมื่อแม่ไก่ไข่แล้วฟักเป็นตัว  แยกลูกไก่ไปเลี้ยงขุนด้วยอาหารสำเร็จรูปสำหรับไก่เนื้อขนาดเล็ก  พร้อมกับทำวัคซีนตามที่ปศุสัตว์แนะนำ  ไปอีก  ๑  เดือนครึ่ง  จึงปล่อยเลี้ยงในเล้า

                ๗. เมื่อลูกไก่มีน้ำหนักได้ตั้งแต่  ๑.๕  กิโลกรัมขึ้นไป  ก็สามารถจับขายได้เรื่อย ๆ

ข้อพึงระวัง ->

การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นบ้านมีต้นทุนต่ำ  แต่ควรทำวัคซีนให้ครบ  เป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้อย่างงามพอสมควร

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา