ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์

โดย : นายโยธิน ป่ามะไพร วันที่ : 2017-03-10-23:19:06

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๒๕/๑ หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองแจ้งใหญ่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปุ๋ยอินทรีย์เป็นปุ๋ยที่ได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือวัสดุอินทรีย์ที่ได้รับการแปรสภาพแล้วจากกระบวนการย่อยสลาย โดยการกระทำของจุลินทรีย์ ได้แก่ เชื้อรา แบคทีเรีย แอคติโนมัยซิส บทนิยามในข้อกำหนดหรือมาตรฐานของปุ๋ยอินทรีย์ มีคำจำกัดความว่า ปุ๋ยอินทรีย์หมายถึง ปุ๋ยที่ได้หรือทำจากวัสดุอินทรีย์ หรืออินทรีย์วัตถุ แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยที่ได้จากอินทรีย์วัตถุ ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธี ทำให้ชื้น สับ บด หมัก ร่อน หรือวิธีการอื่นๆ แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ

          ลักษณะของปุ๋ยอินทรีย์มีทั้ง ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม แต่มีอยู่ในปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมี จึงต้องใช้ในปริมาณมาก และสม่ำเสมอทุกฤดูปลูกหรือทุกปี มีคุณสมบัติทำให้ดินร่วนซุย อนุภาคดินมีการจับตัว ทำให้โครงสร้างดินดีขึ้น มีการระบายน้ำและอากาศดี ช่วยเพิ่มการดูดซับน้ำและธาตุอาหารอย่างสม่ำเสมอ ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้เหมาะสม และรักษาระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดินไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปมาก

วัตถุประสงค์ ->

ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปุ๋ยอินทรีย์ พันธ์ข้้าว

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

            1 ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ได้จากการนำเอาเศษซากพืชมากมักร่วมกับมูลสัตว์ อาจมีการใส่สารเร่งการย่อยสลาย ถ้าเป็นปุ๋ยหมักที่ใช้ทั่วไปจะมีการใส่ปุ๋ยเคมีจำพวกไนโตรเจน ได้แก่ ยูเรีย (46-0-0) หรือแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) แต่ถ้าใช้ในการเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์จะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีเหล่านี้ อาจจะนำเศษวัสดุเหลือใช้จากโรงสีข้าว โรงงานน้ำตาล โรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงงานกะเทาะเปลือกถั่วลิสง โรงงานกะเทาะเมล็ดข้าวโพด เมื่อหมักโดยใช้ระยะเวลาหนึ่ง เศษพืชและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจะเปลี่ยนสภาพจากของเดิมเป็นผงเปื่อยยุ่ย มีสีน้ำตาลปนดำ เนื่องจากเกิดการย่อยสลายโดยสมบูรณ์ ซึ่งจะมีธาตุอาหารพืช สามารถนำไปใช้ในไร่นา สวนไม้ผล ในแปลงผักได้ ดังตัวอย่างที่ได้แสดงไว้ในตารางที่ 1, 4 และ  5

            2  ปุ๋ยคอก คือปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ได้จากสิ่งขับถ่ายของสัตว์หรือมูลสัตว์ เช่น โค กระบือ แกะ ม้า สุกร เป็ด ไก่ ค้างคาว ก่อนนำไปใช้จะต้องหมักไว้ให้เกิดการย่อยสลายก่อน แล้วผสมกับฟางข้าว เศษหญ้า หรือแกลบ ในอัตราส่วนปุ๋ยคอก 4 ส่วน ต่อเศษวัสดุเหลือใช้เหล่านี้ 1 ส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้ธาตุอาหารในปุ๋ยคอกสูญเสียไปโดยการดูดซับธาตุอาหารไว้ มูลสัตว์จะย่อยสลายได้ง่ายและเร็ว เพราะมีค่าสัดส่วนของ C/N ต่ำ ตามตารางที่ 8, 9 และ 10 ปุ๋ยคอกอาจมีข้อพิจารณาการใช้ คืออาจมีสารบางชนิดที่ปนเปื้อนมากับอาหารสัตว์ที่กินเข้าไป แล้วถ่ายเป็นมูลที่มีสารเคมีเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องเลือกมูลสัตว์จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่เป็นระบบอินทรีย์ด้วย มาผลิตเป็นปุ๋ยคอก จะเหมาะสมในการผลิตพืชอินทรีย์ และการปรับปรุงดินในพื้นที่ที่ทำการเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งปุ๋ยคอกจะต้องไม่มีปุ๋ยเคมีใดๆ เจือปนอยู่ด้วย

             ๓. การปลูกข้าว
                  ข้าวนิยมปลูกทั้งในช่วงฤดูนาปี และนาปรัง นาปีจะเริ่มในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ในระยะหว่านกล้า ซึ่งจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมส่วนนาปรังสามารถปลูกได้ ตลอดฤดูขึ้นอยู่กับน้ำ และการชลประทานวิธีการปลูกนิยมทั้ง 2 วิธี คือ การปักดำจากต้นกล้าในระยะ 25×25 เซนติเมตร และวิธีการหว่านในอัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งนี้การปลูกข้าวด้วยการหว่านควรกำจัดวัชพืชในแปลงออกให้เหลือน้อยที่สุดการหว่านแบบแห้งพร้อมไถกลบ ควรไถกลบ และไถดะตากดินหรือวัชพืชให้เน่าหรือตายเสียก่อนอย่างน้อยประมาณ 2-3 อาทิตย์ ก่อนการหว่านการ หว่านแบบเปียก ควรไถกลบ และแช่น้ำให้วัชพืชหรือตอซังเน่าอย่างน้อยประมาณ 1-2 อาทิตย์ ก่อนการหว่าน สำหรับวิธีการปักดำมักไม่ค่อยพบปัญหาเรื่องวัชพืช

             การดูแลในระยะปลูก
             การใส่ปุ๋ย ควรใส่ทั้งปุ๋ยเคมี และปุ๋ยคอก ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวเพราะอาจทำให้ดินเสียเร็วขึ้น
             – ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่แนะนำ ควรใส่ในอัตรา 500-1000 กิโลกรัม/ไร่
             – ปุ๋ยเคมี ครั้งแรก หากเป็นดินทรายแนะนำสูตร 16-16-8 ในอัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนดินเหนียวสูตร 16-20-0 ในอัตราเดียวกัน
             – ปุ๋ยเคมี ครั้งสอง ในระยะก่อนข้าวตั้งท้องหรือตั้งท้อง หากเป็นดินทรายแนะนำสูตร 20-20-20หรือ 15-15-15 ในอัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนดินเหนียวสูตร 16-16-8 ในอัตราเดียวกัน

            – น้ำในแปลงนาต้องมั่นตรวจสอบจุดรั่วไหล ควรให้ระดับน้ำในแปลงนาสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับระบบน้ำ และการชลประทาน หากน้ำน้อยไม่เพียงพอควรมีอย่างน้อย 5-10 เซนติเมตร โดยเฉพาะในช่วงระยะเริ่มแรกของการปลูกจนถึงข้าวตั้งท้อง ส่วนระยะหลังข้าวเป็นเม็ดแป้งแล้วการขาดน้ำมักไม่มีผลต่อเมล็ดข้าวมากนัก

            – โรคข้าว สัตว์ และแมลงศัตรูข้าวให้มีการตรวจสอบต้นข้าวเป็นระยะ โดยเฉพาะหนอนกอข้าว และโรคไหม้ ที่มักเกิดมากในทุกท้องที่ รวมไปถึงสัตว์ชนิดต่างๆที่อาจทำลายต้นข้าวได้ เช่น หอยเชอรี่ และหนูนา

         โรค และแมลงศัตรูข้าวหอมมะลิ
         1. โรคไหม้ ที่เกิดจากเชื้อรา สามารถเกิดขึ้นได้ทุกระยะตั้งแต่ระยะกล้าอ่อนจนถึงข้าวออกรวง พบอาการของโรคที่ใบ กาบใบ คอรวงข้าว ซึ่งจะเป็นแผลน้ำตาลหรือเหมือนมีรอยไหม้แดง
การป้องกัน และกำจัด:
             – ไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป

         2. หนอนม้วนใบหรือหนอนห่อใบข้าว เป็นหนอนผีเสื้อชนิดหนึี่งที่วางไข่ตามใบข้าว เมื่อระยะเป็นตัวหนอนจะชักใยดึงใบข้าวมาห่อตัวเอง แล้วกัดกินใบอ่อนภายใน พบมีการระบาดมากในพื้นที่ที่มีการใช้ปุ๋ยเข้มข้น
การป้องกัน และกำจัด:
             – ควรใส่ปุ๋ยในอัตราที่พอเหมาะกับพื้นที่เพาะปลูก
             – ติดหลอดไฟเรืองแสงดักผีเสื้อ
             – ปล่อยนกหรือปลูกต้นไหม้ สร้างที่อาศัยให้แก่นกหรือสัตว์อื่นๆที่จับหนอนเป็นอาหาร

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา