ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์

โดย : นางกรกนก จันอ้น วันที่ : 2017-03-10-23:09:42

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๑๘ หมู่ที่ ๓ ตำบลหนองแจ้งใหญ่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แต่ก่อนต้นทุนการผลิตสูงมากเนื่องจากต้องใช้ปุ๋ยเคมี ดินเสื่อมปลูกข้าวได้ผลน้อย

วัตถุประสงค์ ->

ลดการใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มรายได้  

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ 

อุปกรณ์ ->

ถังน้ำหมัก ไถ คราด บัวรดน้ำ 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

            1 ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ได้จากการนำเอาเศษซากพืชมากมักร่วมกับมูลสัตว์ อาจมีการใส่สารเร่งการย่อยสลาย ถ้าเป็นปุ๋ยหมักที่ใช้ทั่วไปจะมีการใส่ปุ๋ยเคมีจำพวกไนโตรเจน ได้แก่ ยูเรีย (46-0-0) หรือแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) แต่ถ้าใช้ในการเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์จะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีเหล่านี้ อาจจะนำเศษวัสดุเหลือใช้จากโรงสีข้าว โรงงานน้ำตาล โรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงงานกะเทาะเปลือกถั่วลิสง โรงงานกะเทาะเมล็ดข้าวโพด เมื่อหมักโดยใช้ระยะเวลาหนึ่ง เศษพืชและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจะเปลี่ยนสภาพจากของเดิมเป็นผงเปื่อยยุ่ย มีสีน้ำตาลปนดำ เนื่องจากเกิดการย่อยสลายโดยสมบูรณ์ ซึ่งจะมีธาตุอาหารพืช สามารถนำไปใช้ในไร่นา สวนไม้ผล ในแปลงผักได้ ดังตัวอย่างที่ได้แสดงไว้ในตารางที่ 1, 4 และ  5

            2  ปุ๋ยคอก คือปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ได้จากสิ่งขับถ่ายของสัตว์หรือมูลสัตว์ เช่น โค กระบือ แกะ ม้า สุกร เป็ด ไก่ ค้างคาว ก่อนนำไปใช้จะต้องหมักไว้ให้เกิดการย่อยสลายก่อน แล้วผสมกับฟางข้าว เศษหญ้า หรือแกลบ ในอัตราส่วนปุ๋ยคอก 4 ส่วน ต่อเศษวัสดุเหลือใช้เหล่านี้ 1 ส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้ธาตุอาหารในปุ๋ยคอกสูญเสียไปโดยการดูดซับธาตุอาหารไว้ มูลสัตว์จะย่อยสลายได้ง่ายและเร็ว เพราะมีค่าสัดส่วนของ C/N ต่ำ ตามตารางที่ 8, 9 และ 10 ปุ๋ยคอกอาจมีข้อพิจารณาการใช้ คืออาจมีสารบางชนิดที่ปนเปื้อนมากับอาหารสัตว์ที่กินเข้าไป แล้วถ่ายเป็นมูลที่มีสารเคมีเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องเลือกมูลสัตว์จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่เป็นระบบอินทรีย์ด้วย มาผลิตเป็นปุ๋ยคอก จะเหมาะสมในการผลิตพืชอินทรีย์ และการปรับปรุงดินในพื้นที่ที่ทำการเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งปุ๋ยคอกจะต้องไม่มีปุ๋ยเคมีใดๆ เจือปนอยู่ด้วย

             ๓. การปลูกข้าว
                  ข้าวนิยมปลูกทั้งในช่วงฤดูนาปี และนาปรัง นาปีจะเริ่มในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ในระยะหว่านกล้า ซึ่งจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมส่วนนาปรังสามารถปลูกได้ ตลอดฤดูขึ้นอยู่กับน้ำ และการชลประทานวิธีการปลูกนิยมทั้ง 2 วิธี คือ การปักดำจากต้นกล้าในระยะ 25×25 เซนติเมตร และวิธีการหว่านในอัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งนี้การปลูกข้าวด้วยการหว่านควรกำจัดวัชพืชในแปลงออกให้เหลือน้อยที่สุดการหว่านแบบแห้งพร้อมไถกลบ ควรไถกลบ และไถดะตากดินหรือวัชพืชให้เน่าหรือตายเสียก่อนอย่างน้อยประมาณ 2-3 อาทิตย์ ก่อนการหว่านการ หว่านแบบเปียก ควรไถกลบ และแช่น้ำให้วัชพืชหรือตอซังเน่าอย่างน้อยประมาณ 1-2 อาทิตย์ ก่อนการหว่าน สำหรับวิธีการปักดำมักไม่ค่อยพบปัญหาเรื่องวัชพืช

             การดูแลในระยะปลูก
             การใส่ปุ๋ย ควรใส่ทั้งปุ๋ยเคมี และปุ๋ยคอก ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวเพราะอาจทำให้ดินเสียเร็วขึ้น
             – ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่แนะนำ ควรใส่ในอัตรา 500-1000 กิโลกรัม/ไร่
             – ปุ๋ยเคมี ครั้งแรก หากเป็นดินทรายแนะนำสูตร 16-16-8 ในอัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนดินเหนียวสูตร 16-20-0 ในอัตราเดียวกัน
             – ปุ๋ยเคมี ครั้งสอง ในระยะก่อนข้าวตั้งท้องหรือตั้งท้อง หากเป็นดินทรายแนะนำสูตร 20-20-20หรือ 15-15-15 ในอัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนดินเหนียวสูตร 16-16-8 ในอัตราเดียวกัน

            – น้ำในแปลงนาต้องมั่นตรวจสอบจุดรั่วไหล ควรให้ระดับน้ำในแปลงนาสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับระบบน้ำ และการชลประทาน หากน้ำน้อยไม่เพียงพอควรมีอย่างน้อย 5-10 เซนติเมตร โดยเฉพาะในช่วงระยะเริ่มแรกของการปลูกจนถึงข้าวตั้งท้อง ส่วนระยะหลังข้าวเป็นเม็ดแป้งแล้วการขาดน้ำมักไม่มีผลต่อเมล็ดข้าวมากนัก

            – โรคข้าว สัตว์ และแมลงศัตรูข้าวให้มีการตรวจสอบต้นข้าวเป็นระยะ โดยเฉพาะหนอนกอข้าว และโรคไหม้ ที่มักเกิดมากในทุกท้องที่ รวมไปถึงสัตว์ชนิดต่างๆที่อาจทำลายต้นข้าวได้ เช่น หอยเชอรี่ และหนูนา

         โรค และแมลงศัตรูข้าวหอมมะลิ
         1. โรคไหม้ ที่เกิดจากเชื้อรา สามารถเกิดขึ้นได้ทุกระยะตั้งแต่ระยะกล้าอ่อนจนถึงข้าวออกรวง พบอาการของโรคที่ใบ กาบใบ คอรวงข้าว ซึ่งจะเป็นแผลน้ำตาลหรือเหมือนมีรอยไหม้แดง
การป้องกัน และกำจัด:
             – ไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป

         2. หนอนม้วนใบหรือหนอนห่อใบข้าว เป็นหนอนผีเสื้อชนิดหนึี่งที่วางไข่ตามใบข้าว เมื่อระยะเป็นตัวหนอนจะชักใยดึงใบข้าวมาห่อตัวเอง แล้วกัดกินใบอ่อนภายใน พบมีการระบาดมากในพื้นที่ที่มีการใช้ปุ๋ยเข้มข้น
การป้องกัน และกำจัด:
             – ควรใส่ปุ๋ยในอัตราที่พอเหมาะกับพื้นที่เพาะปลูก
             – ติดหลอดไฟเรืองแสงดักผีเสื้อ
             – ปล่อยนกหรือปลูกต้นไหม้ สร้างที่อาศัยให้แก่นกหรือสัตว์อื่นๆที่จับหนอนเป็นอาหาร

         3. หนอนกอ เป็นหนอนผีเสื้อชนิดหนึ่ง ที่ระยะเป็นตัวหนอนจะอาศัยอยู่ในกอข้าว กัดกินเยื่ออ่อนของกอข้าว โดยเฉพาะบริเวณปล้องปลายยอดหรือปล้องยอดข้าว ซึ่งจะสังเกตเห็นการทำลายของหนอนชนิดนี้จากยอดข้าวหรือรวงข้าวในระยะแรกที่ ซีด และแห้งตาย
การป้องกัน และกำจัด:
              – ไถกลบตอซังข้าวให้หมดในพื้นที่ที่มีการระบาดก่อนนั้น
              – ติดหลอดไฟเรืองแสงดักผีเสื้อ
              – ปล่อยนกหรือปลูกต้นไหม้ สร้างที่อาศัยให้แก่นกหรือสัตว์อื่นๆที่จับหนอนเป็นอาหาร

๓. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

             -ความอดทน

             -การลองผิดลองถูก

             -การช่วยเหลือจากทางราชการ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา