ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำนาอินทรีย์

โดย : นายถนอม พลหาญ วันที่ : 2017-03-10-22:42:41

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 109 หมู่ที่ ๑๑ ตำบลด่านช้าง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                ปัจจุบันเกษตรกรได้ใช้วิธีการสมัยใหม่ในการปลูกข้าวโดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร  ใช้ปุ๋ยเคมี ,ใช้ยาฆ่าแมลงในการกำจัดแมลงศัตรูข้าว  ทำให้มีผลต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นสันและระยะยาว

 

วัตถุประสงค์ ->

เพิ่่มรายได้ ลดการใช้สารเคมี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธ์ข้าว ปุ๋ยอินทรีย์ 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมดินและวิธีปลูก           
             การเตรียมดินจะขึ้นอยู่กับวิธีปลูกข้าว  ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป  แต่ที่เหมือนกัน  ไถดะทิ้งไป  7-10  วัน  เพื่อตากดินและกำจัดวัชพืช            
            1.  การปลูกโดยวิธีการปักดำ
วิธีการปักดำ  มี  2  ขั้นตอน                       
1.1  การตกกล้า    การเตรียมแปลงตกกล้า  โดยไถดะทิ้งไว้ 7-10  วัน  ไถแปรเอาน้ำเข้า  แช่ขี้ไถ  คราดปรับระดับผิวดินแล้วทำเทือก ( มอบ)  แบ่งแปลงย่อย  กว้างประมาณ  1-2  เมตร  ยาวตามความยาวของแปลง  ทำร่องน้ำระหว่างแปลงกว้างประมาณ  30  ซ.ม.  แล้วระบายน้ำออก   หว่านเมล็ดข้าวที่เตรียมไว้บนแปลงให้สม่ำเสมอ  ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์  50-70  กรัมต่อตารางเมตร   อย่าให้น้ำท่วมแปลงกล้า  แต่ให้มีความชื้นเพียงพอสำหรับการงอก เพิ่มระดับน้ำตามการเจริญเติบโตของต้นข้าว  อย่าให้ท่วมต้นข้าวและไม่เกิน 5  เซนติเมตร  จากระดับหลังแปลง   
              การเตรียมดินและวิธีปลูก           
             การเตรียมดินจะขึ้นอยู่กับวิธีปลูกข้าว  ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป  แต่ที่เหมือนกัน  ไถดะทิ้งไป  7-10  วัน  เพื่อ  1.2  การปักดำ เตรียมแปลงปักดำโดยไถดะ  ทิ้งไว้  7-10  วัน 
             ไถแปร  เอาน้ำเข้า  แช่ขี้ไถ  คราดปรับระดับดิน  และทำเทือกรักษาระดับน้ำในแปลงปักดำประมาณ  5  เซนติเมตรจากผิวดิน  ปักดำโดยใช้ต้นกล้าอายุประมาณ  25 วัน ระยะปักดำ  20x20  เซนติเมตร  จำนวน  3-5  ต้นต่อกอรักษาระดับน้ำให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นนากดินและกำจัดวัชพืช   
            1.2  การปักดำ เตรียมแปลงปักดำโดยไถดะ  ทิ้งไว้  7-10  วัน 
             ไถแปร  เอาน้ำเข้า  แช่ขี้ไถ  คราดปรับระดับดิน  และทำเทือกรักษาระดับน้ำในแปลงปักดำประมาณ  5  เซนติเมตรจากผิวดิน  ปักดำโดยใช้ต้นกล้าอายุประมาณ  25 วัน ระยะปักดำ  20x20  เซนติเมตร  จำนวน  3-5  ต้นต่อกอรักษาระดับน้ำให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นข้าว  ประมาณ  0-10  เซนติเมตร อย่าปล่อยให้ต้นข้าวขาดน้ำ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกำเนิดช่อดอกถึงออกรวง    หลังข้าวกรองออกรวง  80  เปอร์เซ็นแล้วประมาณ  20  วัน  ระบายน้ำออก

วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เอง

           วัสดุและอุปกรณ์ 1. เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า 2. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 3. ถังสำหรับหมัก 4. มีด

วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ

          1. นำวัตถุดิบมาสับ บด โขลก หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
          2. บรรจุลงในภาชนะ
          3. เติมกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง และส่วนผสมอื่น ๆ ลงไป ตามอัตราส่วน
          4. คนหรือคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะ หมักไว้ 7-15 วัน
          5. ครอบตามกำหนดปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพจะมีกลิ่นหอม
          6. สำหรับปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพถั่วเหลือง และปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพปลาสดหรือหอยเซลรี่ ควรหมักอย่างน้อย 1 เดือน จึงนำไปใช้ได้ และระหว่างหมักให้หมั่นคนส่วนผสมทุกวัน
          7. หากมีกลิ่นเหม็นหรือบูดเน่าให้เติมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย แล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 3-7 วัน กลิ่นเหม็นหรือกลิ่นบูดเน่าจะหายไป
         8. การแยกกากและน้ำชีวภาพ โดยใช้ถุงอาหารสัตว์ ถุงปุ๋ยเคมี หรือมุ้งเขียว รองรับกากและน้ำชีวภาพจะไหลลงภาชนะที่เตรียมไว้ และกากที่เหลือนำไปคลุมโคนพืช หรือคลุมแปลงต่อไปได้อีก
เคล็ดลับในการทำน้ำหมักให้ได้ผลดี

        1. ควรเลือกใช้เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า สับหรือบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในภาชนะที่มีปากกว้าง เช่นถังพลาสติกหรือโอ่ง หากมีน้ำหมักชีวภาพอยู่แล้วให้เทผสมลงไปแล้วลดปริมาณกากน้ำตาลลง ปิดฝาภาชนะทิ้งไว้จนได้เป็นน้ำหมักชีวภาพจากนั้นกรอกใส่ขวดปิดฝาให้สนิทรอการใช้งานต่อไป 
        2. ในระหว่างการหมัก ห้ามปิดฝาภาชนะจนแน่นสนิทเพราะอาจทำให้ระเบิดได้เนื่องจากระหว่าง การหมักจะเกิดก๊าชต่างๆขึ้นเช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก๊าซมีเทนเป็นต้น 

        3.ไม่ควรเลือกพืชจำพวกเปลือกส้ม ใช้ทำน้ำหมัก เพราะมีน้ำมันที่ผิวเปลือกจะทำให้จุลินทรีย์ไม่ย่อยสลายการทำน้ำหมักชีวภาพ ไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องอาศัยเวลาและความอดทน ที่สำคัญน้ำหมักชีวภาพไม่มีสูตรที่ตายตัว เราสามารถทดลองทำปรับเปลี่ยนวัตถุดิบให้เหมาะสมกับต้นไม้ของเรา เพราะสภาพแวดล้อมแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ต้นไม้แต่และถิ่นก็ต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน น้ำหมักชีวภาพจึงจำเป็นต้องมีความแตกต่างกันตามท้องถิ่น
 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา