ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทำนาปุ๋ยเกษตรอินทรีย์

โดย : นางจันทร์หอม ผลดีนอก วันที่ : 2017-03-10-21:58:52

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๙๘ หมู่ที่ ๓ ตำบลด่านช้าง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปุ๋ยหมัก หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากการหมักซากพืช ซากสัตว์ รวมถึงมูลสัตว์ เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์สารจนผุพังกลายเป็นอาหารแก่พืช ด้วยการนำวัตถุดิบเหล่านั้นมากองรวมกัน และรดน้ำให้ชื้นแล้วนำผ้าพลาสติกมาคลุม และปล่อยให้เกิดการย่อยสลาย การแปรสภาพ จนกลายเป็นเศษอินทรีย์วัตถุสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ที่มีลักษณะพรุน ยุ่ย มีความร่วนซุยจนถึงขั้นเป็นฮิวมัส ก่อนนำไปใช้บำรุงดินหรือว่านโรยแก่พืช

วัตถุประสงค์ ->

ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก

อุปกรณ์ ->

ไถ คราด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์

ขั้นตอนที่ 1
การเตรียมฟางข้าวหรือเศษวัชพืช  เชื้อจุลินทรีย์ซุปเปอร์พด.1 อัตราส่วนของเศษพืช 1,000 กก.  มูลสัตว์ 200-400 กก. และเชื้อจุลินทรีย์ พด.1 จำนวน 1 ซอง/ชั้น

ขั้นตอนที่ 2
ให้กองปุ๋ยชั้นที่ 1 โดยนำเศษพืชมาวางในพื้นที่กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร ให้สูง 40 ซม.

ขั้นตอนที่ 3
ใส่มูลสัตว์ 50-100 กก. โดยโรยให้ทั่วบนพื้นที่กองเศษพืชเพื่อช่วยในการย่อยสลาย และเพิ่มธาตุอาหาร

ขั้นตอนที่ 4
รดน้ำที่ผสมหัวเชื้อซุปเปอร์ พด.1 ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์ 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อแอคติโนไมซิท ด้วยการแช่น้ำไว้นาน 15 นาที ก่อนนำมารดบนหลังโรยมูลสัตว์ เพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโต และช่วยย่อยสลายเศษพืช รวมถึงมูลสัตว์

ขั้นตอนที่ 5
ให้นำเศษพืชมากองทับอีกชั้น และทำตามขั้นตอนข้างต้น จนได้ชั้นประมาณ 4 ชั้น

ขั้นตอนที่ 6
ให้คลุมด้วยแสลนดำในฤดูร้อนเพื่อป้องกันแสงแดด และคลุมด้วยผ้าพลาสติกในฤดูฝนเพื่อป้องกันน้ำฝนไม่ให้ขัง แต่การคลุมผ้าพลาสติกควรเปิดผ้าเป็นระยะในวันที่ฝนไม่ตก

ขั้นตอนที่ 7
มั่นตรวจสอบความเรียบร้อยของกองปุ๋ยเป้นระยะขณะทำการหมัก เพื่อป้องกันสัตว์มาอาศัยอยู่ รวมถึงการขังของน้ำ และตรวจสอบสภาพการหมัก

ขั้นตอนที่ 8
เมื่อกองปุ๋ยหมักทั้ง 4 ชั้น มีการย่อยสลายที่สมบูรณ์แล้ว จะเป็นขั้นตอนการปรับปรุงคุณภาพของปุ๋ยด้วยการเพิ่มวัสดุปรับปรุงขนาดเล็ก เช่น ขี้เถ้า แกลบ ขี้เลื่อย เป็นต้น มาผสมกับมูลวัว และปุ๋ยเคมี ในอัตราส่วน วัสดุปรับปรุงขนาดเล็ก 1,000 กิโลกรัม + มูลสัตว์ 200-400 กิโลกรัม + ปุ๋ยเคมี 50-100 กิโลกรัม แล้วนำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน

ขั้นตอนที่ 9
ให้รดน้ำกองปุ๋ยหลังการเพิ่มเศษวัสดุปรับปรุงแล้ว โดยน้ำที่ใช้รดให้ผสมด้วยหัวเชื้อซุปเปอร์ พด.1 จำนวน 3-5 ซอง อีกครั้ง

ขั้นตอนที่ 10
ทำการคลุมกองปุ๋ยด้วยวัสดุข้างต้น และมั่นดูแลรักษาจนปุ๋ยเกิดการย่อยสลายสมบูรณ์ ซึ่งอาจใช้เวลาตั้งแต่เริ่มขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย 4-6 เดือน ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้หมัก ทั้งนี้ควรมั่นกลับกองปุ๋ยทุก ๆ 15 วัน หากกองปุ๋ยมีความชื้นน้อยควรรดน้ำขณะกลับกองปุ๋ยทุกครั้ง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา