ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกข้าวหอมมะลิ

โดย : นายสมบูรณ์ เพียนอก วันที่ : 2017-03-10-21:49:30

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๑๒๕ หมู่ที่ ๖ ตำบลขุนทอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การปลูกข้าว...เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม สันนิษฐานว่าเริ่มจากการที่มนุษย์รู้จัก สังเกตการเจริญเติบโตของข้าวในธรรมชาติ ต่อมาจึงนำเมล็ดข้าวที่ได้มาเพาะ ปลูกใกล้บริเวณที่อยู่อาศัย ในประเทศไทยพบการปลูกข้าวด้วยวิธีการปักดำมา ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และพัฒนาวิธีการปลูกเรื่อยมาตามลำดับ จน ปัจจุบันมีวิธีการปลูกข้าวที่หลากหลายแตกต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศ

วัตถุประสงค์ ->

เพือเพิ่มรายได้ ลดความเสี่ยงด้านราคา 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธ์ข้าว

ปุ๋ยอินทรีย์ 

อุปกรณ์ ->

ไถ คราด 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

             ข้าวหอมมะลินิยมปลูกทั้งในช่วงฤดูนาปี และนาปรัง นาปีจะเริ่มในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ในระยะหว่านกล้า ซึ่งจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมส่วนนาปรังสามารถปลูกได้ ตลอดฤดูขึ้นอยู่กับน้ำ และการชลประทานวิธีการปลูกนิยมทั้ง 2 วิธี คือ การปักดำจากต้นกล้าในระยะ 25×25 เซนติเมตร และวิธีการหว่านในอัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งนี้การปลูกข้าวด้วยการหว่านควรกำจัดวัชพืชในแปลงออกให้เหลือน้อยที่สุดการหว่านแบบแห้งพร้อมไถกลบ ควรไถกลบ และไถดะตากดินหรือวัชพืชให้เน่าหรือตายเสียก่อนอย่างน้อยประมาณ 2-3 อาทิตย์ ก่อนการหว่านการ หว่านแบบเปียก ควรไถกลบ และแช่น้ำให้วัชพืชหรือตอซังเน่าอย่างน้อยประมาณ 1-2 อาทิตย์ ก่อนการหว่าน สำหรับวิธีการปักดำมักไม่ค่อยพบปัญหาเรื่องวัชพืช

ข้อพึงระวัง ->

             การใส่ปุ๋ย ควรใส่ทั้งปุ๋ยเคมี และปุ๋ยคอก ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวเพราะอาจทำให้ดินเสียเร็วขึ้น
             – ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่แนะนำ ควรใส่ในอัตรา 500-1000 กิโลกรัม/ไร่
             – ปุ๋ยเคมี ครั้งแรก หากเป็นดินทรายแนะนำสูตร 16-16-8 ในอัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนดินเหนียวสูตร 16-20-0 ในอัตราเดียวกัน
             – ปุ๋ยเคมี ครั้งสอง ในระยะก่อนข้าวตั้งท้องหรือตั้งท้อง หากเป็นดินทรายแนะนำสูตร 20-20-20หรือ 15-15-15 ในอัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนดินเหนียวสูตร 16-16-8 ในอัตราเดียวกัน

            – น้ำในแปลงนาต้องมั่นตรวจสอบจุดรั่วไหล ควรให้ระดับน้ำในแปลงนาสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับระบบน้ำ และการชลประทาน หากน้ำน้อยไม่เพียงพอควรมีอย่างน้อย 5-10 เซนติเมตร โดยเฉพาะในช่วงระยะเริ่มแรกของการปลูกจนถึงข้าวตั้งท้อง ส่วนระยะหลังข้าวเป็นเม็ดแป้งแล้วการขาดน้ำมักไม่มีผลต่อเมล็ดข้าวมากนัก

            – โรคข้าว สัตว์ และแมลงศัตรูข้าวให้มีการตรวจสอบต้นข้าวเป็นระยะ โดยเฉพาะหนอนกอข้าว และโรคไหม้ ที่มักเกิดมากในทุกท้องที่ รวมไปถึงสัตว์ชนิดต่างๆที่อาจทำลายต้นข้าวได้ เช่น หอยเชอรี่ และหนูนา

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา