ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เตาเผาถ่านถัง 200 ลิตรและน้ำส้มควันไม้

โดย : นายสวรรค์ สถิรภัทรพร วันที่ : 2017-03-10-15:45:33

ที่อยู่ : 173 หมู่ที่ 6 ตำบลด่านจาก อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันมีการใช้แก๊สหุงต้มในการประกอบอาหารเป็นส่วนใหญ่  เนื่องจากสะดวกต่อการใช้งานและรวดเร็ว  ซื้อง่ายซึ้งมีขายตามท้องตลาดทั่วไป  แต่แก๊สหุงต้มมีราคาสูงส่งผลกระทบต่อรายจ่ายของครัวเรือน  ประกอบกับชุมชนมีวัตถุดิบมากมาย เช่นเศษไม้ที่อยู่ตามท้องไร่ท้องนา  จึงเกิดแนวคิดที่จะผลิตถ่านขึ้นใช้เองภายในครัวเรือน เป็นการลดรายจ่าย  เพราะถ่านมีราคาถูกทำให้ประหยัด  และนอกจากนี้  ตนเองทำการเกษตร  ปลูกพืชผักชนิดต่างๆไว้ประกอบอาหาร ก็นำน้ำส้มควันไม้ที่ได้จากการเผาถ่านมาใช้รดผัก รดต้นไม้เพื่อใช้ไล่แมลง  ซึ่งได้ประโยชน์หลายอย่างจากการเผาถ่าน

วัตถุประสงค์ ->

1.ใช้วัตถุดิบในชุมชนให้เกิดประโยชน์

2.ลดรายได้ เพิ่มรายจ่าย

3.การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ทางการเกษตรจะเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพ
  ให้กับพืช

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ไม้ หรือเศษไม้ที่จะใช้ทำถ่าน

อุปกรณ์ ->

1.ถัง 200  ลิตร

2.ข้องอซีเมนต์ใยหิน  90  เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว

3.ท่อตรงซีเมนต์ใยหิน เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 1 เมตร

4.อิฐบล็อก จำนวน 5 ก้อน

5.อิฐแดง

6.ดินเหนียวผสมขี้เถ้าแกลบ ทำหน้าที่เป็นตัวประสานรอยต่อระหว่างการประกอบเตา เพื่ออุดรอยรั่วไม่ให้อากาศเข้าไปในเตา

7.กองหิน หรือทราย ประมาณครึ่งลูกบาศก์เมตร (คิว) ดินนี้ช่วยทำหน้าที่เป็นฉนวนกับความร้อนระหว่างตัวเตากับอากาศภายนอก

8.เสาค้ำยัน  สำหรับประคองผนังฉนวนเตาด้านนิก  โดยตอสาให้มีระยะห่าง 80*80 เซนติเมตร

9.ผนังฉนวนเผาด้านนอกเป็นตัวประคองป้องกันไม่ให้ฉนวนเตาพัง  วัสดุที่ใช้เป็นตัวทนความร้อน

10.ท่อใยหิน  

11.ท่อไม้ไผ่  

12.ตะแกรงเหล็ก  

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.เจาะฝาหน้าเตาเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาด 20 * 20 เซนติเมตร เจาะด้ามท้ายเป็นรูปวงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 นิ้ว

2.นำตัวเตาที่เจาะทั้งด้านหน้าและด้านท้ายของเตาเสร็จมาวางไว้ตรงกลาง ระหว่างเสาค้ำยันโดยให้รูปกลมที่เจาะขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว อยู่ด้านล่างใช้อิฐแดงรองถังที่ด้านหน้า  ใช้เพื่อทำเป็นรั้วกันดินฉนวน โดยมีระยะห่างผนัง 80 ซม.

3.ทำท่องอใยหินประกอบตัวถังที่ช่องด้านซ้าย ต่อข้องอด้วยท่อใยหินตรง ปักเสาเพื่อประคองเสาและใช้ดินโคลนยารอยต่อระหว่างถังกับข้องอและข้องอต่อตรงกัน

4.ใช้เศษกระเบื้องติดด้านหัวและด้านท้ายถัง  ให้มีลักษณะเป็นกลองและบรรจุดินเพื่อเป็นฉนวนให้เต็ม วางไม้หมอนขวางเพื่อให้เกิดช่องอากาศด้านหลัง  จัดเรียงไม้ที่ต้องการเผาเข้าเตา  โดยให้ไม้ท่อนใหญ่อยู่ด้านบน  ไม้เล็กอยู่ด้านล่าง

5.ใช้ฝาถังที่ตัดเป็นช่องแล้วปิดเตา  โดยให้ช่องอากาศอยู่ด้านล่างใช้อิฐบล็อกก่อแนบช่องอากาศเข้า  ยาแนวส่วนต่อทั้งหมด (รวมทั้งยาถัง) ด้วยดินเหนียวโดยให้อากาศสามารถเข้าได้เฉพาะด้านหน้า  และออกได้เฉพาะปล่อง ห้ามมีรอยรั่ว

ข้อพึงระวัง ->

การจะเผาถ่านให้ได้ถ่านที่ดี คือ การให้ความร้อนสูง  ความร้อนนาน  จะทำให้ถ่านไม่แตกไม่กรอบ หักง่าย

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา