ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน

โดย : นางสำลี ตู้สระกาศ วันที่ : 2017-09-21-15:09:50

ที่อยู่ : 33 ม.11 ต.สำพะเนียง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มีอาชีพทำนา  เนื่องจากผลผลิตที่ได้ไม่เพียงพอ มีต้นทุนการผลิตสูง  และเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน จึงได้ทำการเลี้ยงปลานิล เพื่อไว้บริโภคและจำหน่ายเพื่อหารายได้เพิ่มขึ้นด้วย

 

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-ลูกปลานิล

-บ่อปลา

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมบ่อเลี้ยงปลานิล

บ่อสำหรับเลี้ยงปลานิล สามารถใช้บ่อดินรูปสี่เหลี่ยมพื้นที่ 400 ตารางเมตรขึ้นไป ลึกประมาณ 1 เมตร และมีส่วนชานบ่อหรือบริเวณตื้น ๆ เพื่อให้ปลาทำรังในช่วงผสมพันธุ์

ในกรณีที่ขุดบ่อใหม่ดินมักเป็นกรด ควรใช้ปูนขาวโรยเพื่อปรับให้ดินมีความเป็นกลาง โดยใช้ปูนขาว 1 กิโลกรัม ต่อ 10 ตารางเมตร

หรือกรณีที่เป็นบ่อเก่าต้องกำจัดวัชพืชออก เพราะอาจจะเป็นที่อยู่ของศัตรู และเพื่อให้น้ำได้รับออกซิเจนเพียงพอ และถ้าบ่อเคยเลี้ยงปลาหรือสัตว์กินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาโด ปลาบู่ เต่า งู ควรจะกำจัดออกให้หมด โดยสูบน้ำจับสัตว์ที่เป็นศัตรูออกให้หมด และปล่อยให้บ่อแห้งจึงค่อยสูบน้ำกลับคืน

การปล่อยปลานิลลงบ่อ

ปลานิลเป็นปลาที่สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว สำหรับบ่อขนาด 400 ตารางเมตร ให้ใช้พ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ 50 คู่ หรือถ้าเป็นลูกปลาก็ควรปล่อย 1 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร

และควรจะปล่อยปลาลงบ่อในเวลาเช้าหรือเวลาเย็น เพราะน้ำในบ่อจะไม่ร้อนจนเกินไป  ก่อนปล่อยก็ให้เอาภาชนะจุ่มลงในบ่อเพื่อให้อุณภูมิน้ำทั้งสองเท่ากัน ป้องกันปลาช็อคจากอุณหภูมิน้ำต่างกันเกินไป เมื่ออุณภูมิน้ำเท่ากันแล้วก็ค่อย ๆ จุ่มภาชนะลงในบ่อ และให้ปลาว่ายออกจากภาชนะไปยังบ่อช้า ๆ

การให้อาหารปลานิล

โดยทั่วไปปลานิลจะกินอาหารตามธรรมชาติและอาหารที่คนให้ ซึ่งอาหารตามธรรมชาติสามารถทำได้โดยโรยปุ๋ยมูลสัตว์แห้งลงในเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติ เช่น ตะไคร่ ไรน้ำ ตัวอ่อนแมลงในน้ำ

ข้อพึงระวัง ->

การให้อาหารเสริมเพื่อให้ปลาได้รับอาหารครบถ้วน เช่น รำ ปลายข้าว กากถั่วต่าง ๆ ให้ประมาณ 5% ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง เพราะถ้าให้มากเกินไปจะทำให้น้ำเน่าเสียเร็ว ปลาอาจตายได้

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา