ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำระบบน้ำหยดสำหรับปลูกพืช

โดย : นางบุญหมั่น ทองดีนอก วันที่ : 2017-09-16-11:55:54

ที่อยู่ : 30 หมู่ที่11 ตำบลโนนตาเถร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

น้ำถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากอย่างหนึ่งสำหรับการเกษตร ในอดีตนั้นสภาพอากาศไม่แปรปรวน ฝนตกต้องตามฤดูกาลประกอบกับธรรมชาติที่ยังสมบูรณ์ทำให้แหล่งน้ำต่างๆ มีอยู่มากมาย แต่ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมและธรรมชาติต่างๆ ได้เสื่อมถอยลงไปเป็นอันมากจนส่งผลให้ฝนฟ้าต่างๆ ไม่ตกต้องตามฤดูกาลหรือบางครั้งก็ถึงขั้นแปรปรวนทำให้การจัดการเรื่องน้ำสำหรับการเกษตรในยุคปัจจุบันมีความยากลำบากและสลับซับซ้อนมากขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดการทรัพยากรน้ำให้เหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดและประหยัดมากที่สุด และการใช้ระบบน้ำหยดและการให้น้ำแบบมินิสปริงเกอร์นี้ก็ถือว่าเป็นระบบการให้น้ำพืชที่น่าสนใจเพราะประหยัดที่สุดแล้วดีที่สุดในปัจจุบัน  ซึ่งหลักการให้น้ำในแบบของระบบน้ำหยดก็คือการให้ตรงจุดและให้ในปริมาณที่พอเหมาะที่พืชสามารถดึงไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดเพราะบางครั้งบางทีการให้น้ำพืชจำนวนมากก็ใช่ว่าพืชจะสามารถดึงไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมดจึงจำต้องปล่อยให้ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่ไหลลงไปในชั้นดินอย่างเปล่าประโยชน์

วัตถุประสงค์ ->

 1. เพื่อประหยัดน้ำมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการให้น้ำด้วยวิธีอื่น

 2. เพื่อประหยัดเวลา ใช้เวลาไม่นานในการให้น้ำแต่ละครั้ง ~ 10,20,30 นาที  หรือนานกว่านี้ตามความต้องการน้ำของพืชนั้นๆ

3.เพื่อประหยัดแรงงาน ไม่ต้องลากสายยางรดน้ำให้พืชแต่ละต้นเหมือนเมื่อก่อน 

 4.เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ค่าน้ำมัน หรือ ค่าไฟฟัาในการป้ัมน้ำแต่ละครั้งเนื่องจากใช้เวลาในการให้น้ำสั้นกว่า

 5.เพื่อลดวัชพืชในแปลงปลูก เพราะน้ำจะไม่กระจายตัวทั่วทั้งแปลงแต่จะหยดเฉพาะจุดที่รากพืชโดยตรง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

1.หัวน้ำหยด ในรูปเป็นแบบปรับหยดเอง อันนี้ต้องคำนวณเองว่าตัองเปิดกี่หยด/ นาทีจึงจะได้น้ำตามจำนวนที่ต้องการของพืชในแต่ละครั้ง เช่น ถ้าเราต้องการให้น้ำจำนวน 2 ลิตร/ต้น ภายในเวลา 20 นาที ก็ต้องปรับให้ได้น้ำประมาณ 100 ซีซี /นาที น้ำจะไหลเร็วเป็นสายต่อเนื่อง ไม่เป็นหยด (ลองจับเวลาดูจากหัวน้ำหยด : น้ำ 15  หยด= 1 ซีซี )

2.สายไมโคร, ข้อต่อ ,ตัวเจาะรู ,ขาเสียบหัวน้ำหยด

3.ท่อ PE ที่ต่อกับหัวน้ำหยดโดยตรง (ใช้กับแปลงข่า )หรือต่อกับสายไมโครก่อนแล้วต่อกับหัวน้ำหยดอีกที( ใช้กับแปลงต้นขจร ) ขนาด 1/2 ''

4.ท่อ PE  ขนาด 3/4 '' ทำเป็นท่อประธานส่งน้ำมาที่แขนง ท่อ PE 1/2 '' 

5. ภาชนะสำหรับกักเก็บน้ำอาจเป็นวงท่อซีเมนต์หรือถังน้ำพลาสติดขนาดใหญ่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. สร้างถังเก็บน้ำใกล้ๆแปลงปลูกก่อน เพื่อ สะดวกในการให้น้ำเ หากต้องการต่อระบบน้ำหยดกับปั้มน้ำซึ่งดูดจากสระน้ำโดยตรงเลยก็ได้ ไม่มีปัญหา สำหรับขนาดวงบ่อซีเมนต์ ใช้ขนาด เส้นผ่าศุูนย์กลาง  80 ซม. สูง 40 ซม. จำนวน 4 วง ต่อหนึ่งถัง ทำสองถังคู่

2.ต่อเข้ากับระบบเติมปุ๋ยแบบ ventury อันนี้สะดวกมากถ้าต้องการเติมปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ไปพร้อมกับการให้น้ำหยด  สำหรับระบบเติมปุ๋ยนี้จะติดตั้งร่วมกับระบบน้ำหยดหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการใช้มันหรือเปล่า 

3. อย่าลืมติดตั้งเครื่องกรองเกษตรเป็นอันขาด อันนี้สำคัญมาก เครื่องกรองนี้จะกรองตะกอนที่มากับน้ำออกไปทำให้หัวน้ำหยดของเราปลอดภัยจากการอุดตันสำหรับหัวกรองเกษตรมี  2  แบบคือ แบบแผ่นดิสต์ และแบบตะแกรง เราเลือกใช้แบบตะแกรงเพราะคิดว่าน่าจะดูแลรักษาง่ายกว่า หัวกรองเกษตรนี้ ก็มีหลายขนาดจะต้องใช้ขนาดไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับขนาดของท่อpvc ที่ต่อกับหัวกรองนี้ จะต้องสมดุลย์กัน 

 

ข้อพึงระวัง ->

อย่าลืมติดตั้งเครื่องกรองเกษตรเป็นอันขาด อันนี้สำคัญมาก เครื่องกรองนี้จะกรองตะกอนที่มากับน้ำออกไปทำให้หัวน้ำหยดของเราปลอดภัยจากการอุดตัน

สำหรับหัวกรองเกษตรมี  2  แบบคือ แบบแผ่นดิสต์ และแบบตะแกรง เราเลือกใช้แบบตะแกรงเพราะคิดว่าน่าจะดูแลรักษาง่ายกว่า หัวกรองเกษตรนี้ ก็มีหลายขนาดจะต้องใช้ขนาดไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับขนาดของท่อpvc ที่ต่อกับหัวกรองนี้ จะต้องสมดุลย์กัน 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา