ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

โดย : นางสำรวย ญาติกระโทก วันที่ : 2017-04-01-10:58:08

ที่อยู่ : 4 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าหลวง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เป็นอาชีพเสริมของเกษตรกรตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยทั่วไปไก่พื้นบ้านจะมีความแข็งแรง หากินเก่ง มีความต้านทานต่อโรคระบาดสูง เติบโตและขยายพันธุ์ได้เร็ว การดูแลง่ายตามวิถีชีวิตของชาวบ้าน ตลาดมีความต้องการสูง เนื่องจากมีรสชาติดี สามารถเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้กับครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

          1) เพื่อพัฒนาและสร้างอาชีพการเลี้ยงไก่พื้นบ้านแก่เกษตรกรในหมู่บ้าน

          2) เพื่อสร้างองค์ความรู้การเลี้ยงไก่พื้นบ้านพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1) พ่อแม่พันธุ์ไก่พื้นบ้านที่เหมาะสม

          2) อาหารไก่

          3) วัคซีนป้องกันโรค

 

อุปกรณ์ ->

1) โรงเรือน

          2) อุปกรณ์ให้น้ำ

          3) อุปกรณ์ให้อาหาร

          4) รังไข่

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1) เตรียมโรงเรือนในการเลี้ยงไก่พื้นบ้านวัสดุหาได้ในท้องถิ่น ควรเป็นโรงเรือนในลักษณะกึ่งขังกึ่งปล่อย เป็นโรงเรือนที่มีลานดิน  และล้อมรอบด้วยอุปกรณ์ที่มีราคาถูก เช่น อวน แห ไม้ไผ่ อากาศถ่ายเทได้ดี และปลอดภัยจากศัตรู พื้นคอกควรปูด้วยแกลบ หรือฟางแห้ง

          2) เตรียมอุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่  เครื่องกก รางน้ำ รางอาหาร ควรมีจำนวนที่เหมาะสม

          3) อุปกรณ์การให้วัคซีน

          4) พ่อแม่ไก่พันธุ์พื้นบ้าน

          5) อาหารสำเร็จรูปตามช่วงอายุไก่ และอาหารที่หาได้ในท้องถิ่นเพื่อลดต้นทุนการผลิต

          6) การเลี้ยงลูกไก่ 0 -3 สัปดาห์ ระยะนี้ควรเลี้ยงในคอกขัง มีการกกให้ความร้อนโดยเฉพาะเวลากลางคืน

          7) การเลี้ยงไก่ อายะ 14-12 สัปดาห์ ควรเลี้ยงแบบปล่อย และปล่อยให้เดินออกกำลังกาย

          8) เริ่มขายเมื่อมีอายุ  ประมาณ  12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน

          9) พ่อพันธุ์ 1 ตัวต่อแม่พันธุ์  7 ตัว แม่แต่ละตัวจะให้ลูกไก่ ปีละ 3-4 ชุด ประมาณชุดละ 8 ตัว

ข้อพึงระวัง ->

1) เกษตรกรต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญของไก่พื้นบ้านตามระยะเวลาที่กำหนดโดยเคร่งครัด

          2) พ่อแม่พันธุ์ควรถ่ายพยาธิเป็นประจำทุก 6 เดือน

 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา