ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่

โดย : นายพิทักษ์ วุฒิพงศ์ปรีชา วันที่ : 2017-03-29-12:23:30

ที่อยู่ : 55 ม.11 ต.หลุมข้าว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

    จากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนตั้งแต่สมัยโบราณนิยมเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นบ้าน เพื่อเลี้ยงไว้เป็นอาหาร และการเลี้ยงก็เลี้ยงง่ายๆ ปล่อยให้ไก่หากินอาหารเองบ้าง แต่ปัจจุบันได้มีกระแสการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ ออกไข่เร็ว สามารถเลี้ยงไว้รับประทานเองและเลี้ยงเพื่อจำหน่ายไข่ให้แก่คนทั่วไปได้

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้แก่คนในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.      โปรตีน ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อในการเจริญเติบโตซ่อมแซมรักษา ในอาหารไก่ไข่ควรจะมีโปรตีนประมาณ  13-19%

2.      คาร์โบไฮเดรต มีหน้าที่ให้พลังงาน ให้ความอบอุ่น และเพื่อนำไปใช้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ควรจะมีอยู่ในอาหารไก่ไข่ประมาณ  38-61%

3.      น้ำ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ช่วยในการย่อย การดูดซึม รักษาอุณหภูมิในร่างกาย และช่วยในการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย

4.      ไขมัน มีหน้าทีให้ความอบอุ่นและพลังงานแก่ร่างกาย แต่ไม่ควรมากเกินไป

5.      วิตามิน ช่วยให้ไก่มีความต้านทานโรค และบำรุงระบบประสาท

6.      แร่ธาตุ ช่วยในการสร้างโครงกระดูก สร้างเลือด สร้างเปลือกไข่

อุปกรณ์ ->

1.      อุปกรณ์การให้อาหาร มีหลายแบบ เช่น ถาดอาหาร รางอาหาร ถังอาหาร เป็นต้น

2.      อุปกรณ์ให้น้ำ มีหลายแบบขึ้นอยู่กับอายุไก่ เช่น แบบรางยาว แบบขวดมีฝาครอบ

3.      เครื่องกกลูกไก่ ทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นแทนแม่ไก่ในตอนที่ลูกไก่ยังเล็กอยู่

4.      รังไข่ โดยปกติรังไข่จะควรมีความมืดพอสมควร และมีอุณหภูมิที่เย็น ซึ่งถ้าหากเลี้ยงแบบโรงเรือนก็จะเป็นรางที่ควรทำความสะอาดง่าย หรือถ้าใครเลี้ยงแบบปล่อย ก็ควรมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการออกไข่ อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น

5.      วัสดุรองพื้น จำพวก ฟางข้าว ซังข้าวโพด แกลบ เป็นต้น เพื่อความสะอาดและความสบายของตัวไก่

6.      อุปกรณ์การให้แสง ทั้งแสงจากธรรมชาติ และแสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีเริ่มต้นเลี้ยงไก่ไข่

ผู้เลี้ยงที่ยังไม่มีความรู้ความชำนาญงานประเภทนี้ ควรเริ่มต้นหัดเลี้ยงด้วยไก่จำนวนน้อย เพื่อศึกษาหาความรู้ความชำนาญเสียก่อน สำหรับผู้ที่มีความรู้และชำนาญแล้ว อาจเริ่มต้นเลี้ยงตามขนาดของทุนและสถานที่ ถ้าเริ่มต้นด้วยไข่ฟัก หรือลูกไก่ ก็ย่อมลงทุนถูก หากเริ่มต้นด้วยไก่ใหญ่ ก็อาจต้องใช้ทุนมาก โดยทั่วไปผู้เลี้ยงอาจเริ่มจากระยะไหนก็ได้ อาทิเช่น

1. เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงลูกไก่อายุ 1 วัน เป็นวิธีที่มีผู้เลี้ยงนิยมกันมากเนื่องจากลงทุนน้อย ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงไก่ได้ตลอดเวลาด้วยตัวเอง สามารถที่จะดูแลเอาใจใส่ได้อย่างเต็มที่ ได้รู้ประวัติของไก่ทั้งฝูงตลอดเวลา จึงทำให้ได้ฝึกฝนการเลี้ยงไก่และมีความมั่นใจในการเลี้ยงไก่มากขึ้น แต่การเลี้ยงแบบนี้ต้องใช้เวลานานกว่าไก่จะให้ไข่ เพราะต้องเลี้ยงตั้งแต่ลูกไก่แรกเกิด ซึ่งเป็นงานที่ยุ่งยาก และใช้ความชำนาญค่อนข้างสูง อีกทั้งยังเลี่ยงต่อการตายของไก่ในระยะแรกๆ และจะต้องรอไปอีกเป็นเวลาอย่างน้อยถึง 22 อาทิตย์ ไก่จึงจะเริ่มให้ไก่

2.  เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงไก่รุ่นอายุ 2 เดือน เป็นวิธีที่เริ่มนิยมกันในปัจจุบัน โดยการที่ผู้เลี้ยงซื้อไก่รุ่นอายุ 6 อาทิตย์ จนถึง 2 เดือน มาจากฟาร์มหรือบริษัทที่รับเลี้ยงลูกไก่ เนื่องจากลูกไก่ในระยะนี้ราคายังไม่แพงมากนักและสามารถตัดปัญหาในการเลี้ยง ดูลูกไก่และการกกลูกไก่ การเลี้ยงไก่รุ่นอายุ  2 เดือนนี้ มักจะให้อาหารที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ ราคาถูก การเลี้ยงดูก็ไม่ต้องใช้ความขำนาญมากนัก ผู้ที่เริ่มเลี้ยงไก่เป็นครั้งแรก จึงสมควรเลี้ยงด้วยวิธีนี้

3.  เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงไก่สาว  เป็นวิธีที่ผู้เลี้ยงไก่เป็นอาชีพหรือเพื่อการค้านิยมกันมาก เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาเลี้ยงดูไก่เล็กหรือไก่รุ่น นอกจากนี้โรงเรือนก็สร้างไว้เฉพาะใช้กับไก่ไข่เท่านั้น แต่การเลี้ยงไก่วิธีนี้ต้องใช้ทุนสูง ผู้เลี้ยงจะต้องรู้จักฟาร์มที่ผลิตไก่สาวเป็นอย่างดี ต้องสอบถามถึงประวัติของฝูงไก่สาวที่จะนำมาเลี้ยงได้

 การเลี้ยงดู

การเลี้ยงดูไก่เล็ก ( อายุ 1 วัน- 6 สัปดาห์)

                การเลี้ยงไก่ในระยะนี้เป็นระยะที่มีความสำคัญมาก ต้องดูแลและเอาใจใส่อย่างมาก เพื่อให้ลูกไก่มีสุขภาพดี สมบูรณ์แข็งแรง และอัตราการเลี้ยงรอดสูง ควรจัดการ ดังนี้

                1.  เมื่อนำลูกไก่มาถึงฟาร์มต้องนำเครื่องกกไก่โดยเร็วที่สุด และเตรียมน้ำสะอาดพร้อมให้กินทันที ถ้าลูกไก่ยังไม่รู้จักที่ให้น้ำต้องสอนโดยการจับไก่เอาปากจุ่มน้ำ 2-3 ครั้ง ควรผสมยาปฏิชีวนะหรือวิตามินให้ลูกไก่กินติดต่อกัน 2-3 วันแรก แต่ถ้าลูกไก่มีลัษณะนอนฟุบ อ่อนเพลียมาก ควรผสมน้ำตาลทรายลงในน้ำผสมยาปฏิชีวนะในอัตรา 5-10% ในระยะ 12 ชั่วโมงแรก

                2.  เมื่อลูกไก่เข้าเครื่องกกได้ 2-3 ชั่วโมง หือลูกไก่เริ่มกินน้ำได้แล้วจึงเริ่มให้อาหารไก่ไข่เล็ก โดยโปรยลงบนถาดอาหาร พร้อมทั้งเคาะถาดเพื่อเป็นการเรียกลูกไก่ให้มากินอาหาร โดยให้กินแบบเต็มที่ ให้น้อยๆ แต่บ่อยครั้ง อย่างน้อยวันละ 3-4 ครั้ง

                3.  ให้แสงสว่างในโรงเรือนเพียง 1-3 แรกเท่านั้น เพื่อให้ลูกไก่คุ้นเคยกับสถานที่ แต่ไฟที่ให้ควรเปิดสลัวๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่เดินเล่นห่างเครื่องกก ภายในเครื่องกกต้องมีแสงไฟอยู่ตลอดเวลาในระยะ 1-3 สัปดาห์

                4.  หมั่นตรวจดูแลสุขภาพไก่โดยสม่ำเสมอ ตรวจอาหารและน้ำ ขวดน้ำต้องล้างและเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกวัน เปลี่ยนวัสดุรองพื้นที่ชื้นแฉะ และระวังอย่าให้ลมโกรกแต่อากาศต้องถ่ายเทได้อย่างสะดวก

                5.  ขยายวงล้อมกกให้กว้างออกไปตามความเหมาะสมทกๆ 5-7 วัน พร้อมทั้งยกเครื่องกกให้สูงขึ้นเล็กน้อย และปรับอุณหภูมิของเครื่องกกให้ต่ำลงสัปดาห์ละ 5 F

                6.  ทำวัคซีนตามกำหนด

1.      ตัดปากลูกไก่เมื่ออายุ 6-9 วัน โดยตัดปากบนออกประมาณ  1/3 ของปาก และจี้ปากล่างด้วยใบมีด

ร้อนๆ

การตัดปาก

จุดประสงค์ของการตัดปาก คือ

1.      เพื่อป้องกันการจิกกัน

2.      เพื่อลดปริมาณการสูญเสียอาหารหกหล่น

การตัดปากที่ถูกวิธี

1.      จับลูกไก่ไว้ในอุ้งมือ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่หลังหัวลูกไก่

2.      ใช้นิ้วหัวแม่มือกดหัวลูกไก่ให้อยู่นิ่ง

3.      เลือกขนาดรูตัดที่เหมาะสมเพื่อตัดปากลูกไก่ประมาณ 2 มม. จากปลายจมูก

4.       ใบมีดตัดปากต้องร้อนจนแดง เมื่อกดใบมีดตัดปากไก่แล้วจะต้องคงค้างไว้ประมาณ 2-3 วินาที เพื่อ

ช่วยห้ามเลือด

                การตัดปากไม่ดีนอกจากจะทำให้ไก่กินอาหารและน้ำลำบากแล้ว ปริมาณไข่จากไก่ตัวนั้นย่อมลดลง ดังนั้นการตัดปากทำอย่างประณีต ระยะเวลาตัดปากที่ดีที่สุดประมาณ 7-10 วัน ควรตัดให้ระยะจมูกออกมาไม่ต่ำกว่า 2 มม. ถ้าพบว่าการตัดปากไม่ดีควรทำการแต่งปากเมื่ออายุไม่เกิน 10 สัปดาห์

                8.  เมื่อกกลูกไก่ครบ 21 วัน ให้นำวงล้อมและเครื่องกกออก แต่ต้องระวังอย่าให้ลูกไก่ตื่น เพื่อป้องกันการเครียดก่อนจะเปิดวงล้อมออกจัดเตรียมอุปกรณ์ ดังนี้

-    ที่ให้อาหาร ใช้แบบถังแขวนในอัตรา 3-4 ใบต่อไก่ 100 ตัว

                   -      ที่ให้น้ำ ใช้แบบถังแขวน ในอัตราตามขอบราง 1 นิ้วต่อไก่ 1 ตัว แต่ทั้งที่ให้อาหารและที่ให้น้ำ ต้องคอยปรับให้อยู่ในระดับความสูงเท่ากับหลังไก่เสมอ

9.  การให้กรวด กรวดมีความสำคัญต่อไก่ ในการช่วยบดอาหารที่มีขนาดโตให้ละเอียดขึ้น โดยเริ่มให้ไก่กินกรวดตั้งแต่อายุได้ 3 สัปดาห์ขึ้นไป โดยให้สัปดาห์ละครั้ง ๆ ละ ครึ่งกิโลกรัมต่อไก่ 100 ตัว

1.      ควบคุมและป้องกันสัตว์อื่นๆ ไม่ให้มารบกวน

2.      เริ่มชั่งนำหนักไก่จำนวน 5% ของฝูงเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ จดบันทึกปริมาณอาหาร จำนวนไก่ตาย คัดทิ้ง สิ่งผิดปกติ การปฏิบัติงาน การใช้ยาและวัคซีนเป็นประจำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหา และคำนวณต้นทุนการผลิต

 การเลี้ยงดูไก่รุ่น ( อายุ 7-14 สัปดาห์)

                การเลี้ยงไก่ในระยะนี้ ส่วนใหญ่ไก่จะมีขนงอกเต็มตัวแล้ว และมีผลต่อเนื่องถึงการผลิตไก่สาวที่มีคุณภาพสูงเพื่อให้เป็นแม่ไก่ที่ดี ให้ผลตอบแทนสูง ไก่จะต้องเจริญเติบโต มีโครงสร้างที่ดีมีอวัยวะส่วนที่ใช้ผลิตไข่ที่ดี ต้องไม่อ้วนหรือผอมเกินไปไก่ร่าเริงแจ่มใส และแข็งแรง ควรจัดการ ดังนี้

1.      ควรจัดเตรียมพื้นที่เลี้ยงในอัตราไก่ 5-6 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร

2.      เมื่ออายุ 7 สัปดาห์ ให้เปลี่ยนอาหารจากไก่ไข่เล็กเป็นอาหารไก่ไข่รุ่น  ให้อาหารแบบถังแขวนในอัตรา 4-5 ถังต่อไก่ 100 ตัว หมั่นปรับระดับที่ให้อาหารให้อยู่ในระดับหลังไก่เสมอ และทำความสะอาดที่ให้อาหารอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

3.      จัดเตรียมที่ให้น้ำให้เพียงพอ โดยใช้ในอัตราตามขอบราง 1 นิ้วต่อไก่ 1 ตัว น้ำสะอาดต้องมีให้ไก่กินตลอดเวลา และทำความสะอาดที่ให้น้ำทุกวัน

4.      ดูแลวัสดุรองพื้นอย่าให้แฉะหรือแข็งเป็นแผ่น หรือมีกลิ่นเหม็นของแก๊สแอมโมเนีย ต้องคุ้ยและพลิกกลับอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 2-3 วัน และทำความสะอาดบริเวณรอบโรงเรือน พร้อมทั้งกำจัดวัชพืชบริเวณรอบโรงเรือน

5.      ชั่งน้ำหนักตัวไก่ จำนวน 5% ของฝูง ทุกสัปดาห์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของไก่แต่ละสายพันธ์ เพื่อลดหรือเพิ่มปริมาณอาหารที่จะให้

6.      จดบันทึกเกี่ยวกับการจัดการ จำนวนอาหาร ไก่ตาย คัดทิ้ง การใช้ยาและวัคซีน สิ่งผิดปกติ และการปฎิบัติงาน

ข้อพึงระวัง ->

หมั่นตรวจดูแลสุขภาพไก่โดยสม่ำเสมอ ตรวจอาหารและน้ำ ขวดน้ำต้องล้างและเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกวัน เปลี่ยนวัสดุรองพื้นที่ชื้นแฉะ และระวังอย่าให้ลมโกรกแต่อากาศต้องถ่ายเทได้อย่างสะดวก

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา