ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เลี้ยงจิ้งหรีดทองดำเพื่ออาชีพเสริม

โดย : นายบุญนาค ปะระทัด วันที่ : 2017-03-28-16:54:09

ที่อยู่ : 22 บ้านโสกนกเต๊นท์ หมู่ที่ 7 ตำบลหนองตาดใหญ่ อ.สีดา จ.นครราชสีมา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชน  กระทรวงมหาดไทย ได้จัดฝึกอบรมโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับครัวเรือนชุมชน โครงการส่งเสริมการเลี้ยงจิ้งหรีด   จึงเป็นโครงการที่ผ่านการคัดเลือกจากเวทีประชาคม แรงบันดาลใจมาจากการได้ศึกษาดูงานจากผู้ประสบผลสำเร็จ เหตุผลเพื่อให้เกิดอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและเป็นแหล่งศึกษาดูงาน พัฒนาอาชีพ ของหมู่บ้าน / ชุมชนต่อไป

แมลง ได้มีบทบาทมากขึ้นในการเป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากปริมาณโปรตีนที่สูง จึงมีความคิดที่นำแมลงมาเป็นอาหาร โดยปกติแล้วแมลงจะหาจับได้โดยทั่วไป แต่เนื่องจากปริมาณความต้องการของตลาดที่มากขึ้น จึงได้มีการเริ่มทำฟาร์มแมลงขึ้นมาทดแทนกันอย่างแพร่หลายและเมื่อกล่าวถึงแมลงที่เป็นที่นิยมที่สุดชนิดหนึ่งแล้ว ก็ย่อมหนีไม่พ้น จิ้งหรีด ในปัจจุบัน การเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากความต้องการของตลาดที่มากขึ้นนั่นเอง สาเหตุอีกอย่างที่ควรหันมาเลี้ยงจิ้งหรีดหรือแมลงนั่นก็คือ การเลี้ยงที่ค่อนข้างง่าย ใช้พื้นที่น้อย เงินลงทุนต่ำ และแทบไม่ได้ใช้ยาหรือสารเคมีเลย นอกจากนั้นแล้ว จิ้งหรีดยังเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญชนิดหนึ่งของไทยอีกด้วยพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงได้แก่ พันธุ์ทองดำ ทองแดง และทองแดงลายหรือแมงสะดิ้ง ซึ่งเป็นจิ้งหรีดอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และเป็นชนิดที่มีการเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจมากที่สุด เพราะจิ้งหรีดทองแดงลาย เป็นจิ้งหรีดที่มีขนาดเล็กให้ไข่เยอะ จึงมีความมันกว่าจิ้งหรีดชนิดอื่นเมื่อรับประทาน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อใช้เป็นแหล่งอาหาร ที่ปลอดภัยในชุมชน และเป็นการพัฒนาอาชีพนอกภาคเกษตรแบบยั่งยืน และมีรายได้ในหมู่บ้าน/ชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อาหารที่หาได้ในพื้นที่ เช่น รำ  ปลายข้าว  เศษผัก 

อุปกรณ์ ->

วัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงและเพาะพันธุ์จิ้งหรีด

  - โรงเรือนขนาดเล็ก นิยมเลือกพื้นที่ข้างบ้าน หลังคากระเบื้อง ผนังสี่ด้านเปิดโล่ง เพื่อช่วยในการระบายอากาศ แต่อาจใช้ม่านบังแบบม้วนพับเก็บได้เพื่อควบคุม แสง อุณหภูมิ ความชื้น และการระบายลม

-  บ่อเลี้ยง อาจใช้วงปูนวางกับพื้น หรืออาจก่อซีเมนต์บล็อกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนใหญ่นิยมใช้แผ่นยิบซัมทำเป็นกล่องขนาด 1.2 x 2.4 x 0.6 เมตรยกพื้นสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ง่ายแก่การยกออกไปทำความสะอาด และผึ่งแดด

-  ที่อยู่อาศัยภายในบ่อ ใช้ถาดไข่ชนิดกระดาษวางซ้อนกันเป็นคอนโดเพื่อให้จิ้งหรีดหลบภัย หลังจากเก็บเกี่ยวสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก

- ภาชนะให้น้ำและอาหาร อาจทำจากกระเบื้องหรือพลาสติก บางแห่งใส่ก้อนหินในน้ำ เพื่อกันจิ้งหรีดตกน้ำ และไว้เป็นที่เกาะกินน้ำ บางแห่งอาจใช้ผ้าชุบน้ำมาวางเพื่อให้จิ้งหรีดกิน บางแห่งใช้การสเปรย์ละอองน้ำให้เป็นเวลา

-  ภาชนะสำหรับให้จิ้งหรีดวางไข่ นิยมใช้ขันพลาสติกขนาดเล็กบรรจุดินขุยไผ่ หรือใยมะพร้าว

-  นอกจากนี้มีการใช้มุ้งตาข่ายปิดปากบ่อ กันศัตรูของจิ้งหรีด หรือสัตว์พาหะที่จะนำโรคเข้าสู่บ่อ

-  เทปกาว ติดแนบด้านบนของบ่อเลี้ยงเพื่อป้องกันไม่ให้จิ้งหรีดเดินไปที่ขอบบ่อ

บางแห่งใช้แกลบในการปูพื้นบ่อ บางแห่งบ่อพ่อ แม่พันธุ์ไม่ใช้วัสดุปูรองเลย

วัสดุ – อุปกรณ์
          1. บ่อซีเมนต์                                                    5. ช๊อคฆ่ามด
            2. รางน้ำ                                                         6. ผ้ามุ้ง
            3. ขันทราย                                                      7. แผงไข่กระดาษ
            4. เทปกาว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด

จิ้งหรีดเป็นสัตว์กินพืชที่เลี้ยงง่าย จึงเหมาะแก่การเลี้ยงแบบออแกนิค ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน แต่อาจจะมีปัญหาในส่วนของการหาอาหารจำพวกพืชที่ปลอดสารพิษยาก ดังนั้นจึงได้นำอาหารไก่มาทดแทน ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยจะใช้อาหารไก่ที่มีโปรตีนร้อยละ 14 และ 21 ซึ่งจะแบ่งการให้ตามช่วงอายุของจิ้งหรีด

-  อาหารที่มีโปรตีนร้อยละ 14 จะให้แก่จิ้งหรีดที่เกิดใหม่จนถึงอายุ 20 วัน

-  อาหารที่มีโปรตีนร้อยละ 21 จะให้แก่จิ้งหรีดหลังจาก 20 วันจนถึงวันเก็บเกี่ยว ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 45 วัน

ส่วนน้ำสะอาดสามารถให้ได้ตลอดเวลา โดยเลือกเปลี่ยนเมื่อน้ำมีความสกปรก

การเก็บเกี่ยว

โดยปกติแล้ว จะเก็บตัวจิ้งหรีดมาขายนั้น จะทำหลังจากการที่ตัวจิ้งหรีดได้ทำการผสมพันธุ์เสร็จสิ้น เพื่อให้ได้ไข่ไว้ในการฟักเป็นตัวต่อไป ซึ่งวิธีการเก็บก็สามารถทำได้ง่ายๆ โดยการใส่ภาชนะทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น กล่องพลาสติก และเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นแล้ว ก็เป็นการทำความสะอาดห้องเลี้ยง เพื่อเตรียมตัวเลี้ยงจิ้งหรีดในรุ่นต่อไป

การวางไข่

ทันทีที่จิ้งหรีดได้รับการผสม ควรเตรียมภาชนะวางไข่ที่มีส่วนผสมของแกลบและทราย ไปวางไว้ในบ่อตัวเมียที่สามารถวางไข่(ภายใน 24 ชั่วโมง) ระยะเวลาวางไข่เป็น 7-14 วัน จากนั้นภาชนะวางไข่จะถูกย้ายไปยังบ่ออื่นที่เตรียมสำหรับการบ่มฟัก การฟักมักจะเกิดขึ้นหลังจากนั้นประมาณ 7-10 วัน ในอุณหภูมิคงที่ วงจรการสืบพันธุ์นี้สามารถทำซ้ำได้ 1-3 ครั้งในแต่ละรุ่นการฟักจะเกิดขึ้นที่อุณหภูมิสูงกว่า 20 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 28-30 องศาเซลเซียส

ข้อพึงระวัง ->

ข้อควรระวังในการเลี้ยงจิ้งหรีด

-  ความเสี่ยงของการเพิ่มราคาในอุตสาหกรรมอาหารไก่

-  โรค ในปัจจุบันมีความเสี่ยงเป็นโรคเนื่องมาจากการเลี้ยงอย่างหนาแน่น โรคที่จะมาจากอาหารธรรมชาติ หรือสัตว์พาหะ

-  ความเสี่ยงจากการใช้พันธุ์ที่ผลิตในฟาร์ม หลังจากการผลิตสามรุ่นไปแล้ว แก้ไขโดยการใช้พันธุ์และไข่นอกฟาร์ม

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา