ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะเห็ดนางฟ้า

โดย : นางโสภี สุขบุญ วันที่ : 2017-03-28-14:37:57

ที่อยู่ : 42 ม.8 ต.สำพะเนียง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ครอบครัวนางโสภี  สุชุญ  มีอาชีพหลักคือทำนา  เนื่องจากผลผลิตที่ได้ไม่เพียงพอ มีต้นทุนการผลิตสูง  และเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน จึงได้ทำการเพาะเห็ดนางฟ้าเพ่ือลดรายจ่ายในครัวเรือนและเหลือจากบริโภคนำไปจำหน่ายเพื่อเพ่ิมรายได้ให้กับครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

-   ขี้เลื่อยยางพาราหรอขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน แห้งสนิท ๑๐๐ กิโลกรัม

-   ราละเอียด ๖ – ๘ กิโลกรัม

-   ข้าวโพดป่น ๓ – ๕ กิโลกรัม

-   ปูนยิบซัม ๑ กิโลกรัม

-   หินปูนหรือผงชอล์ก ๑ กิโลกรัม

-   ดีเกลือ ๐.๒ กิโลกรัม

-   น้า ๘๐ กิโลกรัม

-   EM ๑ ลิตร

-   ถุงแพคเห็ด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เมื่อหาส่วนผสมมาครบแล้ว ก็ทาการตากและกองขี้เลื่อยยางพาราไว้ประมาณ ๗ วัน จากนั้นค่อยทาการผสม โดยการเติมน้าลงประมาณ ๗๐ เปอร์เซนต์ ทดสอบโดยการกาส่วนผสมถ้ามีน้าซึมตามง่ามมือแสดงว่าการผสมนี้ผสมน้า มากเกินไปแต่ถ้าเมอบีบแล้วขี้เลื่อยแตกเป็น ๓ ก้อนแสดงวาการผสมใช้ได้เรียกว่าพอดีแล้วแต่ถ้าว่าถ้ากาแล้วแบมือออก แล้วขี้เลื่อยจับตัวไม่เป็นก้อนแสดงว่าเติมน้าน้อยจนเกินไป เมื่อผสมเข้ากันได้ที่แล้วก็ทาการกรอกใส่ถุงเพาะเห็ด ใส่ให้ได้

 

น้าหนักประมาณ ๘๐๐ – ๙๐๐ กรัม หลังจากนั้นก็ทาการรวบปากถุงกระทุ้งกับพื้นให้แน่นพอประมาณหลังจากนั้นก็ทา การใส่คอขวด

๓)  การหยอดเชื้อและบ่มเชื้อเห็ดนางฟ้า

เมื่อทาก้อนเชื้อเสร็จแล้ว เราก็จะนาก้อนเชื้อที่ได้ทาการหยอดเชื้อและบ่มเชื้อเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้า ตามลาดับ โดยก่อนอื่นก้อนเชอที่ได้นั้นเราก็จะนามาทาการนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อ ถ้ามีหม้อนึ่งความดันอยู่แล้วก็ให้นึ่งที่ความดัน

๒๕ ปอนด์ต่อตารางนิ้ว โดยทาการนึ่งที่ระยะเวลาประมาณ ๑ – ๒ ชั่วโมง ถ้าไม่มีหม้อนึ่งความดันอาจใช้หม้อนึ่งจากถง น้ามัน ๒๐๐ ลิตร แทนก็ได้ แต่จะต้องทาการนึ่งประมาณ ๓ ครั้ง โดยทาการนึ่งที่อุณหภมิ ๑๐๐ อาศาเซลเซียส นึ่งที่ ระยะเวลาประมาณ ๒ – ๓ ชั่วโมง และทาการนึ่งทั้งหมด ๓ ครั้ง เมื่อผ่านขั้นตอนการนึ่งฆ่าเชื้อเรียบรอยแล้ว เราก็จะ ทาการหยอดเชื้อเห็ดลงสู่ก้อนเชื้อ เชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่างควรหยอดเชื้อลงประมาณ ๒๐ – ๒๕ เมล็ด เมื่อหยอดเชื้อ ลงสู่ก้อนเชื้อเห็ดเสร็จแล้ว ให้ทาการปิดปากถุงก้อนเชื้อให้เรียบร้อย หลังจากทาการหยอดเชื้อลงในก้อนเชื้อเสร็จ เราก็ จะทาการบ่มเชื้อเห็ดในอกขนตอนหนึ่ง โดยการบ่มเชื้อนั้นต้องนาก้อนไปบ่มไว้ที่ระยะเวลาประมาณ ๒๐ – ๒๕ วัน กรรมวิธีการบ่มกไม่ยุ่งยากอะไร เพียงแต่ต้องเก็บให้เป็นระเบียบ ไม่ถกแดด ไม่ถกฝน ลมไม่โกรกไม่มีแมลง ไม่มีหนู อากาศถ่ายเทได้สะดวก

๔) การเก็บเกี่ยวผลผลิตเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้า

หลังจากที่ได้เราทาการบ่มเชื้อเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้าเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นช่วงระยะเวลาของการเปิดดอกและทา การเก็บเกี่ยวผลผลิตเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้าจะออกดอกเมื่อมีความชื้นสูงพออากาศไม่ร้อนมาก เมื่อถูกเหนี่ยวนา ด้วยอากาศเย็นตอนกลางคืนก็จะออกดอกได้ดี เทคนิคที่ทาให้ออกดอกสม่ำเสมอและดอกใหญ่สามารถทาได้ดังนี้  เมื่อ เก็บดอกเสร็จต้องทาความสะอาดหน้าก้อนเชื้อโดยเขี่ยเศษเห็ดออกให้หมด งดให้น้าสัก ๓ วัน เพื่อให้เชื้อฟักตัวแล้วก็ กลับมาให้น้าอีกตามปกติเห็ดก็จะเกิดเยอะเหมือนเดิมหรือเมื่อเก็บดอกเห็ดเสร็จก็ทาความสะอาดหน้าก้อนเชื้อ เหมือนเดิม แล้วรัดปากถุงไม่ให้อากาศเข้าทิ้งระยะเวลาประมาณ ๒ – ๓ วัน ให้น้าปกติหลังจากนั้นก็เปิดปากถุงก็จะเกิด ดอกที่สม่ำเสมอเป็นการเหนี่ยวนาให้ออกดอกพร้อมกัน เมื่อเห็ดออกดอกและบานจนได้ขนาดที่ต้องการแล้ว ให้เก็บดอก โดยจับที่โคนดอกทั้งช่อ โยกซ้ายขวา-บนล่าง แล้วดึงออกจากถุงเห็ด ระวังอย่าให้ปากถุงเห็ดบาน ถ้าดอกเห็นโคนขาด ติดอยู่ให้แคะออกทงให้สะอาดเพื่อป้องกันการเน่าเสีย เป็นสาเหตุทาให้เกิดหนอนจากการวางไข่ของแมลงได้ การดู ลักษณะดอกเห็ดที่ควรเก็บ คือดอกไม่แก หรืออ่อนจนเกินไป ดูที่ขอบดอกยังงุ้มอยู่คือดอกที่เหมาะแก่การเก็บเกี่ยว ถ้า ขอบยกขึ้นแสดงว่าแก่แล้ว ดอกเห็ดที่แก่จัด และออกสปอร์เป็นผงขาวด้านหลังดอกเห็ด ต้องรีบเก็บออก เพราะสปอร์ จะเป็นตัวชักนาให้แมลงเข้ามาในโรงเรือนเพาะเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้าได้

ข้อพึงระวัง ->

ปัญหาที่พบในการเพาะเห็ดนางฟ้า

(๑) เชื้อในถุงไม่เดิน  สาเหตุ ขณะหยอดเชื้อถุงก่อนเชื้อร้อนเกิน เชื้ออ่อนแอเกินไป และลืมหยอดเชื้อ วิธีแก้ไข ตั้งก้อนเชอให้เย็นอย่างน้อย ๒๔ ชั่งโมง คัดเชื้ออ่อนแอทิ้ง ก่อนหยอดเชื้อ ขณะหยอดเชื้อต้องมีสติ และสมาธิ แน่นแน่

(๒) หนอนแมลงหวี่กินเส้นใย  สาเหตุ แมลงหวี่ไข่ไว้ที่ฝาจุกหรือสาล

วิธีแก้ไข ตรวจสอบสุขภาพอนามัยของโรงเรือน จุก สาล ต้องนึ่งฆ่าเชื้อ สาลีต้องอดให้แน่น ปิดกระดาษให้สนิท

อย่าให้มีช่อง

(๓) เชื้อเดิน แต่หยุด มีกลิ่นบูด มีน้าเมือก มีสีเหลือง เขียว หรือสีดา สาเหตุ มีราหรือแบคทีเรีย ปนเปื้อน นึ่งฆ่าเชื้อไม่หมด นึ่งฆ่าเชื้อดีแต่กระบวนการลดความร้อนและเปิดหม้อนึ่งไม่ถูกต้อง เชื้อเห็ดที่ใช้ไม่มีคุณภาพ วิธีการหยอดเชื้อไม่ดี บ่มถุงก้อนเชื้อหนาแน่นเกินไปทาให้การระบายอากาศไม่ดี มีคาร์บอนไดออกไซค์มาก

วิธีแก้ไข ให้ทบทวนสาเหตุหลักของการปนเปื้อน ตรวจกระบวนการนึ่ง เรื่อง เวลา อุณหภูมิ จานวนก้อน ไล่ อากาศในหม้อนึ่ง ค่อยๆลดความร้อน อย่าเปิดหม้อนึ่งอย่ารวดเร็ว ตรวจดูจุกสาลีว่าแน่นหรือไม่ ใช้เชื้อเห็ดที่บริสุทธิ อบรมวิธีการปลอดเชื้อ และปรับปรุงวิธีทางาน ห้องบ่มเชอควรมีอุณหภูมิ ๒๕ – ๓๐ องศาเซลเซียส ปรับปรุงเรื่อง สุขอนามัยฟาร์ม

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา