ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เกษตรผสมผสาน ทอผ้า-เลี้ยงไก่พื้นเมือง

โดย : นางดาวเรือง แสนวันดี วันที่ : 2017-03-28-14:19:46

ที่อยู่ : 149 บ้านหัวนาคำ หมู่ที่4 ต.หนองตาดใหญ่ อ.สีดา จ.นครราชสีมา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชน  กระทรวงมหาดไทย ได้จัดฝึกอบรมโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับครัวเรือนชุมชน โครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นเมือง จึงเป็นโครงการที่ผ่านการคัดเลือกจากเวทีประชาคม แรงบันดาลใจมาจากการได้ศึกษาดูงานจากผู้ประสบผลสำเร็จ เหตุผลเพื่อให้เกิดอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและเป็นแหล่งศึกษาดูงาน พัฒนาอาชีพ ของหมู่บ้าน / ชุมชนต่อไป ซึ่งการเลี้ยงไก่พื้นเมือง และการทอผ้า เป็นอาชีพที่น่าสนใจอีกอาชีพหนึ่งที่ทำได้ง่ายและมีรายได้ดี ปัจจุบันมีเกษตรกรหันมาสนใจการเลี้ยงไก่พื้นเมืองมากขึ้น ตลอดจนการเลี้ยงและการดูแลรักษาไม่ยุ่งยากเกินไป และเหมาะกับสภาพดิน อากาศของไทยเรา

วัตถุประสงค์ ->

๒.๑เพื่อใช้เป็นแหล่งอาหาร ที่ปลอดภัยในชุมชน และเป็นการพัฒนาอาชีพนอกภาคเกษตรแบบยั่งยืน และมีรายได้ในหมู่บ้าน/ชุมชน

๒.๒เพื่อให้ความรู้ด้านการเลี้ยงไก่พื้นเมือง  และการอนุรักษ์การทอผ้าแก่สมาชิกครัวเรือนสัมมาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พ่อพันธ์ุ - แม่พันธ์ุไก่พื้นเมือง

เส้นผ้าฝ้ายธรรมชาติ

อุปกรณ์ ->

โรงเรือนสำหรับการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

เครื่องมือเครื่องใช้ในการทอผ้า


        - กี่พื้นเมืองหรือกี่ทอมือ กี่ชนิดนี้ทอผ้าแต่ละครั้งได้จำนวนจำกัด คือ ได้เพียงครั้งละ 5 - 6 ผืน หน้ากว้างของผ้าที่ทอได้ จะแคบกว่ากี่กระตุก กี่ทอมือจะต้องใช้เท้าเหยียบเพื่อบังคับตะกอให้แยกเส้นด้ายยืนออกจากกัน แล้วใช้มือสอดกระสวยใต้เส้นด้ายที่แยกดึงฟันฟืมกระทบเส้นด้ายพุ่งให้ติดกันทีละเส้น ซึ่งทอได้ช้ากว่ากี่กระตุก
        - กี่กระตุก เป็นกี่ที่เพิ่งจะเริ่มนำเข้ามาใช้โดยได้รับการส่งเสริมจากกรมพัฒนาชุมชน การทอกี่กระตุก ผู้ทอไม่ต้องสอดกระสวย ใช้มือกระตุกเชือกที่ติดกับกระสวย แล้วกระสวยจะวิ่งผ่านเส้นด้ายยืนที่แยกออกจากกัน โดยการใช้เท้าเหยียบไม้ที่ดึงตะกอ ข้อดีของกี่กระตุก คือ ในการทอแต่ละครั้งไม่ต้องสืบเส้นด้ายยืนบ่อย ๆ มีแกนม้วนด้ายยืนได้ยาวหลายสิบเมตร เส้นด้ายยืนจะตึงเรียบเสมอกันไม่ต้องหวีหรือจัดเหมือนกับกี่มือหรือกี่คอก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

    การทอผ้าฝ้ายพื้นเมือง

กรรมวิธีการทอผ้าให้เกิดลวดลายโดยการมัดที่เส้นพุ่งหรือเส้นยืนด้วยเชือกก่อนนำไปย้อมสีเพื่อให้เกิดสีและลายตามที่กำหนด แล้วจึงนำมาทอเป็นผ้าผืน   มีการทำกันมากในภาคอีสาน และบางจังหวัดในภาคกลาง เช่น จังหวัดอุทัยธานี
สุพรรณบุรี และชัยนาท ฯลฯ   การทอผ้ามัดหมี่แต่ละผืน จะต้องใช้เวลาและความปราณีต จัดเรียงเส้นไหมและฝ้าย
ให้สม่ำเสมอคงที่ และกรรมวิธีต้องเรียงลำดับก่อน - หลังเพื่อให้เกิดลวดลายสวยงาม ถูกต้อง ลวดลายจะเป็นลวดลาย

การแก้ปม หมี่ที่มัดเสร็จเรียบร้อยและถอดออกจากหลักหมี่แล้วนำไปแช่น้ำให้เปียกบิดให้หมาด นำไปย้อมสีครามล้างสีให้สะอาด จึงนำมาแก้ปอมัดหมี่ พาดราวกระตุกให้เรียงเส้น ผึ่งให้แห้งได้ฝ้ายมัดหมี่

การปั่นหลอด นำฝ้ายมัดหมี่คล้องใส่กงซึ่งวางอยู่ระหว่างตีนกง 1 คู่ หมุนกงคลายฝ้ายออกจากกงพัน
เข้าหลอดไม้ไผ่เล็กๆที่เสียบแน่นอยู่กับเหล็กไนของหลา ความยาวของหลอดไผ่สัมพันธ์กันกับกระสวยทอผ้า เมื่อหมุนกงล้อไม้ไผ่ของหลา เหล็กไนและหลอดจะหมุนเอาเส้นฝ้ายจากกงพันรอบแกนหลอดไม้ไผ่ ให้ได้จำนวนเส้นฝ้ายพอเหมาะกับขนาดของร่องกระสวยทอผ้า

การร้อยหลอดฝ้าย ร้อยหลอดฝ้ายที่ปั่นแล้วตามลำดับก่อนหลังหากร้อยหลอดผิดลำดับหรือทำเชือกร้อยหลอดขาดทำให้ลำดับฝ้ายผิดไป ไม่สามารถทอเป็นลวดลายตามต้องการได

  ลายหมี่ นับเป็นวัฒนธรรมด้านสิ่งทอของภูมิภาคอีสาน ผ้าฝ้าย ความสวยงามของลาย หมี่เป็นสัญลักษณ์แสดงความเจริญทางปัญญาของชุมชนและที่สำคัญอีกอย่างของผ้าทอที่มีคุณภาพและมีเสน่ห์สวยสะดุดตาคือการเพิ่มสีสรรด้วยการย้อม ที่ทำให้ผู้ใช้มีความพอใจ ภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าของ การใช้ผ้าย้อมครามมานานเท่ากับการทอผ้า ในสมัยโบราณสีครามได้ฉายาว่าเป็นราชาแห่งสีย้อม   นอกจากนี้มีร่องรอยการทำสีครามธรรมชาติ และพบต้นครามกระจายอยู่ทั่วไปในเขตร้อนของเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา ดังนั้นสีครามและผ้าย้อมครามจึงเคยเป็นที่รู้จักของคนเกือบครึ่งโลก แต่ถูกเทคโนโลยีและสีสังเคราะห์เข้าแทนที่ ทำให้การทำสีครามและผ้าย้อมครามลดลงอย่างรวดเร็วจนความรู้ด้านนี้เกือบสูญย้อมสีครามด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติ โดยกระบวนการดั้งเดิมที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้ผ้าย้อมครามได้รับความนิยมจากกลุ่มคนที่ตระหนักในคุณค่าของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและศิลปะพื้นบ้านทำด้วยมือ ซึ่งเป็นกลุ่มคนวัยทำงานทั้งในสำนักงาน สถานศึกษาและอื่นๆจนขยายออกไป

การเลี้ยงไก่พื้นเมืองให้ได้ผลดี 
          ในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองที่จะให้ได้ผลผลิตดีนั้น มีสิ่งที่จะต้องคำนึงถึง ดังนี้ 
3.1 พันธุ์ดี
          ปัจจุบันไก่พื้นเมืองมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา ไก่เบตง และไก่ชน ส่วนใหญ่และไก่พื้นเมืองจะเป็นสายพันธุ์ไก่ชนสังเกตได้จากแม่ไก่จะมีขนดำหน้าดำ และแข้งดำ หงอนหิน แต่จะมีแม่พันธุ์บางส่วนที่มีสีเทา สีทอง แต่หงอนก็ยังเป็นหงอนหิน ซึ่งเป็นลักษณะหงอนของไก่ชน เหตุที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงไก่พื้นเมืองพันธุ์ไก่ชน เพราะว่าไก่ชนมีรูปร่างใหญ่และยาว เจริญเติบโตดี และแม่พันธุ์ก็ไข่ดก นักผสมพันธุ์ไก่ชนได้คัดเลือกลักษณะดีเด่นไว้อย่างดี

3.2 อาหารดี
         อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ ข้าวเปลือก ปลายข้าว และรำ ซึ่งเป็นอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่น นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองอาจใช้ข้าวโพด ใบกระถินบดให้ละเอียด กากถั่วเหลือง และปลาป่น
         ไก่พื้นเมืองต้องการอาหารที่ดีมีคุณภาพที่มีพร้องทั้งไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แร่ธาตุ และวิตามิน ซึ่งมีพร้อมในอาหารสำเร็จรูป แต่การเลี้ยงไก่พื้นเมืองในชนบท จะเป็นการเลี้ยงเพื่อรับประทานในครัวเรือน โดยปล่อยให้ไก่พื้นเมืองหาอาหารกินเองตามธรรมชาติ จะมีการให้อาหารเสริมบ้าง เช่น ปลายข้าวหรือข้าวเปลือกโปรยให้กินก่อนไก่พื้นเมืองเข้าโรงเรือน แต่สำหรับผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองที่ต้องการให้ไก่พื้นเมืองเจริญเติบโตเร็ว ขายได้ราคาดี ควรให้อาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนตามที่ไก่พื้นเมืองต้องการ อาจใช้หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำ ในอัตราส่วน 1 : 2 : 2 (หัวอาหาร 1 ส่วน ปลายข้าว 2 ส่วน รำ 2 ส่วน) หรืออาจใช้สูตรอาหารต่อไปนี้
สูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงลูกไก่พื้นเมือง แรกเกิด จนถึงอายุ 2  เดือน 
     1. หัวอาหารอัดเม็ดสำหรับไก่ระยะแรก 8  กิโลกรัม
     2. รำรวม 8  กิโลกรัม
     3. ปลายข้าว 10  กิโลกรัม 
สูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่พื้นเมืองอายุ 2 เดือนขึ้นไป
     1. รำรวม 38  กิโลกรัม
     2. ปลายข้าว 60  กิโลกรัม
     3. เปลือกหอยป่น 2  กิโลกรัม

3.3 โรงเรือนดี
           โรงเรือนการเลี้ยงไก่พื้นเมืองนั้น ไม่มีรูปแบบที่ตายตัวแน่นอน โรงเรือนอาจจะทำเป็นเพิงหมาแหงนกลาย แบบหน้าจั่วและอื่น ๆ การที่จะเลือกแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบและวัตถุประสงค์ของการเลี้ยง วัสดุอุปกรณ์ ต้นทุน ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองส่วนใหญ่ในชนบทจะเลี้ยงไก่พื้นเมืองในบริเวณบ้านและทำโรงเรือนไว้ใต้ถุนบ้าน หรือใต้ยุ้งฉางการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบนี้จะหวังผลแน่นอนไม่ได้ ไก่พื้นเมืองบางรุ่นรอดตายมาก บางรุ่นอาจตายหมด มีจำนวนน้อยรายมากที่ทำโรงเรือนแยกต่างหากจากบริเวณบ้านพัก ดังนั้น เพื่อให้การเลี้ยงไก่พื้นเมืองได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยพักหลับนอนในตอนกลางคืนด้วยโรงเรือนไก่พื้นเมืองมีความสำคัญมาก สภาพของโรงเรืองไก่พื้นเมืองที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
         1. สามารถป้องกันแดดกันฝนได้ดี
         2. ภายในโรงเรือนควรโปร่ง ไม่อับทึบ ไม่ชื้น และระบายอากาศดีแต่ไม่ถึงกับมีลมโกรก
         3. ควรสร้างโรงเรือนแบบประหยัด ใช้สิ่งก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น รักษาความสะอาดง่าย ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคได้ทั่วถึง
         4. ป้องกันศัตรูต่าง ๆ ได้ดี เช่น สุนัข แมว นก และหนู
         5. ห่างจากที่พักพอสมควร สะดวกต่อการเข้าปฏิบัติงานดูแลไก่พื้นเมือง มีที่ให้อาหารและน้ำ
3.4. การจัดการ (การเลี้ยงดู)
           เมื่อลูกไก่พื้นเมืองออกจากไข่หมดแล้ว ควรให้แม่ไก่พื้นเมืองเลี้ยงลูกเอง โดยย้ายแม่ไก่พื้นเมืองและลูกไก่พื้นเมืองลงมาขังในสุ่มหรือในกรงในระยะนี้ควรมีถาดอาหารสำหรับใส่รำ ปลายข้าว หรือเศษข้าวสุกให้ลูกไก่พื้นเมืองกินและมีถ้วยหรืออ่างน้ำตื้น ๆ ใส่น้ำสะอาดให้กินตลอดเวลาเมื่อลูกไก่พื้นเมืองอายุประมาณ 2 สัปดาห์ ลูกไก่พื้นเมืองแข็งแรงดีแล้ว จึงเปิดสุ่มหรือกรงให้ลูกไก่พื้นเมืองไปหากินกับแม่ไก่พื้นเมืองได้โดยธรรมชาติแม่ไก่พื้นเมืองจะเลี้ยงลูกประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้แยกลูกไก่พื้นเมืองออกจากแม่ไก่พื้นเมือง โดยนำไปเลี้ยงในกรงหรือแยกเลี้ยงต่างหาก เพื่อให้แม่ไก่พื้นเมืองฟักตัวเตรียมไข่ในรุ่นต่อไป  ลูกไก่พื้นเมืองอายุ 2 สัปดาห์ที่แยกออกจากแม่ไก่พื้นเมืองใหม่ ๆ ยังหาอาหารไม่เก่งและยัง ป้องกันตัวเองไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องเลี้ยงต่างหากในกรงเพื่อให้แข็งแรงปราดเปรียว และเมื่อมีอายุได้ 1 -2 เดือนจึงปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติในระยะนี้ลูกไก่พื้นเมืองจะมีการตายมากที่สุดผู้ที่เลี้ยงควรเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดในเรื่องน้ำ อาหาร และการป้องกันโรค 

ข้อพึงระวัง ->

ข้อพึงระวังในการทอผ้าฝ้าย

การตกแต่งเส้นด้าย
        - การฆ่าด้าย เป็นวิธีการทำให้ด้ายมีความเหนียว มีความทนทานเพิ่มขึ้น ไม่เป็นขน โดยนำไปต้มกับข้าว วิธีการนี้จะใช้กับเส้นด้ายที่ไม่ต้องการย้อมสี
        - การย้อมสี เป็นวิธีเพิ่มความสวยงามให้แก่ผืนผ้า โดยใช้สีที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งจะได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ราก ดอก ต้น แก่น ลูก และใบ กรรมวิธีการย้อมไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีวิธีย้อมตามลักษณะของวัสดุ คือวัสดุบางชนิดจะต้องย้อมร้อน บางชนิดต้องย้อมเย็น พืชที่

 วิธีการย้อมสี ผ้าหรือเส้นด้ายที่จะย้อม จะต้องซักหรือแช่น้ำให้เปียกทั่วกันทั้งผืนเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้สีด่าง จะทำให้สีติดผ้าทั่วกันทั้งผืน และเมื่อย้อมสีเสร็จแล้วจะต้องนำผ้าไปล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนนำไปตาก

การควบคุมป้องกันโรค "การเลี้ยงไก่"
          ในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ผู้ที่เลี้ยงควรยึดหลัก "กันไว้ดีกว่าแก้" เพราะปัญหาโรคเป็นปัญหาสำคัญที่จะทำให้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองไม่ประสบผลสำเร็จ ในปีหนึ่ง ๆ จะสูญเสียไก่พื้นเมืองจึงต้องมีการสุขาภิบาลที่ดี และการให้วัคซีนป้องกันโรค ดังนี้
การสุขาภิบาลการเลี้ยงไก่พื้นเมืองที่ดี ควรปฏิบัติดังนี้
        1. ต้องดูแลทำความสะอาดโรงเรือนและภาชนะต่าง ๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค พยายามอย่าปล่อยให้โรงเรือนชื้นแฉะ
        2. สร้างโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
        3. กำจัดแหล่งน้ำสกปรก รอบ ๆ บริเวณโรงเรือนและบริเวณใกล้เคียง
        4. อาหารไก่ต้องมีคุณภาพ อาหารที่กินไม่หมดให้ทิ้ง อย่าปล่อยให้เน่าบูดเสีย
        5. มีน้ำสะอาดให้ไก่กินตลอดเวลา
        6. ถ้ามีไก่พื้นเมืองป่วยไม่มากนักให้กำจัดเสีย และจัดการเผาหรือฝังให้เรียบร้อย จะช่วยป้องกันโรคได้เป็นอย่างดี
        7. อย่าทิ้งซากไก่พื้นเมืองที่เป็นโรคลงแหล่งน้ำเป็นอันขาดเพราะเชื้อโรคจะแพร่ระบาดได้
        8. ไก่พื้นเมืองที่ซื้อมาใหม่ ควรแยกเลี้ยงไว้ต่างหาก โดยกักขังไว้ประมาณ 15 วัน หากไม่เป็นโรคจึงนำมาเลี้ยงในบริเวณเดียวกันได้
        9. เมื่อมีโรคระบาดไก่พื้นเมืองเกิดขึ้น ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองไม่สามารถจะดูแลหรือป้องกันรักษาเองได้ ควรปรึกษาผู้รู้   

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา