ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงเป็ดพันธุ์ปักกิ่ง

โดย : นายเชษฐา แข็งขัน วันที่ : 2017-03-28-14:07:03

ที่อยู่ : 34 หมู่ที่ 6 ตำบลโนนแดง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เป็ดพันธุ์เนื้อเป็นเป็ดที่เลี้ยงง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเหมือนการเลี้ยงไก่ สามารถใช้แรงงานที่มีในครอบครัว และเนื่องจากเป็ดพันธุ์เนื้อมีการเจริญเติบโตเร็ว ทำให้สามารถเลี้ยงได้ผลตอบแทนในระยะเวลาอันสั้น ผู้บริโภคนิยมบริโภคเนื้อเป็ด และนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด เกษตรกรสามารถประกอบเป็นอาชีพ ได้ทั้งอาชีพเสริมและเป็นอาชีพหลัก

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายมีประสบการณ์จริงในการเลี้ยงเป็ดเพื่อจำหน่าย

2. เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนเป้าหมาย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

1. เครื่องกกลูกเป็ด ลูกเป็ดเมื่อยังเล็กอยู่ไม่สามารถสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกายได้เพียงพอ เมื่ออยู่ในสภาพ อากาศเย็นโดยเฉพาะในเวลากลางคืนหรือตอนเช้า ถ้าปล่อยไว้เช่นนี้นานๆ ลูกเป็ดจะตายหรือแคระ แกร็นได้ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องมีเครื่องกกเพื่อให้ลูกเป็ดได้รับความอบอุ่นเพียงพอ การกกลูกเป็ด สามารถท้าได้ 2 วิธี คือ กกโดยใช้แม่เป็ดกก และกกโดยใช้เครื่องกก

2. อุปกรณ์ให้อาหาร อุปกรณ์ให้อาหารเป็ดควรท้าเป็นรางจะได้ผลดีกว่าการใช้ถังอาหารเช่นเดียวกับที่ใช้ในการเลี้ยง ไก่ เนื่องจากเป็ดเป็นสัตว์ปีกที่หากินตามแหล่งน้้า ปากเป็ดจึงออกแบบมาให้เหมาะสมกับการกินอาหาร ในลักษณะกรองของแข็งจากนั้น ดังนั้น พฤติกรรมการกินอาหารของเป็ดจะไม่ใช้วิธีจิกแล้วกลืนกินแบบ ไก่ แต่จะกินอาหารเข้าปากก่อนแล้วจึงค่อยยกหัวขึ้นเพื่อกลืนอาหารโดยใช้ลิ้นดันเข้าไป จึงท้าให้อาหาร บางส่วนร่วงหล่นออกจากปาก ดังนั้น การให้อาหารเป็ดจึงควรใช้อุปกรณ์ให้น้้าแบบรางจะช่วยให้อาหาร หกหล่นจากปากสู่พื้นน้อยกว่าการให้แบบถังอาหาร รางอาหารส้าหรับเป็ดมีหลายรูปแบบ เช่น ท้าเป็น รางไม้กึ่งอัตโนมัติ รางไม้รูปตัววี หรือรูปตัวยู หรืออาจจะใช้รางรถยนต์ผ่าซีกก็ได้

3. อุปกรณ์ให้น้้า เนื่องจากเป็ดเป็นสัตว์ที่หากินตามแหล่งน้้า ดังนั้น นอกจากเป็ดจะดื่มน้้าแล้วก็ยังมีนิสัยชอบเล่น น้้าอีกด้วย จึงท้าให้สิ้นเปลืองน้้ามาก ถ้าหากเราใช้กระปุกน้้าเช่นเดียวกับที่ใช้เลี้ยงไก่ก็อาจจะสิ้นเปลือง แรงงานมากในการเติมน้้า ดังนั้น การเลี้ยงเป็ดจึงนิยมใช้อุปกรณ์ให้น้้าแบบรางอัตโนมัติ โดยอาจจะใช้ ท่อน้้าขนาดใหญ่ผ่าซีกแล้วใช้ปูนซีเมนต์ปิดหัวท้าย ด้านหนึ่งติดวาล์วลูกลอยเพื่อควบคุมระดับน้้าในราง หรืออาจจะก่อปูนท้าเป็นรางน้้าไว้ด้านหนึ่งของโรงเรือนเพื่อให้เป็ดได้กินและเล่นน้้าด้วยก็ได้ น้้าที่ล้น ออกมาก็ปล่อยให้ไหลออกไปนอกโรงเรือน รางน้้าควรจะวางให้ห่างจากรางอาหารพอควร เพื่อบังคับให้เป็ดได้เดินไปกินน้้าและอาหารจะ ช่วยให้เป็ดได้ออกก้าลังกายและช่วยลดการการสูญเสียอาหาร เนื่องจากเมื่อเป็ดกินอาหารก็จะกินจนเต็ม ปากแล้วจึงค่อยกลืนลงคอ ถ้าหากอุปกรณ์ให้อาหารอยู่ใกล้อุปกรณ์ให้น้้าเมื่อกินอาหารอยู่ในปากเป็ดกจะเดินไปกินน้้าทันทีจะท้าให้อาหารที่ยังค้างอยู่ในปากตกลงไปในน้้าท้าให้สิ้นเปลืองอาหารและท้าให้น้้า สกปรกเร็วขึ้น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลี้ยงลูกเป็ด 0-2 สัปดาห์

1.   การเตรียมโรงเรือนสำหรับลูกเป็ด 0-2 สัปดาห์

 1.1  การทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ที่ใช้ สำหรับลูกเป็ดระยะแรก โดยการล้างน้ำและนำออกตากแดด การเตรียมกรงกก จะต้องเตรียมล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และเปลี่ยนวัสดุรองพื้นใหม่ทุกครั้งที่นำเป็ดเข้า

1.2  การให้น้ำสะอาด ในระยะแรกที่ลูกเป็ดมาถึงฟาร์ม น้ำที่เตรียมไว้ควรเป็นน้ำสะอาด

1.3  โรงเรือนและอุปกรณ์ ต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าได้แก่

                - โรงเรือนที่ใช้กกลูกเป็ด ควรป้องกันลมและฝนได้ พร้อมที่จะต้องป้องกันสัตว์ต่าง ๆ ที่เป็นศัตรูและเป็นพาหนะนำเชื้อโรคมาสู่เป็ด เช่น สุนัข แมว หนู นก ต่าง ๆ

1.4   ลงบันทึกในใบรายงานการเตรียมโรงเรือน

2.  การกกลูกเป็ด

2.1  การกกควรแบ่งลูกเป็ดกรง ๆ ละ 60  ตัว บนกรงกกขนาด  110 x  130  ซม.  

2.2  แหล่งความร้อนใช้หลอดไฟฟ้า 100  วัตต์ 1  หลอด / ลูกเป็ด 60  ตัว  ในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวัน ให้ใช้แสงธรรมชาติ

3.  การให้น้ำและอาหารลูกเป็ด

     ในระยะเวลา 2 วันแรก ควรให้อาหารสำหรับเป็ดแรกเกิด - 3 สัปดาห์ ใส่ภาชนะแบนๆ มีขอบเตี้ย ๆ และมีน้ำสะอาดวางให้กิน น้ำควรเป็นน้ำสะอาดปราศจากคลอรีน ภาชนะใส่น้ำควรล้างทำความสะอาดทุก ๆ วัน วันละ 2 ครั้ง

4.  สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อลูกเป็ดมาถึงฟาร์ม

 เมื่อลูกเป็ดมาถึงและนำลูกเป็ดออกวางในกรงกก ควรสำรวจดูความแข็งแรง ถ้าตัวไหนอ่อนแอก็ให้แยกเลี้ยงต่างหาก ทันทีที่ปล่อยลูกเป็ดลงพื้นของกรงกก สิ่งแรกที่ควรสอนลูกเป็ด คือ ให้ลูกเป็ดกินน้ำและต้องให้กินน้ำก่อน 2-3 ชั่วโมง  เมื่อเห็นตัวไหนกินน้ำไม่เป็นควรจะจับปากลูกเป็ดจุ่มลงในน้ำ เพื่อให้ลูกเป็ดเรียนรู้

การเลี้ยงเป็ด 6 สัปดาห์ ขึ้นไป

     เมื่อลูกเป็ดระยะนี้จะเจริญเติบโตเต็มที่โดยเป็ดเพศเมียจะเจริญเติบโตเต็มที่ ช่วงระยะเวลา  8 สัปดาห์ และเป็ดเพศผู้จะเจริญเติบโตเต็มที่ ช่วงระยะเวลา  10  สัปดาห์ การเลี้ยงเป็ดระยะช่วงเวลา 6  สัปดาห์ขึ้นไปนี้มีข้อปฏิบัติดังนี้

1.  การให้อาหาร  จะใช้อาหารที่ใช้สำหรับเลี้ยงดูเป็ดช่วงระยะเวลา 6  สัปดาห์ขึ้นไป การให้อาหารช่วงระยะเวลานี้ต้องหมั่นตรวจสอบความเพียงพอสำหรับเป็ดในกินอาหาร พร้อมทั้งเกลี่ยอาหารให้กระจายสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้เป็ดได้รับอาหารในปริมาณที่เท่า ๆ กัน น้ำหนักเป็ดสม่ำเสมอทั้งฝูงและเป็ดจะได้มีความสมบูรณ์เต็มที่

2.  การให้น้ำ ต้องสะอาด ควรทำความสะอาดรางน้ำถ้ามีตะไคร่น้ำ ควรทำความสะอาดให้เรียบร้อย และหมั่นตรวจสอบดูว่ามีอาหารตกค้างรางน้ำหรือไม่ เพราะจะทำให้น้ำเสียได้ง่าย

3.  หมั่นตรวจสอบรอบ ๆ โรงเรือน    อย่าให้หนู แมว หมา มาบริเวณโรงเรือนเลี้ยงเป็ด

ข้อพึงระวัง ->

1) โรงเรือนและอุปกรณ์โรงเรือนที่ใช้เลี้ยงเป็ดควรทำด้วยไม้หรือวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นหลังคามุงด้วย จาก หญ้าคาหรือแฝกโดยพื้นที่ 1 ตารางเมตร จะเลี้ยงเป็ดได้ 4 ตัว ลักษณะโรงเรือนตั้งอยู่ในทิศ ตะวันออก – ตก ต้องมีลานสำหรับปล่อยเลี้ยงเป็ด หรือเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ล้อมด้วยรั้วที่ทำ จากอวนหรือตาข่ายที่สามารถป้องกันศัตรูเป็ดได้ ภายในโรงเรือนต้องมีรางน้ำ รางอาหาร ให้ เพียงพอกับจำนวนเป็ดที่เลี้ยง

2) การจัดการเลี้ยงดู การเลี้ยงเป็ดเนื้อจะเริ่มโดยการซื้อลูกเป็ดมาเลี้ยง ควรเลือกซื้อจากฟาร์ม หรือ บริษัทที่เชื่อถือได้ ในระยะลูกเป็ดเป็นระยะสำคัญที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ หากเลี้ยงลูกเป็ดได้รอดมา เท่าไร ก็จะทำให้กำไรมากตามไปด้วย ช่วงที่มีความสำคัญมากก็คือ 7 วันแรก สิ่งที่ควรปฏิบัติ คือ การกกลูกเป็ดด้วยเครื่องกกหรือหลอดไฟฟ้า ต้องหมั่นตรวจสอบความร้อนในการกกให้พอเหมาะ กับลูกเป็ดตลอดเวลาในช่วงฤดูร้อน

3) ควรระวังเรื่องอากาศร้อนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกเป็ดแห้งและ ทำให้อัตราการพิการสูง การพิจารณาว่าลูกเป็ดได้รับความร้อนเพียงพอหรือไม่ ให้สังเกตการกระจาย ตัวของลูกเป็ดใต้เครื่องกกเป็นหลัก ควรมีน้ำสะอาดและอาหารให้กินตลอดเวลา

4) ต้องระวังให้อาหารมีโภชนะครบถ้วนตามความต้องการของเป็ด ตลอดการเลี้ยงดูจะต้องหมั่นตรวจสุขภาพของเป็ดอย่างสม่ำเสมอ

5) จะต้องทำวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญในเป็ดตามโปรแกรมที่กำหนดไว้

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา