ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ทำน้ำหมักจากเศษปลา

โดย : นางสาวรุ่งนภา เรืองพิมาย วันที่ : 2017-03-28-12:22:22

ที่อยู่ : 59/2 บ้านวังม่วง หมู่ 3 ตำบลธารปราสาท

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ที่บ้านทำประมงน้ำจืดเลี้ยงปลานิลจิตรดาในบ่อดินในกระชัง มีสมาชิกรวม 55 ครัวเรือน/ราย มีพ่อค้ามารับซื้อปลาสดไปขายวันละ 3-4 ตันต่อวัน บางครั้งกลุ่มได้แปรรูปปลา และจะมีเศษปลาเหลือทิ้งทั่วไปทำให้เน่าเหม็น มีเจ้าหน้าทีมาแนะนำการทำน้ำหมักชีวภาพโดยใช้เศษปลา จึงได้รวมกลุ่มกันทำได้ผลนำไปใช้แก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย นำไปใส่ที่ไร่ที่นาก็ได้ผลผลิตสูงขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

ลดต้นทุนการผลิต

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เศษปลา  12 กิโลกรัม (ปลาสด หรือเศษอาหารแล้วแต่จะหาได้),  กากน้ำตาล     8 กิโลกรัม,  น้ำ EM   2 ลิตร

เศษปลา     12 กิโลกรัม (ปลาสด หรือเศษอาหารแล้วแต่จะหาได้)

กากน้ำตาล   8 กิโลกรัม

น้ำ EM       2 ลิตร 

ถังขนาด    30 ลิตรแบบมีฝาปิด

กระชอนหรือผ้าขาวบาง (ใช้เพื่อจะตักหรือกรองเศษปลาออกตอนหมักครบระยะเวลา)

อุปกรณ์ ->

ถังขนาด  30 ลิตรแบบมีฝาปิด, กระชอนหรือผ้าขาวบาง (ใช้เพื่อจะตักหรือกรองเศษปลาออกตอนหมักครบระยะเวลา)

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมเศษปลาที่หามาได้ และถังให้พร้อม, ขั้นตอนที่ 2 ตั้งถังให้พร้อม เพราะเมื่อเราหมักเสร็จถังจะหนักมาก ทำให้เคลื่อนย้ายลำบาก, ขั้นตอนที่ 3 เตรียมกากน้ำตาล 8 กิโลกรัม (ผมใช้วิธีเทใส่ถังแล้วชั่งเอา โดย 1 ลิตร = 1 กิโลกรัม), ขั้นตอนที่ 4 น้ำหมัก EM 2 ลิตร, ขั้นตอนที่ 5 เท EM ลงกะละมังที่   เตรียมไว้} ขั้นตอนที่ 6 เทกากน้ำตาลลงตาม พร้อมกับใช้ไม้คนให้กากน้ำตาลละลาย, ขั้นตอนที่ 7 นำเศษปลาที่ได้มาใส่ถัง, ขั้นตอนที่ 8 เท EM และกากน้ำตาลที่เตรียมไว้ลงตาม, ขั้นตอนที่ 9 คนให้เข้ากัน สังเกตจะสีที่เปลี่ยนเกิดจากกากน้ำตาลที่มีสีค่อนข้างแดง, ขั้นตอนที่ 10 ปิดฝาให้สนิท

ข้อพึงระวัง ->

การหมักควรเหลือพื้นที่ประมาณ 30% ของถังไว้ เพราะเมื่อหมักจะเกิดแก๊สและดันเศษปลาขึ้นมา

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา