ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงนกกระทา

โดย : นายเทียมใจ พลดงนอก วันที่ : 2017-03-27-13:34:54

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๙ หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองตาดใหญ่ อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชน  กระทรวงมหาดไทย ได้จัดฝึกอบรมโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับครัวเรือนชุมชน โครงการส่งเสริมการเลี้ยงนกกระทาเนื้อ นกกระทาไข่ จึงเป็นโครงการที่ผ่านการคัดเลือกจากเวทีประชาคม แรงบันดาลใจมาจากการได้ศึกษาดูงานจากผู้ประสบผลสำเร็จ เหตุผลเพื่อให้เกิดอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและเป็นแหล่งศึกษาดูงาน พัฒนาอาชีพ ของหมู่บ้าน / ชุมชนต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อใช้เป็นแหล่งอาหาร ที่ปลอดภัยในชุมชน และเป็นการพัฒนาอาชีพนอกภาคเกษตรแบบยั่งยืน และมีรายได้ในหมู่บ้าน/ชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อาหารที่หาได้ในพื้นที่ เช่น รำ  ปลายข้าว  เศษผัก    

อุปกรณ์ ->

การเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ต่าง ๆ

โรงเรือนเลี้ยงนกกระทาควรวางรูปให้สะดวกแก่การเข้าปฏิบัติงานดูแลและการรักษาความสะอาด ตัวโรงเรือนควรสร้างด้วยวัสดุที่สะอาดรักษาความสะอาดได้ง่าย ประตูเข้าออกควรปิดให้สนิท ในการเลี้ยงนกกระทาเพื่อเอาไข่ ถ้าเลี้ยงแบบกรงซ้อนหลายชั้น โรงเรือนต้องมีเพดานสูงพอสมควร สิ่งสำคัญที่สุดต้องอย่าให้มีรูหรือช่องทางที่นก หนู ที่เป็นอันตรายเข้าไปได้ ฝาโรงเรือนอาจเป็นฝาทึบ หรืออาจใช้ลวดตาข่ายเล็กกันนก หนู ศัตรู (ควรใช้ตาข่ายขนาด 1/2 – 3/4 นิ้ว หรือมุ้งลวด)

อุปกรณ์ที่จำเป็นในการเลี้ยงนกกระทา    

1. เครื่องกก การเลี้ยงนกกระทาสามารถทาได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ การเลี้ยงบนพื้นที่ปูทับด้วยวัสดุรองพื้น เช่น แกลบ (เปลือกข้าว) หรือเปลือกถั่ว หนาประมาณ 2.5 เซนติเมตร ในช่วงแรกของการกกจะต้องใช้ประสอบป่าน หรือกระดาษผิวด้านปูรองพื้น ล้อมรอบด้วยแผงกันกกซึ่งอาจจะทาด้วยไม้ไผ่สาน ตาข่าย หรือสังกะสีให้มีความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ล้อมรอบกกเอาไว้
เนื่องจากลูกนกกระทาแรกเกิดจะไม่สามารถผลิตความร้อนเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายได้ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องได้รับความอบอุ่นจากเครื่องกก ซึ่งอาจจะใช้หลอดไฟหรืออาจจะใช้เครื่องกกแก๊สก็ได้ ติดตั้งไว้ตรงส่วนกลางของวงล้อมกก วงล้อมกกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 90 เซนติเมตรสามารถกกลูกนกได้ 150 ตัว และไม่ควรกกลูกนกกระทาในกกเดียวกันเกิน 300 ตัว ถ้าหากใช้หลอดไฟในการกกจะต้องคำนวณจำนวนวัตต์ที่ใช้ โดยประมาณให้ใช้หลอดไฟ 1 วัตต์/ลูกนก 1 ตัว ในช่วงสัปดาห์แรกจะต้องมีการกกตลอด 24 ชั่วโมง สัปดาห์ที่ 2 จะทำการกกเฉพาะตอนกลางคืนและสัปดาห์ที่ 3 ก็ไม่จำเป็นจะต้องกก แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวก็อาจจะกกลูกนกจนกระทั่งอายุ 3 สัปดาห์ก็ได้
กรงกก สำหรับลูกนกซึ่งเพิ่งฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ ต้องการความอบอุ่นเช่นเดียวกับลูกไก่ ซึ่งจำเป็นต้องให้ความอบอุ่นแก่ลูกนก การให้ความอบอุ่นอาจจะใช้หลอดไฟชนิดเผาไส้หรือเครื่องกกแก๊สก็ได้
ขนาดของกรงกกลูกนก ขนาดกว้าง 90 เซนติเมตร ยาว 1.50 เมตร สูง 40-50 เซนติเมตร ใช้กกลูกนกอายุ 1-20 วัน ได้ประมาณ 250-300 ตัว ด้านข้างของกรงควรจะปิดทึบ ด้านบนทำเป็นฝาบุด้วยลวดตาข่ายยกเปิดปิดได้ ส่วนพื้นกรงใช้ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมขนาด 1 เซนติเมตร

2. อุปกรณ์ให้อาหาร สำหรับลูกนกควรใช้ถาดอาหารทำเองให้มีขอบสูงขึ้นมาประมาณ 1-2 เซนติเมตร หรืออาจจะใช้รางอาหารสำหรับให้ลูกไก่ก็ได้ ในช่วง 3 วันแรกควรจะโรยอาหารลงบนพื้นที่ปูด้วยกระดาษหรือกระสอบป่านเพื่อให้นกได้รู้จักการกินอาหารได้เร็วขึ้น
อุปกรณ์ให้อาหารสาหรับนกใหญ่ ควรเป็นรางอาหารที่ตรงขอบด้านในเพื่อป้องกันการคุ้ยเขี่ยอาหารให้หกกระเด็นออกมานอกราง ซึ่งจะตั้งไว้ภายในกรงหรือแขวนอยู่ด้านนอกกรงก็ได้
3. อุปกรณ์ให้น้ำ สาหรับลูกนกให้ใช้อุปกรณ์ให้น้ำลูกไก่แบบขวดคว่าขนาดเล็ก และใส่ก้อนกรวดเล็กๆ ไว้ในจานน้ำด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกนกตกน้ำ
ส่วนนกใหญ่ หรือลูกนกอายุเกิน 2-3 สัปดาห์แล้ว ใช้อุปกรณ์การให้น้ำลูกไก่แบบขวดคว่ำไม่ต้องใส่ก้อนกรวดหากให้น้าภายในกรง แต่ถ้าให้น้ำภายนอกกรงก็ใช้รางน้ำแขวนไว้ด้านนอกกรงเช่นเดียวกับรางอาหาร หรือจะใช้ขันน้ำก็ได้
4. เครื่องตัดปากนก เมื่อลูกนกมีอายุประมาณ 30 วัน ก่อนที่จะแยกไปเลี้ยงในกรงนกใหญ่ ควรจะตัดปากเสียก่อน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้นกจิกก้นกัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้นกตายได้ วิธีการตัดปากนกกระทาทำเช่นเดียวกับการตัดปากไก่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กรมการพัฒนาชุมชน อบรมให้ความรู้วิทยากรปราชญ์ชุมชนคือ ครู ใหญ่ของหมู่บ้าน และมีการคัดเลือกเพื่อขยายผลทีมวิทยาปราชญ์ (ครูน้อย อีก ๔ คน) โดยให้ทีมวิทยากรปราชญ์สัมมาชีพ ๑ คนรับผิดชอบ ครัวเรือนเป้าหมาย ๔ ครัวเรือน ซึ่งจะมีครัวเรือนเป้าหมายสัมมาชีพรวมเป็น ๒๐ ครัวเรือน หลังจากคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพครบ ๒๐ ครัวเรือนมีการประชุมคัดเลือกเพื่อกำหนดโครงการสาธิตและฝึกปฎิบัติอาชีพแก่ครัวเรือน โดยได้การสนับสนุนวัสดุในการสาธิตหมู่บ้านสัมมาชีพละ ๑๖,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นหกพันบาทถ้วน) ซึ่งครัวเรือนสัมมาชีพบ้านหนองตาดใหญ่ เสนอโครงการส่งเสริมการเลี้ยงนกกระทาเนื้อ นกกระทาไข่ และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกันของสมาชิกครัวเรือนสัมมาชีพ

การเลี้ยงนกไข่

การเลือกดูเพศตัวเมียให้ไข่สามารถดูได้เมื่อนกอายุ 15 วัน คือในช่วงอยู่ในกรงนกรุ่น ตัวเมียจะเห็นขนใต้คางเป็นสีขาว ตัวผู้ขนใต้คางจะเป็นสีแดง การเลี้ยงนกไข่นั้นจะเลี้ยงในกรงขนาด 40 * 40 เซนติเมตร ต่อนก 7 ตัว หรือถ้าอากาศร้อนก็ควรลดเหลือ 6 ตัว เลี้ยงไปอีกประมาณ 10 วัน นกจึงเริ่มให้ไข่ วิธีการเลี้ยงนกไข่มีขั้นตอนต้องดูแล 3 ขั้นตอนคือ

ขั้นตอนแรก การให้อาหารและน้ำ โดยน้ำจะให้ไว้ในรางตลอด ส่วนอาหารจะให้วันละ 2 ครั้งคือ ตอนสาย ๆ และบ่าย ๆ อาหารที่ให้จะเป็นอาหารที่ใช้เลี้ยงนกกระทาโดยเฉพาะก็ได้หรืออาจจะเป็นสูตรอาหารที่คิดขึ้นเองโดยเน้นโปรตีนเป็นหลัก

ขั้นตอนที่สอง การทำความสะอาดรางน้ำและกรงนก ถ้าหากกรงนกไม่เปื้อนอาหารนั้นก็จะไม่สกปรกมากจึงไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดประจำ แต่รางน้ำจำเป็นต้องทำความสะอาดทุกวัน เพราะถ้าสกปรกอาจทำให้นกเป็นโรคและติดเชื้อได้ง่าย การทำความสะอาดอาจติดตั้งเป็นระบบปั๊มน้ำไว้ แล้วเปิดน้ำไปตามรางใช้แปรงถูรางน้ำ ปล่อยน้ำล้างให้สะอาด วิธีนี้ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาถอดรางน้ำออกมาล้าง ส่วนตาข่ายที่ใช้ทำกรงต้องถอดออกไปทำความสะอาดนำไปขัดล้างแค่เพียง 2 ปีต่อครั้ง

ขั้นตอนสุดท้าย การเก็บไข่เวลาที่ใช้เก็บไข่ควรเก็บช่วงเย็นประมาณ 18.30 – 19.00 น. แล้วเตรียมใส่ถุงส่งให้ลูกค้าในวันรุ่งขึ้น หากมีไข่หลังจากเก็บไปแล้วก็จะนำไปรวมกันวันต่อไป ควรออกแบบกรงให้สะดวกต่อการเก็บไข่โดยให้ไข่ไหลเทออกมาที่รางด้านนอกกรง ถ้าหากมีไข่ติดอยู่ใต้กรงให้ใช้ไม้เขี่ยออกมาเบา ๆ ไข่ที่เก็บได้แล้วต้องรีบนำไปขาย เพราะอายุของไข่นกสด ๆ อยู่ได้ประมาณ 10 วันเท่านั้น นก 7 ตัว ควรจะให้ไข่ 4 – 5 ฟอง หากให้ต่ำกว่านี้ ต้องพยายามตรวจสอบว่านกตัวไหนไม่ให้ไข่ จะจับแยกออกมาเลี้ยงเป็นนกเนื้อแทน ปกตินกจะให้ไข่ประมาณ 8 – 9 เดือน และจะให้ไข่น้อยลงจนไม่ให้ไข่เลยเมื่ออายุ 10 – 12 เดือน จึงต้องปลดขายเป็นนกเนื้อ และทยอยเลี้ยงรุ่นใหม่หมุนเวียนกันไปตลอด

การกกและการเลี้ยงดูลูกนก
การเลี้ยงนกกระทาสามารถทำได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ การเลี้ยงบนพื้นที่ปูทับด้วยวัสดุรองพื้น เช่น แกลบ (เปลือกข้าว) หรือเปลือกถั่ว หนาประมาณ 2.5 เซนติเมตร ในช่วงแรกของการกกจะต้องใช้กระสอบป่าน หรือกระดาษผิวด้านปูรองพื้น ล้อมรอบด้วยแผงกั้นกกซึ่งอาจจะทาด้วยไม้ไผ่สาน ตาข่าย หรือสังกะสีให้มีความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ล้อมรอบกกเอาไว้
เนื่องจากลูกนกกระทาแรกเกิดจะไม่สามารถผลิตความร้อนเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายได้ ดังนั้น
จึงจำเป็นจะต้องได้รับความอบอุ่นจากเครื่องกก ซึ่งอาจจะใช้หลอดไฟหรืออาจจะใช้เครื่องกกแก๊สก็ได้ ติดตั้งไว้ตรงส่วนกลางของวงล้อมกก วงล้อมกกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 90 เซนติเมตรสามารถกกลูกนกได้ 150 ตัว และไม่ควรกกลูกนกกระทาในกกเดียวกันเกิน 300 ตัว ถ้าหากใช้หลอดไฟในการกกจะต้องคานวณจานวนวัตต์ที่ใช้ โดยประมาณให้ใช้หลอดไฟ 1 วัตต์/ลูกนก 1 ตัว ในช่วงสัปดาห์แรกจะต้องมีการกกตลอด 24 ชั่วโมง สัปดาห์ที่ 2 จะทำการกกเฉพาะตอนกลางคืนและสัปดาห์ที่ 3 ก็ไม่จาเป็นจะต้องกก แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวก็อาจจะกกลูกนกจนกระทั่งอายุ 3 สัปดาห์ก็ได้
กรงกก สาหรับลูกนกซึ่งเพิ่งฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ ต้องการความอบอุ่นเช่นเดียวกับลูกไก่ ซึ่งจำเป็นต้องให้ความอบอุ่นแก่ลูกนก การให้ความอบอุ่นอาจจะใช้หลอดไฟชนิดเผาไส้หรือเครื่องกกแก๊สก็ได้
ขนาดของกรงกกลูกนก ขนาดกว้าง 90 เซนติเมตร ยาว 1.50 เมตร สูง 40-50 เซนติเมตร ใช้กกลูกนกอายุ 1-20 วัน ได้ประมาณ 250-300 ตัว ด้านข้างของกรงควรจะปิดทึบ ด้านบนทำเป็นฝาบุด้วยลวดตาข่ายยกเปิดปิดได้ ส่วนพื้นกรงใช้ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมขนาด 1 เซนติเมตร
การให้น้ำ ใช้น้ำสะอาดใส่ในอุปกรณ์การให้น้ำแบบขวด และใส่ก้อนกรวดเล็กๆ ลงในจากน้ำด้วย ในระยะ 3-7 วันแรกควรละลายพวกปฏิชีวนะผสมในน้ำให้ลูกนกกิน จะช่วยให้นกเจริญเติบโตโตเร็วและแข็งแรง
การให้อาหาร ในช่วงที่ลูกนกยังเล็กอยู่อาจจะโปรยอาหารลงบนกระดาษเพื่อให้นกได้รู้จักการกินอาหารได้เร็วขึ้น ไม่ควรโปรยอาหารหรือวางรางอาหารไว้บริเวณใต้เครื่องกก หรือหลอดไฟ เพราะนกจะนอนทับอาหารไว้ทำให้นกตัวอื่นกินอาหารไม่ได้ เมื่อนกโตขึ้นอาจใช้รางอาหารเล็กๆ ใส่อาหารให้ลูกนกกินเช่นการให้อาหารลูกไก่เล็กก็ได้ น้ำจะต้องมีให้ลูกนกได้กินตลอดเวลา
เมื่อลูกนกอายุได้ 15 วัน ก็ย้ายไปเลี้ยงในกรงนกรุ่นหรือกรงเลี้ยงนกใหญ่ได้ ทั้งนี้เพราะว่าลูกนกในระยะนี้มีความแข็งแรงพอที่จะเหยียบพื้นกรงลวดตาข่ายได้ และมีขนขึ้นเต็มตัวแล้ว

การเลี้ยงนกกระทาเนื้อ
นกกระทาเนื้อก็คือ นกกระทาตัวผู้ที่ได้จากคัดแยกเพศออกจากนกตัวเมียในช่วงอายุ 3 สัปดาห์ถึง 1 เดือน หรือเป็นนกที่เหลือจากการคัดเลือกไว้ทาพันธุ์ หรืออาจเป็นนกกระทาตัวเมียที่คัดออกจากนกไข่แล้ว นกกระทาเหล่านี้เราจะนำมาเลี้ยงให้เกิดการสมบูรณ์และให้เนื้อมากขึ้น เพื่อจะได้นาไปขายเป็นนกเนื้อต่อไป การให้น้ำและอาหารจะต้องให้นกได้กินน้ำและอาหารอย่างเต็มที่ตามความต้องการ โดยจะให้อาหารวันละ 2-3 ครั้ง และให้น้ำใหม่วันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) อัตราการเจริญเติบโต การกินอาหารและประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารของนกกระทาเนื้อดังแสดงในตารางที่ 1
นกกระทาเนื้อสามารถจับขายได้เมื่ออายุประมาณ 5 สัปดาห์ โดยอาจจะขายในรูปของนกเป็นหรือนกกระทาชำแหละก็ได้
การเลี้ยงนกกระทาไข่
การเลี้ยงนกกระทาไข่เป็นการค้าในปัจจุบันนิยมเลี้ยงแบบขับกรงและวางกรงซ้อนกัน 4-5 ชั้น แต่ละชั้นจะห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร ช่องว่างระหว่างชั้นหรือด้านบนของพื้นหลังกรงก็จะใช้แผ่นสังกะสีแผ่นเรียบรองรับมูลนก การเลี้ยงแบบขังกรงนี้ในกรงแต่ละกรงจะต้องใช้ในอัตรา 5 ตัว/ตารางฟุต หรือ 180 ตารางเซนติเมตร/ตัว การเลี้ยงดูนกในกระทาไข่จะแตกต่างไปจากเลี้ยงดูนกกระทาในระยะอื่นๆ

อาหารนกกระทา
วัตถุดิบอาหารสำหรับนกกระทาเหมือนกับที่ใช้ในอาหารไก่ แต่ขนาดของเม็ดอาหารจะต้องละเอียดกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นก็ให้อาหารเม็ดบี้แตกสำหรับไก่ลูกไก่กระทงได้ นกกระทาต้องการอาหารที่มีโปรตีนและโภชนะชนิดอื่นสูงกว่าไก่กระทง ทั้งนี้เนื่องจากนกกระทามีอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าไก่กระทง ค่าความต้องการโภชนะสาหรับนกกระทาญี่ปุ่นแสดงใน
หลักปฏิบัติเพื่อให้การให้อาหารนกกระทาญี่ปุ่นมีประสิทธิภาพสูงสุด
1. นกกระทาสามารถกินอาหารป่นแห้ง เม็ดบี้แตก อาหารเปียกได้ แต่ปกติจะให้อาหารป่นแห้ง เนื่องจากต้นทุนในการจัดการและการเตรียมอาหารต่าที่สุด อาหารป่นเปียกจะเพิ่มการจัดการเนื่องจาก
จะต้องผสมน้ำในสัดส่วนที่พอเหมาะและจะต้องกะปริมาณอาหารที่ให้นกกินหมดพอดีในแต่ละวัน ส่วนอาหารเม็ดบี้แตกจะต้องเพิ่มต้นทุนในการอัดเม็ดอาหารและบี้ให้อาหารอัดเม็ดนั้นแตกเพื่อให้มีขนาดเม็ดพอเหมาะสาหรับการกินของนกกระทา
2. การผสมอาหารนกกระทาเล็กจะต้องบดวัตถุดิบอาหารให้ละเอียดเสียก่อน โดยเฉพาะอาหารสาหรับนกกระทาเล็ก
3. ควรให้อาหารทันทีที่ลูกนกมาถึง
4. จะต้องมีอาหารและน้ำให้นกกินตลอดเวลา
5. ในช่วง 2-3 วันแรกของการกก จะต้องให้อาหารให้เต็มรางอาหารและควรโรยอาหารบางส่วนลงบนพื้นที่ปูทับด้วยกระดาษด้วยเพื่อให้ลูกนกได้ฝึกกินอาหารได้เร็วขึ้น หลังจากนั้นจะใช้รางอาหารที่ปิดทับด้วยตาข่ายขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการคุ้ยเขี่ยของนก
6. รางอาหารสำหรับนกกระทาจะต้องออกแบบให้มีขนาดและรูปแบบที่เหมาะสมกับจำนวนนกที่เลี้ยงและขนาดของนกแต่ละช่วงอายุ เพื่อให้มีการสูญเสียอาหารน้อยที่สุด หลักในการออกแบบจะต้องป้องกันนกลงไปกินอาหารในรางและจะต้องป้องกันการคุ้ยเขี่ยอาหารของนกให้มากที่สุด
7. การกินอาหารของนกกระทาในช่วง 6 สัปดาห์แรกประมาณ 500 กรัม/ตัว หลังจากนั้นนก
กระทาจะกินอาหารประมาณ 25 กรัม/ตัว/วัน
8. ในช่วงฤดูร้อนนกกระทาจะกินอาหารน้อยลง จึงควรเพิ่มระดับโปรตีนและวิตามินในอาหารให้สูงขึ้นและควรให้อาหารในช่วงที่มีอากาศเย็นเพื่อกระตุ้นให้นกกินอาหารได้มากขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

การเลี้ยงนกกระทาสามารถทาได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ การเลี้ยงบนพื้นที่ปูทับด้วยวัสดุรองพื้น เช่น แกลบ (เปลือกข้าว) หรือเปลือกถั่ว หนาประมาณ 2.5 เซนติเมตร ในช่วงแรกของการกกจะต้องใช้ประสอบป่าน หรือกระดาษผิวด้านปูรองพื้น ล้อมรอบด้วยแผงกันกกซึ่งอาจจะทาด้วยไม้ไผ่สาน ตาข่าย หรือสังกะสีให้มีความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ล้อมรอบกกเอาไว้
เนื่องจากลูกนกกระทาแรกเกิดจะไม่สามารถผลิตความร้อนเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายได้ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องได้รับความอบอุ่นจากเครื่องกก ซึ่งอาจจะใช้หลอดไฟหรืออาจจะใช้เครื่องกกแก๊สก็ได้ ติดตั้งไว้ตรงส่วนกลางของวงล้อมกก วงล้อมกกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 90 เซนติเมตรสามารถกกลูกนกได้ 150 ตัว และไม่ควรกกลูกนกกระทาในกกเดียวกันเกิน 300 ตัว ถ้าหากใช้หลอดไฟในการกกจะต้องคำนวณจำนวนวัตต์ที่ใช้ โดยประมาณให้ใช้หลอดไฟ 1 วัตต์/ลูกนก 1 ตัว ในช่วงสัปดาห์แรกจะต้องมีการกกตลอด 24 ชั่วโมง สัปดาห์ที่ 2 จะทำการกกเฉพาะตอนกลางคืนและสัปดาห์ที่ 3 ก็ไม่จำเป็นจะต้องกก แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวก็อาจจะกกลูกนกจนกระทั่งอายุ 3 สัปดาห์ก็ได้
กรงกก สำหรับลูกนกซึ่งเพิ่งฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ ต้องการความอบอุ่นเช่นเดียวกับลูกไก่ ซึ่งจำเป็นต้องให้ความอบอุ่นแก่ลูกนก การให้ความอบอุ่นอาจจะใช้หลอดไฟชนิดเผาไส้หรือเครื่องกกแก๊สก็ได้
ขนาดของกรงกกลูกนก ขนาดกว้าง 90 เซนติเมตร ยาว 1.50 เมตร สูง 40-50 เซนติเมตร ใช้กกลูกนกอายุ 1-20 วัน ได้ประมาณ 250-300 ตัว ด้านข้างของกรงควรจะปิดทึบ ด้านบนทำเป็นฝาบุด้วยลวดตาข่ายยกเปิดปิดได้ ส่วนพื้นกรงใช้ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมขนาด 1 เซนติเมตร

อุปกรณ์ให้อาหาร สำหรับลูกนกควรใช้ถาดอาหารทำเองให้มีขอบสูงขึ้นมาประมาณ 1-2 เซนติเมตร หรืออาจจะใช้รางอาหารสำหรับให้ลูกไก่ก็ได้ ในช่วง 3 วันแรกควรจะโรยอาหารลงบนพื้นที่ปูด้วยกระดาษหรือกระสอบป่านเพื่อให้นกได้รู้จักการกินอาหารได้เร็วขึ้น
อุปกรณ์ให้อาหารสาหรับนกใหญ่ ควรเป็นรางอาหารที่ตรงขอบด้านในเพื่อป้องกันการคุ้ยเขี่ยอาหารให้หกกระเด็นออกมานอกราง ซึ่งจะตั้งไว้ภายในกรงหรือแขวนอยู่ด้านนอกกรงก็ได้

โรคและการป้องกัน
นกกระทามีความทนทานต่อโรคติดต่อมากกว่าไก่ อัตราการตายในระยะกกอาจสูงถึง 20-25% ถ้าหากมีการจัดการไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องของการให้ความอบอุ่นในการกก การกกที่หนาแน่นเกินไป หรือการใช้อุปกรณ์ให้น้ำและอาหารไม่เหมาะสม ถ้ามีการจัดการและการเลี้ยงดูที่ถูกต้องนกกระทาจะมีอัตราการตายตั้งแต่แรกเกิดจนถึงจับขายเป็นนกเนื้อประมาณ 8-10% การจัดการป้องกันโรคติดต่อเหมือนกับการเลี้ยงไก่ แต่การเลี้ยงนกกระทาไม่จำเป็นจะต้องทำวัคซีนเหมือนกับไก่กระทงและไก่ไข่

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา