ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าไหม

โดย : นางวรรณลัยรัตน์ ทศพร วันที่ : 2017-03-23-16:13:05

ที่อยู่ : 60 หมู่ที่ 3 ่ต.บ้านเหลื่อม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทอผ้าไหมมัดหมี่เกิดจากภูมิปัญญาของคนในชุมชน โดยมีจิตสำนึกทีจะสืบสานภูมิปัญญาของพรรพบุรุษ  จึงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มทอผ้าไหม  มีความสามัคคีกันในกลุ่ม  วัตถุดิบในการทอใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น  โดยเริ่มตั้งแต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม  การทอผ้าไหมเริ่มตั้งแต่ทอใช้เองในครัวเรือน  จึงถึงการทอเพื่อเป็นการสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้สมาชิกในครัวเรือน  อีกทั้งกลุ่มยังมีการสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าไหมให้แก่เยาวชนในท้องถิ่นด้วย

วัตถุประสงค์ ->

- ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 

- เป็นรายได้ของคนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัตถุดิบ

        ๑.  เส้นไหมยืน/พุ่ง

        ๒.  สีย้อม

        ๓.  ฟาง

        ๔.  ด่างฟอก/ล้าง

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์การเลี้ยงไหม

        - กระด้ง,  จ่อ, ผ้าถุงเก่า (คลุมกระด้งเลี้ยงไหม)

      อุปกรณ์การสาวไหม

        - หม้อ, ไม้สาวไหม, พวงสาวไหม, กระบุงใส่เส้นไหม

      อุปกรณ์การทอ

        - กี่, ฟืม, กระสวย, อัก, หลอดปั่นไหม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการเลี้ยงไหม

-  นำรังไหมมาฟักให้เป็นตัวอ่อน (ผีเสื้อ) ออกเป็นไข่ ใช้เวลาประมาณ ๑๐ วัน  พอได้

ประมาณ ๘ – ๑๐ วัน  จะออกเป็นตัวอ่อน  เลี้ยงได้ประมาณ ๕  วัน  จะนอนวัย ๑  อีก  ๓  วัน 

จะเป็นวัย ๒  อีก ๓ วัน  จะเป็นวัย ๓  จากวัย ๓ – วัย ๔  ใช้เวลาประมาณ ๖ วัน  จากวัย ๔ จน

ถึงวัยสุก (นอนใหญ่)  ใช้เวลา ๘ – ๑๐ วัน  จะได้รังไหม  และอีก ๓ วัน  นำรังไหมที่ได้และแก่ได้ที่  นำมาสาวให้ได้เส้นไหม

 

             ขั้นตอนการสาวไหม/ฟอกสีไหม

             ๑.  เตรียมอุปกรณ์  ได้แก่  หม้อต้ม  ไม้สาวไหม  พวงสาวไหม  กระบุง

             ๒.  ตั้งหม้อต้มน้ำให้เดือดประมาณ ๗๐ – ๘๐  องศา

             ๓.  นำรังไหมต้มในหม้อ สาวให้ได้เส้นไหมเปลือกนอก

             ๔.  ตักรังไหมที่สาวไหมเปลือกนอกออกแล้ววางพักไว้

             ๕.  นำรังไหมที่ได้จากขั้นตอนที่ ๔ มาสาวเพื่อให้ได้เส้นไหมขนาดเล็ก (ไหมน้อย)

๖.  ในช่วงเย็นจะได้เส้นไหมชั้นในสุด เรียกว่าไหมปากหม้อ

             ๗.  นำเส้นไหมที่ได้มาเรียงเรียกว่ากวักไหม  โดยการนำกระบุงที่บรรจุเส้นไหม  วางทับเส้นไหมด้วยทราย/มูลตัวหม่อน  แล้วกรอให้เป็นกำด้วยอุปกรณ์เล่งไหม

             ๘.  จากนั้นนำเส้นไหมที่ได้ไปต้มน้ำด่างที่เดือดจนกว่ากาวไหมจะละลายออกหมด  สัมผัสเส้นไหมจะไม่ลื่นและสีจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีขาว  แล้วนำไปกระตุกให้เส้นไหมยืดตรง

             ๙.  นำเส้นไหมไปฟอกสีแล้วนำมาพันเกลียวให้เส้นไหมกลม  และมีเนื้อแน่นโดยใช้ในปั่นไหม “เคล็ดลับถ้าอยากให้เส้นไหมมีเนื้อแน่นต้องใช้สายในตรึงพอปานกลาง

 

            ขั้นตอนการทอ

            ๑.  เตรียมเส้นไหมยืน  โดยนำเส้นไหมที่ได้เตรียมไว้มาจับให้ได้ความยาวตามที่ต้องการ และนำไปย้อมสี

            ๒.  การเตรียมเส้นไหมพุ่ง  นำเส้นไหมที่ฟอกเสร็จแล้วนำไปย้อมสีธรรมชาติ เช่น  แก่นขนุน  จะได้สีเหลือง  แก่นต้นเข(สีเหลือเข)  แก่นต้นลูกยอ (สีเหลือง)  ใบแก้ว (สีเขียวอ่อน)  มะเกลือ (สีดำ)   ดอกอัญชัน (สีม่วง) ฯลฯ ส่วนใหญ่สีธรรมชาติจะทอเป็นสีพื้น  ส่วนลายหมี่จะนำไปมัดตามลวดลายและย้อมด้วยสีเคมีผ้าไหมมัดหมี่จึงจะมีลวดลายที่สวยงาม

            ๓.  นำเส้นไหมที่ย้อมสีเรียบร้อยแล้วมาปั่นใส่หลอดปั่นไหม  นำไปทอด้วยกี่พื้นบ้าน

ข้อพึงระวัง ->

เทคนิค / เคล็ดลับในการผลิต

          การทอผ้าไหมมัดหมี่  มีขั้นตอนและระยะเวลาการทอ

นานพอสมควร  คนทอจะต้องมีความอดทนเป็นอย่างมาก 

ต้องมีสมาธิ  มีความละเอียด  ประณีต

          การเลี้ยงไหมต้องใช้ตัวไหมพันธุ์พื้นเมือง (ไหมเหลืองน้อย) 

จะทำให้ได้เส้นไหมที่นำไปทอแล้วผ้าจะนุ่ม  ทิ้งตัว  ซักแล้วจะเรียบ  เนื้อลื่น

          การทอจะทอด้วยมือ  ใช้กี่พื้นบ้าน  สอดทีละเส้นจะได้ลายมัดที่ที่เรียบเสมอกัน

          การฟอก  การย้อม  ต้องใช้ไฟที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ  คงที่

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา