ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เย็บผ้า

โดย : นางปราณี ภาแกดำ วันที่ : 2017-03-23-10:59:20

ที่อยู่ : 146 ม.4 ต.โคกกระเบื้อง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

จักรเย็บผ้า  เป็นเครื่องมือในการตัดเย็บที่สำคัญที่สุดและมีราคาแพงกว่าเครื่องมือตัดเย็บอื่น ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นจักรเย็บผ้าที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง  ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อจักรเย็บผ้าไว้ใช้ควรคำนึงถึงจุดประสงค์ในการใช้สอย

ส่วนประกอบของจักรเย็บผ้า

จักรเย็บผ้าประกอบขึ้นด้วยส่วนประกอบ  2  ส่วน  คือ  ส่วนหัวจักรและส่วนตัวจักร  ดังนี้

1. ส่วนประกอบของหัวจักร

หัวจักร  คือส่วนเครื่องจักรทั้งหมดที่ตั้งอยู่บนโต๊ะ  ส่วนนี้ประกอบด้วยเครื่อง

กลไกที่เกี่ยวกับการเย็บหลายชิ้นประกอบเข้าด้วยกัน  และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของการเย็บผ้าซึ่งมีส่วนต่าง ๆ  ที่เราควรรู้จักดังนี้

1. แกนหลอดด้าย  ติดอยู่ด้านบนของหัวจักร  สำหรับใส่หลอดด้าย

¨    ที่คล้องด้าย  สำหรับคล้องด้ายสอดด้ายที่ออกมาจากหลอดด้าย

¨    ที่บังคับด้านบนประกอบด้วยจานกลม  ๆ  2 อัน  สปริงและหัวเกลียวสำหรับหมุนบังคับด้ายบน  ให้ตึง  หรือหย่อนตามความต้องการ

¨    ที่คล้องด้ายที่ออกมาจากที่บังคับด้ายบนก่อนที่ด้ายจะผ่านสปริงกระตุกด้ายที่อยู่ด้านบน

¨    สปริงกระตุกด้าย  ทำหน้าที่กระตุกด้ายออกมาจากหลอดด้าย

¨    ห่วงเล็ก  สำหรับคล้องด้าย

¨    หมุดรัดเข็มจักร  สำหรับบังคับเข็มจักรให้แน่น

¨    เข็มจักร  ตีนผี  ที่ยกตีนผี

¨    ฟันจักรหรือฟันกระต่าย  สำหรับป้อนผ้าไปข้างหน้าหรือถอยหลัง

¨    ฝาเลื่อนหรือฝาครอบกระสวย  สำหรับปิดเปลกระสวยและเปิดเพื่อจะใส่กระสวยหรือเอากระสวยออก

¨    ที่บังคับฝีเข็ม  สำหรับบังคับฝีเข็มให้ถี่หรือห่างตามต้องการ

¨    ล้อประคับหรือวงล้อจักร  เป็นที่สำหรับทำให้เครื่องจักรตอนบนทำงาน

¨    ที่สำหรับกรอด้าย  หรือแกนกรอด้าย

¨    หมุดที่บังคับล้อ  หรือหมุดล้อบังคับ  อยู่ตรงกลางระหว่างล้อบังคับ

¨    มอเตอร์

2. ส่วนประกอบของตัวจักร

ตัวจักรประกอบด้วยส่วนต่าง  ๆ  ต่อไปนี้

2.1. ที่วางเท้า  หรือแผ่นวางเท้า  เพื่อให้วงล้อหมุน  ทำสายพานเดิน  มีลักษณะเป็นแผงเหล็ก สำหรับวางเท้าและแกนเหล็กต่อไปเชื่อมกับข้อเหวี่ยงเพื่อ หมุนวงล้อ

2.2. วงล้อ  มีหน้าที่ทำให้สายพานเดินไปหมุนวงล้อบังคับให้เครื่องจักรทำงาน

2.3. ขาจักร  เป็นโครงเหล็กสำหรับรองรับเครื่องจักรและโต๊ะที่ประกอบด้วย  ไม่มีฝาปิดบนส่วนของหัวจักร

3. การใช้จักร

ให้ศึกษาจากคู่มือการใช้จักรให้เข้าใจเสียก่อนเพราะจักรเย็บผ้าที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้  มีหลายแบบ  แต่ลักษณะการใช้งานใกล้เคียงกัน  และควรศึกษาในเรื่องต่อไปนี้ด้วย

 

 

 

3.1 การกรอด้าย

¨    คลายหมุดวงล้อจักรออกเพื่อให้ล้อฟรีเข็มจักรจะหยุดทำงาน

¨    ดึงด้ายออกจากหลอดด้ายผ่านไปที่บังคับด้ายขึ้นไปยังกระสวยเอาปลายเส้นด้ายพันในไส้กระสวย  2 – 3  รอบ

¨    ใส่กระสวยในแกนกรอด้าย

¨    กดที่บังคับลงในวงล้อจักรแล้วเดินจักรเมื่อด้ายเต็มไส้กระสวยปล่อยที่บังคับดึงไส้กระสวยออกขันที่บังคับฟรีให้แน่นเหมือนเดิม

3.2 การใส่กระสวยจักร

¨    ใส่ไส้กระสวยในกระโหลกกระสวย  โดยให้กระสวยหมุนจากซ้ายไปขวาดึงด้ายเข้าร่องปีกกระสวย

¨    ใส่กระโหลกกระสวยเข้าไปในร่องกระสวย

¨    ดึงแกนด้านบนกระโหลกกระสวยเพื่อไม่ให้กระสวยหลุดออก

¨    ใส่กระโหลกกระสวยเข้าในเปลกระสวยให้ตรงแกนพอดีกดให้แน่นทดลองหมุนวงล้อจักรดูว่ากระโหลกกระสวยเข้าไปในเปลกระสวยตรงรอยต่อหรือไม่ดึงด้ายให้ยาวพอประมาณ

3.3 วิธีใส่เข็ม

¨    หมุนวงล้อจักรเข้าหาตัวยกหลักเข็มให้สูงสุดคลายหมุดบังคับเข็มให้หลวม

¨    ใส่เข็มให้ถึงหมุดเข็มหันทางแบนเข้าข้างใน

¨    หมุนหมุดบังคับเข็มให้แน่น

3.4 วิธีร้อยด้าย

¨    ใส่หลอดด้ายลงในหลักด้าย

¨    ผ่านไปยังที่คล้องด้าย

¨    สอดลงไปยังที่บังคับด้ายบนแผ่นที่คล้องด้าย

¨    สอดขึ้นไปร้อยเข้าในสปริงกระตุกด้าย

¨    สอดลง  ผ่านช่องร้อยด้าย

¨    สอดลงไปยังลวดที่ติดกับที่บังคับเข็ม

¨    ร้อยด้ายเข้ารูเข็มจากด้านนอกเข้าด้านใน  ปล่อยปลายเส้นด้ายไว้  4 – 5  นิ้ว  หมุนวงล้อจักรให้ครบรอบดึงด้ายขึ้นมาเตรียมเย็บ

4.  การเย็บจักร

¨    สอดผ้าเข้าใต้ตีนผี  แล้วลดตีนผีลงทับผ้าไว้  มือซ้ายป้อนผ้า  มือขวาหมุนวงล้อจักรเข้าหาตัว

ใช้เท้าถีบจักร  ขณะลงมือป้อนผ้าตามกำลังจักร  อย่าดึงผ้าหรือป้อนผ้าเร็วเกินไป

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา