ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกแก้วมังกรในกระถาง

โดย : นายสุธีย์ กุมรัมย์ วันที่ : 2017-03-21-22:56:49

ที่อยู่ : 32 ม.11 บ้านพูนทรัพย์พัฒนา ต.สุขไพบูลย์ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในภาวะเศรษฐกิจผันผวน สินค้าราคาสูงขึ้น ทว่ารายได้ของประชาชนยังคงเท่าเดิม หลายคนบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าแย่มาก ค่าครองชีพสูงมาก รายได้ลดลงหรือเท่าเดิม ทุกคนก็ไม่ยอมท้อแท้ สู้กันต่อไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ โดยการมองหาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ไม่ปล่อยเวลาให้ว่างเปล่า โดยยึดคติประจำใจที่ว่า "อย่านอนตื่นสาย อย่าอายทำกิน อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยวาสนา" เพื่อเป็นสิ่งเตือนใจไม่ให้หมดหวัง อันนำไปสู่หนทางแห่งความสำเร็จ ม้จะรับราชการครู มีเงินเดือนประจำ ก็ยังมองหาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ด้วยการปลูกแก้วมังกรทองจำหน่ายในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง สร้างรายได้เป็นอย่างดี จนมีเกษตรกรที่สนใจเข้าศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

2.เพื่อให้คนในชุมชนพึ่งตนเองได้  ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง

3.ใช้ที่สาธารณประโยชน์ให้เกิดประโยชน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ปุ๋ยคอก

2.กิ่งพันธุ์

อุปกรณ์ ->

วัสดุ – อุปกรณ์ 
1.ท่อน้ำทิ้งข้างในกลวงหน้ากว้าง4นิ้วยาว1.3เมตร(หรือเสาไม้ก็ได้)
2.กระถางหน้ากว้าง 50 ซ.ม.
3.ค้างด้านบนอาจทำจากไม้หรือปูนเป็นรูป4เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง x ยาว 30 ซ.ม
4.ขุยมะพร้าว
5.ดิน
6.เชือกฟาง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 วิธีการปลูก
1.ใช้เสาตั้งเป็นหลักในกระถาง
2. ใส่ขุยมะพร้าวรองก้นกระถางเพื่อให้น้ำถ่ายเทได้ดีในอัตราส่วน1ใน3ของปริมาตร กระถางจากนั้นนำดินสำเร็จรูปผสมกับขุยมะพร้าวหรือแกลบดำใส่ลงไปในกระถางจน ถึงขอบกระถาง
3.นำต้นแก้วมังกรมาปลูกให้ชิดกับเสาแล้วใช้เชือกฟางมัดต้นแก้วมังกรให้ติด กับเสาไม่ต้อง(มัดให้แน่นมากควรผูกไว้จนกว่าต้นแก้วมังกรจะเจริญเติบโตจนพ้น หัวเสา
4.จากนั้นนำดินมากลบด้านบนของกระถางเป็นอันเสร็จ**ต้นแก้วมังกรเป็นสาม เหลี่ยมแต่จะมีอยู่ด้านหนึ่งที่เป็นด้านแบนดังนั้นเวลาผูกต้นแก้วมังกรให้ จับด้านแบนของต้นเข้ากับหลักเพราะว่าด้านแบนเป็นด้านที่จะออกราก

ข้อพึงระวัง ->

ให้รดน้ำเพียง 1 ครั้ง ภายใน 2 - 3 วัน และไม่ควรรดมากเกินไปเพราะอาจทำให้เป็นโรคโคนเน่าได้

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา