ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าไหม

โดย : นางปภาดา ยาวไธสง วันที่ : 2017-03-21-22:06:51

ที่อยู่ : 419 ม.12 บ้านเจริญผล ต.สุขไพบูลย์ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นำความสนใจด้านการทอผ้าของตนเองมาต่อยอด เริ่มหยิบจับทำอะไรใหม่ๆ ที่มีความแตกต่างในวงการผ้าไหมบ้านเรา ด้วยการผลิตกี่ทอผ้าขนาดเล็ก สามารถทอผ้าได้ง่ายขึ้น ทำให้การทอผ้าจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป 

วัตถุประสงค์ ->

ต่อยอดการสืบสานการทอผ้าไทย คนในชุมชนมีรายได้และอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไหม ฝ้าย

อุปกรณ์ ->

1. กระด้ง ใช้สำหรับใส่ตัวหนอนไหม
2. จ่อ ใช้สำหรับใส่หนอนไหมวัยแก่เพื่อเตรียมชักใย
3. ชั้นสำหรับวางกระด้ง เพื่อเตรียมไว้วางกระด้งพักตัวไหม
4. ผ้าคลุมกระด้ง ใช้คลุมตัวหนอนไหมเพื่อไม่ให้แมลงมาไข่
5. มีด ใช้สำหรับหั่นใบหม่อนให้หนอนไหมวัยอ่อน
6. ตะกร้าสำหรับเก็บใบหม่อน ใช้เก็บใบหม่อนมาให้หนอนไหมกิน
7. กระบะสำหรับฟักใบหม่อน ใช้สำหรับเก็บใบหม่อนไว้ให้ได้มากๆ เพื่อทยอยให้หนอนไหมกินโดยไม่ต้องเก็บบ่อยๆ
8. ที่ปัดแมลงวัน เพื่อใช้ไล่แมลงขณะที่ให้อาหารหนอนไหม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทอผ้าไหมลายสร้อยดอกหมาก
ไหมที่ใช้จะต้องเส้นเล็กสม่ำเสมอ การมัดหมี่ต้องกะลายให้สม่ำเสมอ ลักษณะ ของวงโคมเก้าต้องไม่มัดให้เป็นเหลี่ยม
วงดอกทั้งปอยหมี่ไม่ควรต่ำกว่า 40 ดอก (73 ลำ) เพื่อที่จะทำให้ลายละเอียดและสวยงาม โดยมีขั้นตอนของการมัดหมี่ ดังนี้
– มัดหมี่ตั้งโครงร่างของลาย (มัดเหลืองทอง)
– ย้อมสีเขียว แล้วโอบแลเงา
– นำไปกัดสีออกให้ไหมขาว แล้วมัดขวางตรงเชิงของลาย นำหมี่ไปย้อมสีแดงแล้วโอบสีแดง
– นำหมี่ที่โอบแล้วไปย้อมสีพื้นโดยใช้สีน้ำเงินย้อมทับสีแดงโดยไม่ต้องกัดสีออกจะได้สีพื้นสีม่วงเข้มเปลือกมังคุด
ทั้งนี้สีพื้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามใจชอบ

ลักษณะผ้าไหม ลายสร้อยดอกหมาก ที่ดี
1. ลายผ้า ต้องมีลายเล็กละเอียด ลวดลายสวยงามสม่ำเสมอตลอดทั้งผืน และลายไม่เขย่ง
2. สีผ้า สีสวยและสม่ำเสมอตลอดผืนไม่มีรอยด่าง
3. เส้นไหม เป็นไหมแม้เรียบเสมอทั้งผื่นด้วยด้ายพุ่งและด้ายยืน
4. พื้นผ้า มีความละเอียดเนื้อแน่น สม่ำเสมอตลอดมาทั้งผืนไม่มีรอยโปร่งบางเป็นตอน
สถานที่จำหน่ายผ้าไหม

ข้อพึงระวัง ->

    ศิลปะผ้าทอไทยอันมีประวัติยาวนานและมีความมั่งคั่งหลากหลาย ซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณจนทุกวันนี้ ตกอยู่ในมือของคนรุ่นเราและรุ่นหลังจะรักษาต่อไป หน่วยงานหลาย ๆ หน่วยงานทั้งของรัฐบาลและเอกชนต่างก็ช่วยกันดำเนินการรับสนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในเรื่องการศึกษา ส่งเสริมและพัฒนาศิลปะผ้าทอของไทย อย่างไรก็ตามเท่าที่ได้มีการศึกษา สำรวจปัญหาต่าง ๆ พบว่ายังมีปัญหาในการส่งเสริมและพัฒนาศิลปะการทอผ้าไทยอยู่ดังนี้

๑. ศิลปหัตถกรรมในหลาย ๆ ท้องถิ่นยังถูกละเลย การผลิตศิลปหัตถกรรมกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปไม่มีแหล่งรวมในบางท้องถิ่น

๒. ขาดการกระตุ้นหรือประกวดให้ผลิตผลงานที่มีคุณภาพมาก ๆ ขึ้น

๓. ผู้มีฝีมือเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอย่างอื่น

๔. ไม่รักษาคุณภาพให้สม่ำเสมอ เมื่อผ้าทอมือขายดีจะผลิตผ้าที่ด้อยฝีมือมาขายแทน ช่างทอก็มีคุณภาพด้อยลง และมีจำนวนน้อยลงเรื่อย ๆ

๕. ช่างฝีมือคุณภาพดีมักทำงานได้ช้าขายยาก เพราะต้องขายราคาแพงให้คุ้มกับเวลา หมดกำลังใจ ขาดการส่งเสริม ช่างทอฝีมือดี หลายคนยังไม่มีคนรู้จักและเห็นคุณค่า

๖. ช่างฝีมือขาดการแข่งขันทางความคิด

๗. การถ่ายทอดทำกันในวงจำกัด ขาดตัวผู้สืบทอดอย่างจริงจังและกว้างขวาง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา