ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกมะนาว

โดย : นางรัญจวน เคนนาดี วันที่ : 2017-04-03-12:10:14

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 33 บ้านจรุกเตย หมู่ที่ 4 ตำบลหนองฮี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มะนาวเป็นผลไม้ที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันของคนไทย เป็นพืชเศรษฐกิจที่รู้จักกันดีทั่วไปสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ให้ผลผลิตเร็วหลังจาก 1 ปีและสามารถให้ผลตลอดทั้งปีเป็นระยะ 3-5 ปีหรือมากกว่า และยังสามารถบังคับให้ออกผลในช่วงที่มะนาวมีราคาแพงได้อีกด้วย สามารถจำหน่ายผลผลิตมีรายได้ตลอดทั้งปีเช่นกัน  เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านอาชีพให้แก่ชุมชนและสามารถนำความรู้ไปพัฒนาประกอบอาชีพ อีกทั้งเรียนรู้วิธีขยายพันธ์มะนาวเพื่อเพิ่มปริมาณการปลูกได้ด้วยตนเอง และจะมีรายได้จากการจำหน่ายมะนาวและพันธ์มะนาวอีกทางหนึ่งด้วย

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นอาชีพเสริมรายได้ในครัวเรือนได้/เพื่อใช้ในการบริโภคในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

1.  พันธ์มะนาว
2.   สว่านเจาะรู
3.   ฝาจีบ (ฝาขวดน้ำอัดลม)/ก้อนหิน
4.   เชื้อเห็ดขอน เห็ดกระด้าง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมพื้นที่ปลูก
1. พื้นที่ลุ่ม เตรียมพื้นที่โดยการทำคันดินให้มีความกว้างประมาณ 6-8 เมตร ส่วนสูงให้สังเกตจากปริมาณน้ำที่เคยท่วมสูงโดยให้อยู่สูงกว่า แนวระดับน้ำท่วม 50 เซนติเมตร แทงร่องหรือซอยร่องทำประตูน้ำเพื่อ ระบายน้ำเข้าออก ขนาดร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร พื้นที่ร่องกว้าง 0.5-0.7 เมตร ใช้ระยะปลูก 5X5 เมตร
2. พื้นที่ดอน ควรไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช และทำให้ดินร่วนซุย ใช้ระยะปลูก 4 x 4 - 6 x 6 เมตร ทั้งนี้ขื้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน
มะนาวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ดินเหนียว ดินทราย แต่ถ้าต้องการจะปลูกมะนาวให้เจริญงอกงามดี มี ผลดกและคุณภาพดี ก็ควรจะปลูกในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนซุย มีการระบาย น้ำดี มีอินทรียวัตถุผสมอยู่มาก และควรเลือกพื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ
วิธีการปลูก
1. ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
2. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร
3. ผสมดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตเข้าด้วยกันในหลุมให้ สูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
4. ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
5. ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน
6. ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
7. กลบดินที่เหลือลงในหลุม
8. กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
9. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมพัดโยก
10. หาวัตถุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
11. รดน้ำให้โชก
12. ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด
การปฏิบัติดูแลรักษา
1. การให้น้ำ
ต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่ปลูกใหม่ๆ ควรให้น้ำวันละครั้งเป็นอย่างน้อย หลังจากปลูกประมาณ 15 วัน มะนาวสามารถตั้งตัวได้แล้ว ให้น้ำเดือนละ 2-3 ครั้ง และควรหา วัสดุมาคลุมดินบริเวณโคนต้น เพื่อช่วยรักษาความชื้น ควรเริ่มงดให้น้ำ ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม เป็นต้นไป จนถึงช่วงออกดอกเพื่อให้มะนาวสะสมอาหารให้สูงถึงระดับที่สามารถสร้างตาดอกได้
2. การใส่ปุ๋ย
2.1 หลังจากมะนาวอายุได้ 3-4 เดือน ควรใส่ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ประมาณต้นละ 0.5 กิโลกรัม กรณีใส่ปุ๋ยเคมีควรใส่หลังจาก พรวนดินกำจัดวัชพืชแล้ว
2.2 เมื่อมะนาวอายุ 1 ปี ให้ใส่ปุ๋ย ประมาณ ต้นละ 300 กรัม และเมื่อมะนาวอายุ 2 ปี ก็เพิ่มปริมาณปุ๋ยโดยใส่ปีละ 2 ครั้ง ๆ ละประมาณ 1 กิโลกรัม
2.3 ช่วงระยะก่อนออกดอกประมาณ 1-2 เดือน ให้ใส่ปุ๋ย เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะที่ยังไม่ออกดอก ในระยะเร่งการออกดอก ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ปริมาณที่ใช้ ขึ้นอยู่กับอายุของต้นพืช โดยใส่ในปริมาณครึ่งหนึ่งของอายุต้น
3. การกำจัดวัชพืช
การกำจัดวัชพืชในสวนมะนาวสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ถอน ถาง หรือใช้เครื่องตัดหญ้าแต่ต้องระวังอย่าให้เกิดบาดแผลตามโคนต้น หรือกระทบกระเทือนราก
4. การค้ำกิ่ง
เมื่อมะนาวใกล้จะผลิดอกออกผล ต้องมีการค้ำกิ่งให้กับต้นมะนาวด้วย เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักหรือฉีกขาดโดยเฉพาะในช่วงติดผล และยังช่วยลดความเสียหาย เนื่องจากโรคและแมลงได้ โดยวิธีการค้ำกิ่ง สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. การค้ำกิ่งโดยการใช้ไม้ไผ่ทำเป็นง่าม สอดเขัากับกิ่งมะนาว ให้ปลายอีกข้างหนึ่งวางตั้งรับน้ำหนักของกิ่งอยู่บนพื้นดิน แล้วใช้เชือกผูกมัดกิ่งไว้
2. การค้ำกิ่งแบบคอกหรือนั่งร้าน โดยเอาไม้มาทำเป็นนั่งร้านรูปสี่เหลี่ยนรอบๆ ต้นมะนาวเพื่อรองรับกิ่งใหญ่ ๆ ของมะนาวไว้ อาจทำเป็น 2-3 ชั้น แล้วให้กิ่งพาดอยู่ที่ชั้นใดก็ได้ ซึ่งวิธีนื้จะมั่นคงทนทาน และใชัประโยชน์ได้ดีกว่าวิธีแรก
5. การตัดแต่งกิ่ง
เพื่อให้มะนาวมีทรงพุ่มสวยและให้ผลดกปราศจากการทำลายของโรคและแมลง การตัดแต่งกิ่งควรทำหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยตัดกิ่งที่เป็นโรค กิ่งแห้ง กิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกให้หมด แล้วนำไปเผาทำลาย อย่าปล่อยทิ้งไว้ตามโคนต้น เพราะจะทำให้เป็นแหล่งสะสมโรคได้

ข้อพึงระวัง ->

วิธีกำจัดวัชพืชอีกวิธีหนึ่งที่นิยมคือการใช้สารเคมี โดยการใช้จะต้องระวัง อย่าให้สารพวกนี้ปลิวไปถูกใบมะนาวเพราะอาจเกิดอันตรายได้ เช่นทำให้ ใบไหม้เหลืองเป็นจุดๆ หรือไหม้ทั้งใบ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา