ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะเห็ดนางฟ้า

โดย : นายเจริญ หูมแพง วันที่ : 2017-04-03-11:55:39

ที่อยู่ : 63 บ้านนาเรียง หมู่ที่ 7 ตำบลกุตาไก้ อำเภอปลาปาก จ.นครพนม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากเป็นชุมชนที่อยู่ห่างไกล จึงเป็นเหตุผลของทีมสัมมาชีพโดยการเพาะปลูกเห็ดเพื่อบริโภคโปรตีน เป็นภูมิปัญญาที่เลียนแบบมาจากธรรมชาติ โดยการปลูกใช้โรงเรือนเป็นแหล่งผลิตใช้ถุงพลาสติกให้อาหารเลี้ยงเห็ดทำก้อนเชื้อเห็ด ด้วยการใช้ส่วนผสมตามองค์ประกอบจากนั้นจึงนำเชื้อเห็ดเศรษฐกิจที่ต้องการนำมาเพาะหยอดลงไปในรูที่เจาะและเพาะบ่มเส้นใยคล้ายกับการเพาะเห็ดทั่วไป จะได้ดอกเห็ดสดไว้เป็นแหล่งอาหารสำหรับบริโภคในครัวเรือนหรือประยุกต์เป็นอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่ม เพราะเป็นการลงทุนน้อยแต่รายได้งาม

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นอาชีพเสริมรายได้ในครัวเรือนได้/เพื่อใช้ในการบริโภคในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

– ขี้เลื่อยไม้ยางพารำแห้ง 100 กิโลกรัม
– รำละเอียด 5 กิโลกรัม
– ปูนขาว 1 กิโลกรัม
– ยิบซั่ม 2 กิโลกรัม
– ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
– ความชื้น (น้ำ ) 50 – 60 เปอร์เซ็นต์

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การผลิตหัวเชื้อบริสุทธิ์

2. การผลิตหัวเชื้อบนเมล็ดข้าวฟ่าง

3. การผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า

4. การบ่มเส้นใยเห็ดนางฟ้า

5. การเปิดดอกเห็ดและการดูแลรักษา

6. การผลิตหัวเชื้อบริสุทธิ์

คือ การนำเอาดอกเห็ดหรือสปอร์มาเพาะให้เห็ดเจริญขึ้น เป็นเส้นใย เพื่อใช้ขยายพันธุ์ไปทำ หัวเชื้อต่อไป โดยจะเลี้ยงเส้นใยเห็ดบนวุ้นPDA

– อุปกรณ์ที่จะใช้ในการแยกเชื้อเห็ด ประกอบด้วย เข็มเขี่ยเชื้อ ตะเกียงแอลกอฮอล์ และตู้เขี่ยเชื้อ เวลาใช้ก็ยกสิ่งของต่างๆ ที่ต้องการเข้าไปไว้ภายในแล้วปิดช่องเสียไม่ให้ลมพัดเข้าไป แต่ด้านบนของตู้ควรมีช่องให้อากาศหรือลมร้อนระบายออกได้เล็กน้อย ก่อนใช้งานจะต้องเช็ดตู้ฆ่าเชื้อภายในให้ทั่วด้วยแอลกอฮอล์

– การคัดเลือกดอกเห็ดมาทำพันธุ์ เลือกดอกเห็ดที่มีลักษณะสมบูรณ์ เป็นดอกที่โตแข็งแรง ดอกใหญ่ น้ำหนักดอกมาก เนื้อแน่น ก้านดอกมีลักษณะแข็งแรงหรือโคนต้นหนา อายุประมาณ 3 วัน หรือก่อนปล่อยสปอร์ 1 วัน ดอกเห็ดที่จะนำ มาแยกเชื้อนี้อย่าให้เปียกน้ำเป็นอันขาด ซึ่งถ้าเป็นดอกที่เพิ่งเก็บเอามาจากแปลงใหม่ๆ ยิ่งดี

ข้อพึงระวัง ->

การดูแลก้อนเชื้อในโรงบ่มนี้ นอกจากการรักษาความสะอาดตรวจสอบอุณหภูมิเพื่อ ควบคุมให้อุณหภูมิสม่ำเสมอหรือไม่ให้สูงเกินกว่า 25–30 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงกว่านี้หรือจนคาดว่าอาจเป็นผลเสียต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด โดยเฉพาะในฤดูร้อน ควรทำการลดอุณหภูมิลงโดยการรดน้ำ ตามพื้นผนัง หลังคาโรงเรือน หรืออาจจะระบายอากาศออกครั้งละประมาณ 10 นาที ก็พอ ในทางตรงกันข้าม ท้องถิ่นที่อากาศค่อนข้างหนาว หรือในฤดูหนาว ซึ่งอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส จะทำ ให้การเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดช้าลง ดังนั้นโรงบ่มก้อนเชื้อเห็ดในสภาพท้องถิ่นแบบนี้ ควรหาทางบุภายในโรงเรือนด้วยผ้าพลาสติก

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา