ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าย้อมคราม

โดย : นางสุทตา บุนนท์ วันที่ : 2017-04-03-11:47:00

ที่อยู่ : ๓๗ หมู่ที่ ๖ ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผ้ามัดหมี่ เป็นผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านกุดน้ำใสมีการสืบสานจากรุ่นปู่ยาตายาย ต่อมามีการตั้งกลุ่มทอผ้าย้อมครามขึ้น และได้มีการส่งเสริมการผลิตให้มีคุณภาพและส่งเสริมด้านการตลาด  ได้แก่ ผ้าพื้นเรียบ ผ้าพันคอ ผ้าลายลูกแก้ว ที่ความประณีต สวยงาม คุณภาพดี ที่รู้จักกันแพร่หลายทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้แก่ชุมชน และครัวเรือนเป้าหมายการพัฒนา จำนวน 20 ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

3.1  เนื้อคราม

3.2  ฝ้าย

อุปกรณ์ ->

4.1 กง

4.2 อัก

4.3 กระบอกไม้ไผ่

4.4 แกนกระสวย

4.5 ไน

4.6 หลักเปีย

๔.๗ แปรงหวีด้ายยืน

๔.๘ โฮ่งมัดหมี่

๔.๙ กี่

๔.๑๐ ฟืมหรือฟันหวี

๔.๑๑ ตะกอหรือเทหูก

๔.๑๒ แกนม้วนผ้า

๔.๑๓ แกนม้วนด้ายยืน

๔.๑๔ เท้าเหยียบ

๔.๑๕ ที่นั่ง

๔.๑๖ กระสวย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 วิธีการมัดหมี่
        หลังจากลอกลายตามรอยฉลุแล้ว ใช้เชือกฟางมามัดให้แน่นเพื่อป้องกันสีซึมเข้าในข้อหมี่ หลังจากมัดเสร็จก็จะได้ลายที่พิมพ์มาจากคอมพิวเตอร์ทันที
การมัดโอบหมี่
        การมัดโอบคือ การมัดหมี่ครั้งที่สองเพื่อเก็บสีลายจากการมัดครั้งที่หนึ่งไว้ หลังจากการมัด โอบเสร็จแล้วนำหัวหมี่มาย้อมเป็นครั้งที่ ๒ เพื่อจะให้หมี่เป็นลายอีกสีหนึ่งขั้นตอนการย้อมโอบจะทำอยู่หลายครั้งเมื่อต้องการลวดลายหลากหลายสีขึ้นอยู่กับลายที่จะนำมามัดหรือสีสันที่ต้องการ 
การย้อมสี
        หลังจากการกรองคราม (เก็บเนื้อครามไว้) เวลาจะใช้ต้องนำเนื้อครามที่เก็บไว้ออกมาผสมกับน้ำด่างที่แช่ไว้ ในปริมาณครามประมาณ ๑ ขีด ผสมกับน้ำด่าง ๑ ขัน ต่อ ๑ หม้อ ในการย้อม ๑ ครั้ง และ ๑ ครั้ง และสามารถเพิ่มส่วนผสมทุกครั้งที่จะย้อม ไม่ต้องเปลี่ยนหม้อหรือล้างหม้อครามโดยเติมในอัตราดังที่กล่าวมาคลิกเพื่อดูขั้นตอนการย้อมคราม

ขั้นตอนการปั่นหลอด หรือกรอบหมี่
        ๑. แก้หมี่ที่มัดเป็นเปราะๆ ออกก่อน (การแก้หมี่ คือการแก้เชือกฟางที่มัดให้เป็นลวดลายต่างๆ ออกให้หมด )
        ๒.  นำปอยหมี่ที่แก้เสร็จขึงใส่กง แล้วดึงเงื่อนเส้นหมี่มาผูกติดกับหลอดที่อยู่เข็มไนใช้มือปั่นหลา หรือไนโดยการหมุนเวียนซ้ายไปตลอด
        ๓. เมื่อครบขีนของลายทันที แล้วปลดออกจากหลาหรือไนเก็บไว้เพื่อทอต่อไป

ขั้นตอนการสืบหูก
        ๑.  นำหมี่ที่ย้อมสีเสร็จแล้ว มากางเพื่อดึงให้เส้นหมี่ตึงเท่ากันจน
        ๒. นำหมี่ที่ตึงเท่ากันแล้วมาต่อใส่ฟืม โดยการผูกติดกับกกหูก(กกหูก คือ ปมผ้าเส้นหมี่เดิมที่ทอติดไว้กับฟืมโดยไม่ตัดออกเพื่อที่จะต่อเครือหูกไว้ทอครั้งต่อไป

วิธีการกางหูก
         ๑. นำฟืมที่สืบเครือหูกแล้วไปกางใส่กี่ โดยดึงหมี่ตึงสม่ำเสมอทุกเส้น
         ๒.  หูกที่กางเสร็จแล้วจะต้องเรียงเส้นหมี่หลังฟืม โดยแยกเส้นหมี่ออกไม่ให้ติดกันความยาวประมาณ 1 เมตร
         ๓. นำไม้หลาวกลม ๒ อัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๐.๕ ซม. มาสอดคั่นให้เส้นหมี่ของเครือหูกไขว้กันเป็นกากบาทอยู่หลังฟืม เพื่อให้เลื่อนฟืมไปข้างหน้าในเวลาทอได้สะดวก

 

วิธีการทอผ้า
        1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง 
        2.  เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ 
        3. การกระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา

        4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ให้พอเหมาะ

  หลังจากลอกลายตามรอยฉลุแล้ว ใช้เชือกฟางมามัดให้แน่นเพื่อป้องกันสีซึมเข้าในข้อหมี่ หลังจากมัดเสร็จก็จะได้ลายที่พิมพ์มาจากคอมพิวเตอร์ทันที

ข้อพึงระวัง ->

          1. วัสดุสำหรับสาธิตต้องพร้อมและวิทยากรสัมมาชีพ (ปราชญ์) ต้องสร้างความน่าสนใจในกิจกรรมให้ได้

          2. ต้องมีตลาดอยู่แล้ว หรือหาช่องทางการตลาดให้พร้อมก่อนเริ่มผลิตผ้าไหมย้อมคราม

          3. ความรู้ของปราชญ์สำคัญ ถ้าไม่พร้อม กลุ่มเป้าหมายจะไม่สนใจกิจกรรมเลย

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา