ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเพาะปลูกผักหวาน

โดย : นายขจรศักดิ์ นาโควงค์ วันที่ : 2017-04-03-11:40:24

ที่อยู่ : 21//1 บ้านนางัว หมู่ที่ 1 ตำบลนางัว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมการเพาะพันธ์กล้าไม้ผักหวานในหมู่บ้านเป้าหมายส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพในชุมชนส่งเสริมในหมู่บ้านเป้าหมายจำนวน 1 หมู่บ้าน บ้านนางัว หมู่ 1ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 20 ครัวเรือน เหตุผลที่ส่งเสริมการเพาะพันธุ์กล้าไม้ผักหวาน เนื่องจากผักหวานเป็นที่นิยมรับประทาน และพื้นที่บริเวณหมู่บ้านมีความเหมาะสมมีช่องทางการตลาดและปราชญ์มีความรู้ด้านเพาะพันธุ์กล้าไม้เป็นทุนอยู่แล้วจึงเลือกที่จะส่งเสริมการเพาะพันธุ์กล้าผักหวาน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อบริโภคในครัวเรือนและเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เมล็ดผักหวาน
2. เมล็ดผักพี่เลี้ยง (เมล็ดลำไย)

อุปกรณ์ ->

1.   ถุงพลาสติก
2.   ปุ๋ยคอก  แกลบดำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.การเตรียมดินเพื่อ การเพาะเมล็ดผักหวานป่า : ใช้ถุงพลาสติกขนาด 4 x 4 นิ้ว ไม่เจาะรูก้นถุง ป้องกันรากแทงลงดิน ใส่ดินลูกรัง ทรายหยาบ และปุ๋ยคอกเก่าๆ หรือใบไม้ผุๆ ร่อนด้วยตะแกรงตาถี่ขนาดครึ่งซม. ผสมกันในอัตราส่วน 1:1:1 โดยปริมาตร นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วกรอกลงถุงเพาะ

2.เตรียมแปลง การเพาะเมล็ดผักหวานป่า : เรื่องแปลงสำหรับ การเพาะเมล็ดผักหวานป่า ควรจะมีความชื้นพอสมควร วัสดุที่ใช้เพาะควรเป็นทรายล้วนๆ ต้องฝังเมล็ดเป็นแถวให้ลึกประมาณ 2 ซม. หลังจากเพาะไปได้ 20-30 วัน จะมีรากงอกออกจากเมล็ด จากนั้นก็แตกใบอ่อนรวมเวลาทั้งหมดประมาณ 40 วัน

3.การย้ายกล้าลงถุงชำ : เนื่องจาก การปลูกผักหวานป่า มีจุดอ่อน ตรงที่ไม่ทนทาน ต่อการเคลื่อนย้าย หากรากได้รับ การกระทบ กระเทือน หรือรากขาดจะตายง่าย จึงต้องย้ายด้วย ความระมัดระวัง โดยแบ่งการย้ายเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะมีใบอ่อนของต้นผักหวานป่า ซึ่งระยะที่ปลอดภัยในการย้ายและระยะรากแทงออกมาจากเมล็ดเล็กน้อยก็ย้ายได้ทันที แต่ถ้ารากออกมากหากย้ายย่อมสุ่มเสี่ยงต่อการตายได้

ข้อพึงระวัง ->

ผักหวานป่า เป็นพืชไม้ป่าต้องการร่มเงาควรปลูกคู่กับต้นไม้พี่เลี้ยง

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา