ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

โดย : นายบุญมา ผิวพรรณ์ วันที่ : 2017-04-03-11:23:40

ที่อยู่ : 53/1 หมู่ที่ 3 บ้านดอนดู่ ต.กุตาไก้ อ.ปลาปาก จ.นครพนม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในหมู่บ้าน/ชุมชนมีการทำการเกษตร ปลูกพืชผักสวนครัวกันทุกบ้านเพื่อใช้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นผักโหระพา ต้นหอม ผักชี เกษตรกรได้รับผลกระทบจากการซื้อปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูงมากส่งผลกระทบต่อราคาต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการเพาะปลูก และเป็นการทำเกษตรแบบอินทรีย์ ปลอดสารพิษ การรณรงค์ให้ชาวบ้านหันมาให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม คุณภาพของพืชผักและใส่ใจผู้บริโภคมากขึ้น ปัจจุบัน เกษตรกรมีความสนใจการเกษตรแบบธรรมชาติกันมากขึ้น จึงใช้สิ่งต่างๆในธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัว มาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น การเกษตรแบบธรรมชาติโดยใช้เทคนิคทางด้านจุลินทรีย์ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นหรือในธรรมชาตินี้ เป็นภูมิปัญญาที่ได้พัฒนา นำมาใช้ในหมู่บ้านโดยนำวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตร เช่นผักต่าง ๆ จุรินทรีย์  EM และกากน้ำตาล นำมาผลิตเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ ดังนั้นการเอาจุรินทรีย์ EM มาช่วยในการเร่ง ปฏิกิริยาการย่อยสลายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เหลือใช้ให้เป็นปุ๋ยชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีในการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิตการเกษตร ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาต่อสุขภาพต่อเกษตรกรและผู้บริโภคด้วย การส่งเสริมการทำปุ๋ยชีวภาพในหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 20 ครัวเรือน เหตุผลที่ส่งเสริมการปุ๋ยชีวภาพเนื่องจากหมู่บ้านเป้าหมาย มีการปลูกพืชผักกันเป็นจำนวนมากเพื่อลดต้นทุนของชาวบ้าน และปราชญ์ในพื้นที่เองก็มีความชำนาญในการทำปุ๋ยชีวภาพอยู่แล้ว จึงเกิดการสร้างสัมมาชีพกลุ่มปุ๋ยชีวภาพขึ้นมา

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อผลิตไว้ใช้เอง และเป็นอาชีพเสริมรายได้ในครัวเรือนได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1) มูลสัตว์แห้งละเอียด

2) แกลบดำ

3) เศษหญ้า /ใบไม้ / ฟางข้าว เศษผัก ผลไม้
          4) รำละเอียด
          5) น้ำสกัดชีวภาพ หรือใช้หัวเชื่อจุลินทรีย์
          6) กากน้ำตาล
          7) น้ำ

อุปกรณ์ ->

1.บัวรดน้ำ

          2.จอบ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1) นำวัสดุต่างๆ มากองซ้อนกันเป็นชั้นๆ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน

                                          
2) ผสมเอาส่วนของน้ำสกัดชีวภาพกับน้ำตาลและน้ำคนจนละลายเข้ากันดี ใส่บัวราดบนกลองวัสดุปุ๋ยหมัก คลุกให้เข้ากันจนทั่วให้ได้ความชื้นพอหมาดๆ อย่าให้แห้งหรือชื้นหรือแห้งจนเกินไป (ประมาณ 30-40%) หรือลองเอามีดขยำบีบดู ถ้าส่วนผสมเป็นก้อนไม่แตกออกจากกันและมือรู้สึกชื้นๆ ไม่แฉะแสดงว่าใช้ได้ ถ้าแตกออกจากกันยังใช้ไม่ได้ต้องรดน้ำเพิ่ม

                           
3) หมักกองปุ๋ยหมักไว้ 7 วัน ก็นำไปใช้ได้
4) วิธีหมัก คือ เกลี่ยกองปุ๋ยหมักบนพื้นซีเมนต์หนาประมาณ 1-2 วัน คลุมด้วยกระสอบป่านทิ้งไว้ 4-5 วัน ตรวจดูความร้อน ในวันที่ 2-3 ถ้าร้อนมากอาจจะต้องเอากระสอบที่คลุมออกแล้วกลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน หลังจากนั้นกองปุ๋ยจะค่อยๆ เย็นลงนำลงบรรจุกระสอบเก็บไว้ใช้ต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

อุณหภูมิในระหว่างการหมักที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส ถ้าให้ความชื้นสูงเกินไป จะเกิดความร้อนสูงเกินไป ฉะนั้นความชื้นที่ต้องพอดี ประมาณ 30%

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา