ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

โดย : นายปรีชา แก้วบุญกวาง วันที่ : 2017-04-02-00:36:31

ที่อยู่ : ๑๔ หมู่ที่ ๘ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านคำเกิ้ม หมู่ที่ ๘ ตำบลอาจสามารถ เป็นหมู่บ้านเกษตรกรรม    มีการทำนา ปลูกผัก และเลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ และไก่งวง ทำให้มีมูลสัตว์อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำเอามูลสัตว์มาเป็นส่วนประกอบในการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพได้    การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ลดต้นทุนการผลิต และยังสามารถทำขาย เพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง และพื้นที่ในหมู่บ้านที่ส่งเสริม มีความสนใจในการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ  จึงเป็นที่มาของการสร้างสัมมาชีพแก่ชุมชน กิจกรรม “ทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ” และยังเป็นการลดรายจ่ายให้กับครัวเรือนรวมถึงต่อยอดทำเป็นอาชีพเสริม จำหน่ายทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน สร้างรายได้ให้กับคนในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นการลดรายจ่ายและเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

3.1 อินทรียวัตถุที่หาได้ในพื้นที่ หญ้าแห้ง ฟาง ใบไม้

3.2 มูลสัตว์ต่าง ๆ กากถั่วต่าง ๆ ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว

3.3 แกลบ

3.4 น้ำเอนไซม์

3.5 น้ำ

3.6 กากน้ำตาล

อุปกรณ์ ->

          4.1 กระสอบ

          4.2 พลั่วสำหรับผสม

          4.3 บัวรดน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

5.1 นำส่วนผสมทั้งหมดเทรวมกัน

5.2 คลุกให้เข้ากันนำน้ำที่ผสมน้ำชีวภาพและกากน้ำตาลรดให้ทั่ว

5.3 เพิ่มน้ำรดส่วนผสมไปเรื่อยๆ (โดยผสมปุ๋ยน้ำชีวภาพกับกากน้ำตาลในน้ำ ตามส่วนที่กำหนด) พร้อมกับคลุก

เพื่อให้น้ำซึมหมาดไปทั่วทั้งกองปุ๋ย

5.4 เกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกัน

5.5 คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด

5.6 ประมาณ 12 ชั่วโมง ให้ทดสอบโดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก เมื่อครบ 24 ชั่วโมง จะเริ่มมีเส้นขาวๆ ปรากฏขึ้นบนผิวกองปุ๋ย แสดงว่าจุลินทรีย์เริ่มทำงาน อีก 3-4 วัน ต่อมาให้ทดสอบอีกครั้ง ถ้าปุ๋ยเย็นลงถือว่าใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อจนกว่าจะเย็น จึงสามารถนำไปใช้ได้

ข้อพึงระวัง ->

ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายได้ดีแล้วจะมีลักษณะเป็นเม็ดละเอียดสีน้ำตาลดำ มีความร่วนซุย และมีกลิ่นฉุนของการหมัก ควรสังเกตสีของเม็ดดิน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา