ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การสานกระติบข้าวจากไม้ไผ่

โดย : นางสดใส ปิลอง วันที่ : 2017-04-01-15:59:32

ที่อยู่ : ๓๔ หมู่ ๕ บ้านม่วง ตำบลนาคูณใหญ่ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กระติบข้าว ถือว่าเป็นของใช้ประจำบ้านที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นการวิวัฒนาการเกี่ยวกับการถนอมข้าวเหนียวให้มีความนุ่ม และเก็บไว้รับประทานได้นานขึ้น กระติบข้าวสามารถทำได้จากวัสดุหลายอย่าง เช่น ใบจาก ใบตาล ใบลาน เป็นต้น แต่ที่นิยมใช้ทำมาก และมีคุณภาพดีที่สุด ต้องทำจากไม้ไผ่ ซึ่งกลุ่มหัตถกรรมจักสาน บ้านกลางใหญ่ใช้ไม้ไผ่ ซึ่งเป็นวัสดุที่มีอยู่มากในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียงมาจักสานเป็นกระติบข้าว ซึ่งนอกจากจะใช้ถนอมข้าวแล้วนั้น ยังสามารถพัฒนาเป็นของฝากเพื่อเพิ่มมูลค่าได้ การสานกระติบข้าวนอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านด้วย

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อใช้ในครัวเรือนและเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

          (๑) ไม้ไผ่บ้าน อายุประมาณ ๒ ปี ปล้องยาวประมาณ ๑๒–๑๖ นิ้ว มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๔–๕ นิ้ว

          (๒) หวาย

อุปกรณ์ ->

          (๑) มีดผ่าไม้

          (๒) มีดเหลาตอก/จักตอก

          (๓) เลื่อย

          (๔) ที่เลียดตอก  

          (๕) กรรไกร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

(๑) ตัดกอไผ่ หากตัดมาไว้ใช้งานจำนวนมาก ควรการเก็บให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานในหลุมดิน แล้วคลุมไม้ด้วยใบไม้หรือเศษผ้า รดน้ำให้ความชื้นสม่ำเสมอ

(๒) การเตรียมตอกไม้ไผ่ ริดกิ่งและตาไม้ไผ่ออก

(๓) ตัดข้อ

(๔) ผ่า การผ่าไม้ไผ่ นิยมผ่าจากปลาย

(๕) การจักตอกไม้ไผ่ มี 3 วิธีคือ

(๕.๑) การจักตอกปื้น คือ การจักตอกตามส่วนกว้างของไม้ไผ่ แล้วเหลาตอกให้บางเรียบตลอดเส้น

(๕.๒) การจักตอกตะแคง คือ การจักตอกตามความหนาของไม้ไผ่

(๕.๓) การจักตอกกลม คือ กาจักตอกให้เป็นเส้นสี่เหลี่ยม แล้วเหลาลบเหลี่ยมให้กลม

(๖) การสาน เป็นขั้นตอนถัดจากการจัก ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เป็นขบวนการทางความคิดสร้างสรรค์และฝีมือของแต่ละคนซึ่งมีมาช้านานแล้ว และสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการสานด้วยรูปแบบและลวดลายแบบใดขึ้นอยู่กับลักษณะการนำไปใช้งานและความนิยมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งมีการสานได้หลากหลาย เช่น ถ้าต้องการภาชนะที่มีตาห่าง ๆ เช่น ชะลอม เข่ง ก็มักจะสานด้วยลายเฉลว เป็นต้น นอกจากนี้ชื่อเรียกของลวดลายในแต่ละท้องถิ่นก็อาจจะเรียกแตกต่างกันออกไป โดยการสานเครื่องจักสานโดยทั่วไปแล้ว อาจจำแนกออกเป็นลักษณะใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

- การสานด้วยวิธีการสอดขัดกัน

- การสานด้วยการสอดขัดกันด้วยเส้นทแยง

- การสานด้วยวิธีขัดเป็นวง

          (๗) การถัก เป็นกระบวนการที่เข้ามาเสริมหรือช่วยทำให้เครื่องจักสานดูเรียบร้อยสมบูรณ์มากขึ้น เป็นการเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างภายนอก เช่น ขอบ ปาก ก้น ของเครื่องจักสาน โดยมักจะใช้วัสดุที่เป็นเส้นอ่อนและมีความยาวพอสมควร ถักหรือผูกยึดโครงสร้างภายนอกให้ติดกับผนังของเครื่องจักสาน ลักษณะของการถักหรือการผูกขอบภาชนะโดยทั่วไปก็จะมีรูปแบบเฉพาะของการถักแต่ละแบบ เช่นเดียวกับแบบของลายสาน ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มความสวยงามของเครื่องจักสานไปในตัว

(๘) การรมควัน เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสานเพื่อเพิ่มความแข็งแรง สวยงามแก่เครื่องจักสาน

(๙) ติดต่อหาตลาดจำหน่าย ซึ่งโดยปกติจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน หรือบางครั้งจะรับสั่งทำตามที่ลูกค้าต้องการ หรืออาจจะนำไปขายเอง

(๑๐) ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบของเครื่องจักสานให้ทันสมัย เป็นที่ถูกตาต้องใจของลูกค้าทุกวัย

ข้อพึงระวัง ->

กอไผ่ หากตัดมาไว้ใช้งานจำนวนมาก ควรการเก็บให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานในหลุมดิน แล้วคลุมไม้ด้วยใบไม้หรือเศษผ้า รดน้ำให้ความชื้นสม่ำเสมอ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา