ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง

โดย : นายสมพงษ์ แสนลัง วันที่ : 2017-03-31-18:07:23

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 45 หมู่ที่ 3 บ้านเหล่าสำราญ ตำบลโพนทอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จุดเริ่มต้นของการเลี้ยงไก่ เพราะไก่พื้นเมืองมีความแข็งแรง หากินเก่ง ต้านทานต่อโรคระบาดสูง เติบโตและขยายพันธ์ ในสภาพการเลี้ยงดูแบบง่ายๆ ตลาดมีความต้องการสูงเนื่องจากไก่มีกลิ่นและรสชาติดี สามารถเลี้ยงในลักษณะเกษตรผสมผสาน สามารถไว้เพื่อกินเองและจำหน่ายเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว

 

วัตถุประสงค์ ->

1.ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
2.เพื่อเลี้ยงไว้เพื่อจำหน่ายและบริโภค
3.ส่งเสริมอาชีพให้มีรายได้ในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

-พ่อพันธุ์ 1 ตัว ,แม่พันธุ์ไก่พื้นเมือง 7 ตัว
-โรงเรือน
-หัวอาหาร     
-วัคซีน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เลือกไก่สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงและเป็นที่นิยมของตลาดจะเป็นสายพันธุ์ไก่อู หรือไก่ชน เพราะจะมีโครงสร้างใหญ่เจริญเติบโตดี ไม่เป็นโรค คัดแม่พันธุ์ที่มีลูกดกอายุ 9 เดือน-3 ปี จำหน่ายรวดเร็ว สำหรับเกษตรกรที่ต้องซื้อพ่อแม่พันธุ์เข้ามาเลี้ยงควรเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ สุขภาพแข็งแรง และปราศจากโรคระบาด
          การจัดการเลี้ยงดู ควรมีพื้นที่กว้างขวางพอประมาณ ที่จะให้ไก่ได้หาอาหารและเดินออกกำลังกาย ถ้าสามารถเลือกสถานที่ที่ชายป่าหรือทุ่งนาได้เป็นการดี เพราะจะเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติชั้นดีสำหรับไก่พื้นเมือง
          โรงเรือนไก่ ใช้วัสดุในท้องถิ่นหลังคาอาจมุงด้วยสังกะสีเก่าหรือตับหญ้าคา ด้านข้างโรงเรือนควรตีด้วยไม้ไผ่สานขัดแตะหรือไม้ระแนง  โยงเว้นช่องให้อากาศถ่ายเทสะดวก
การผสมพันธุ์ใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัวต่อแม่พันธุ์ 7 ตัว แต่ละตัวจะได้ปีละ 4 ชุด โดยจะเลี้ยงรอดประมาณชุดละ 8 6ตัว ในการเลี้ยงลูกไก่พื้นเมืองในระยะแรก ควรมีสุ่มครอบแม่ไก่กับลูกอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อให้ลูกที่เลี้ยงรอดมีจำนวนสูงและถ้าต้องการให้ไก่ไข่เร็วขึ้นก็ทำได้ โดยแยกลูกไก่มาอนุบาลเป็นการเฉพาะ สำหรับการให้อาหารไก่พื้นเมืองโดยส่วนใหญ่จะปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ และเสริมด้วยอาหารที่หาได้ท้องถิ่นที่ผลิตเองหรือหาซื้อเพิ่มเติม เช่น ข้าวเปลือก รำ ปลายข้าว ข้าวโพด หรือเศษอาหารที่เหลือ เฉพาะในอาหารลูกไก่ในระยะแรกเกิดถึงประมาณ 1 เดือน ควรใช้อาหารไก่เนื้อระยะแรกเลี้ยงจะให้ผลดีมากกว่า
          การป้องกันโรคระบาด  ถ่ายพยาธิเป็นประจำทุก 6 เดือน

ข้อพึงระวัง ->

-

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา