ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การจักสานผลิตภัณฑ์จากลำคล้า

โดย : นางหนูพร แคนพะนาน วันที่ : 2017-03-31-00:41:30

ที่อยู่ : 74 บ้านอูนนา หมู่ที่ 3 ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          บ้านอูนนา หมู่ที่ 3 ตำบลนางัว เป็นหมู่บ้านที่มีการทำหัตถกรรมที่ยังคงอนุรักษ์ภูมิปัญญาของท้องถิ่นในการดำเนินชีวิต โดยการนำวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น โดยเฉพาะลำคล้าในหมู่บ้านนำมาทำเป็นเครื่องจักสานผลิตภัณฑ์จากไม้คล้า ซึ่งเป็นการใช้ภูมิปัญญาของคนจากรุ่นสู่รุ่นที่ทำการสืบทอดกันมาแต่โบราณกลายเป็นผลิตภัณฑ์จากการจักสานไม้คล้าที่มีความหลากหลาย อาทิเช่น กระบุง กระด้ง กระติบข้าว ตะกร้า มวยข้าว ฯลฯ โดยปัจจุบันคนในหมู่บ้านนอกจากจะทำเครื่องจักสานฯ เพื่อใช้ในครัวเรือนแล้ว ยังต่อยอดทำเป็นอาชีพเสริม จำหน่ายทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน สร้างรายได้ให้กับคนในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้ครัวเรือน            

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตประกอบด้วย

1. ต้นคล้า

2. ก้านตาล

3. เชือก/หวาย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑.เริ่มต้นจำการตัดต้นคล้ำที่มีอำยุที่เหมาะสม( ๒ ปีขึ้นไป) มาตัดแบ่งให้เป็นท่อนตามขนาดที่ต้องการ
๒.ทำการลำคล้ำให้เป็นเส้น ๆ เอาเฉพาะเปลือกคล้ำ ส่วนที่เหลือทิ้ง
๓.นำคล้าที่สำเสร็จแล้วไปตากแดดประมาณ ๓ – ๗ แดด เพื่อให้คล้าแห้ง รอการสานต่อไป
๔.นำมาพรมน้ำพอประมาณ แต่ห้ามเปียกเกินไป และรีดตอกคล้าให้แบน เพื่อนำไปขึ้นรูปต่อไป
๕.ทำการขึ้นรูปกระติบข้าวโดยเริ่มการก่อเป็นลาย ๒ หรือ ลาย ๓
๖.เริ่มสานด้วยลาย ๓ ยืน ประมาณ ๙ – ๑๐ ลาย จบด้วยลาย ๒ แล้วม้วน
๗. เมื่อม้วนได้รูปร่าง มีขนาดที่กลม แล้ว ทาการตัดส่วนที่เหลือออก
๘.นำกระติบข้าวที่สานเสร็จแล้วมาพับครึ่ง และให้ความยาวเสมอกัน
๙.เอาไม้ไผ่มาผ่าเป็นแผ่นแบบ ประมาณ ๑ นิ้วครึ่ง ตากแดดให้แห้ง ประมาณ ๑ วัน (ส่วนนี้เรียกว่าตู้) นำมาสานด้วยลาย ๑ ให้ได้ขนาดตามกระติบข้าว ใช้ดินสอขีดให้ได้รูปตามรูปทรงกระติบ
ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก จะได้ส่วนของกระติบข้าว และคล้าที่สานลาย ๓ เวียน
เข้ากับแผ่นตู้และตัวกระติบ
๑๐.ทำการเย็บด้วยเชือกไนล่อนให้รอบและแน่น จนรอบ

๑๑.ทำการเย็บก้นตาลเข้ากับตัวกระติบข้าวเพื่อเป็นตีนกระติบข้าว ด้วยหวาย หรือเชือกไนล่อน
๑๒.นำไม้ไผ่มาผ่าและเหลาให้กลม ไม่มีเหลี่ยม ขนาดเท่ากับไม้จิ้มฟัน แล้วนำไปม้วนรอบขอบฝากระติบข้าว เพื่อทำคิ้ว และสุดท้ายใช้หวายพันรอบไม้ไผ่ที่เหลาไว้ให้รอบ จะได้คิ้วของฝากระติบ และสวยงามยิ่งขึ้น
๑๓.  ใช้เหล็กที่ร้อนเจาะรูตีนกระติบข้าวเพื่อทำสายร้อย และใช้
เชือกในล่อนเย็บมุมฝากระติบข้าว ๒ มุม แล้วร้อยเชือกให้เรียบร้อย เสร็จเรียบร้อยรอการจำหน่าย

ข้อพึงระวัง ->

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

๑.ตอกคล้ำต้องผ่าให้ได้เส้นเล็ก มีความเสมอของตอกคล้า
๒.ความละเอียด ของตอกคล้า

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา