ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงกบ

โดย : นายประสิทธิ์ชัย วจนะศิริ วันที่ : 2017-03-30-23:45:35

ที่อยู่ : 39 หมู่ที่ 6 ตำบลโพนแพง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 กบ เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่คนไทยคุ้นเคยกันมานาน  โดยที่ในอดีตนั้น  เราสามารถจับกบที่อาศัยอยู่ตาม   แหล่งน้ำธรรมชาติ  ตามทุ่งนา  เพื่อนำมาบริโภคกันได้ไม่ยากนัก  ตลอดจนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน)  มีค่านิยมในการบริโภคลูกอ๊อดกบ (ฮวก)  ในช่วงฤดูฝน  ฤดูทำนา  เป็นอาหารตามฤดูกาลที่นิยมกันเป็นอย่างมาก              ทั้งยังสามารถนำไปทำเป็นเหยื่อตกเบ็ดปลา  อาหารปลาสวยงามบางชนิด  ซึ่งกำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย  จึงส่งผลกระทบให้ปริมาณกบในธรรมชาติลดน้อยลงเรื่อยๆ  ทั้งสภาพแวดล้อมยังเปลี่ยนแปลงไป  ทำให้ปริมาณอาหารกบน้อยลง  เกิดการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพทางการเกษตร  ทำให้ปริมาณกบและลูกอ๊อดที่จับได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติตามทุ่งนาไม่เพียงพอกับความต้องการสำหรับการบริโภค  ทั้งความต้องการที่จะบริโภคมีเพิ่มขึ้น

จากจุดนี้เอง  อาชีพการเลี้ยงกบจึงเกิดขึ้น  เพื่อไว้บริโภคในครัวเรือนและไว้จำหน่ายและเป็นอาชีพเสริม

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว และเป็นอาชีพเสริมหลังจากทำอาชีพหลัก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

          กบพ่อแม่พันธุ์

อุปกรณ์ ->

4.1 ตาข่ายไนล่อนสีฟ้า

4.2 ไม้สำหรับทำรั้วรอบบ่อกบ

4.3 จอบ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลือกสถานที่ในการเพาะอนุบาลลูกอ๊อดกบในแปลงนา

1 .ควรเป็นสถานที่ที่สามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิด  สะดวกต่อการดูแลรักษา  และป้องกันศัตรูได้

2. เป็นบ่อที่ขุดเองที่สามารถระบายน้ำ  เข้า – ออก ได้สะดวก  เป็นที่รามเสมอ

3. มีแหล่งน้ำเพียงพอต่อการอนุบาลลูกอ๊อดกบ  ใกล้แหล่งน้ำเพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ  และสะอาด

4. คุณสมบัติของดินและน้ำที่เหมาะสม 

5. การคมนาคมขนส่งสะดวกต่อการลำเลียงลูกกบเพื่อจำหน่าย

6. ห่างไกลจากบริเวณที่มีเสียงดังรบกวนทำให้กบตกใจในช่วงผสมพันธุ์

7. อยู่ห่างไกลจากแหล่งโรงงานอุตสาหกรรมหรือแหล่งมลพิษ

ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเพาะพันธุ์กบ

          ในธรรมชาติกบจะผสมพันธุ์และวางไข่ในฤดูฝน  กบจะวางไข่ในบริเวณน้ำตื้น  มีพันธุ์ไม้น้ำอยู่พอสมควร   ปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้องต่อการผสมพันธุ์ของกบ ได้แก่

          1.อุณหภูมิ

                   อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการผสมพันธุ์และการวางไข่ของกบ  ต้องไม่ต่ำกว่า   25 องศาเซลเซียส              และไม่ควรมีอุณหภูมิสูงเกินไป

          2. แสงสว่าง

                   เมื่อแม่กบวางไข่แล้ว  หากแสงสว่างไม่เพียงพอต่อการฟักไข่  แสงแดดส่งไม่ถึงไข่ก็จะไม่ค่อยฟักออกเป็นตัว

          3. ความชื้น

                   โดยสัญชาตญาณกบจะไม่ค่อยวางไข่ในที่แล้ง  กบจะวางไข่หลังฝนตก  หรือระหว่างที่ฝนตก  จะทำให้กบผสมพันธุ์และวางไข่ได้ดี

          4. ค่า PH ของน้ำ

                   น้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงกบควรอยู่ในช่วงสภาพเป็นกรด – ด่าง  ค่า PH  ของน้ำ  อยู่ระหว่าง 6.5 – 8.5

          5. ศัตรูธรรมชาติ

                   ศัตรูที่ควรระวังในการเพาะเลี้ยงกบ  ได้แก่  นก  หนู  และปู  ที่กัดตาข่ายและคอกได้  ทำให้ลูกอ๊อดหลุดรอดออกไปได้  หรือเป็นพาหะนำโรค

ข้อพึงระวัง ->

หรือ ไหลออกอย่างช้าๆ  ให้ปริมาณของน้ำค่อยๆ  ลดหรือเพิ่มขึ้น  ไม่ควรให้น้ำในบ่อเพิ่มหรือลดอย่างรวดเร็ว

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา