ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเพาะเห็ดฟาง

โดย : นางสาวหนูพร โพธิ์สุ วันที่ : 2017-03-29-22:36:13

ที่อยู่ : 203หมู่ 6 บ้านท่าบ่อสงคราม ตำบลท่าบ่อสงคราม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านท่าบ่อสงคราม ม.6 ตำบลท่าบ่อสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม มีอาชีพหลักคือการทำนา ทำนาปรัง ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเสริมคือการทำปลาส้ม ปลาร้า  ถือว่าเป็นอาชีพเสริมที่สร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในบ้านท่าบ่อสงคราม จากกระบวนการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  ทำให้ชาวบ้านท่าสงคราม สนใจอยากสร้างอาชีพใหม่ๆ ที่ให้ผลผลิตและสามารถเก็บเกี่ยวได้เร็ว จึงเป็นที่มาของการสร้างสัมมาชีพแก่ชุมชน กิจกรรม “เพาะเห็ดฟาง”

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้แก่ชุมชน และครัวเรือนเป้าหมายการพัฒนา จำนวน 20 ครัวเรือน
2. เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพ
3. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่คนในชุมชน
4. เพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.       กากมันสำปะหลัง  ( กากดิน )
2.       ไม้แบบขนาด 20+40+20 , 20+50+20  ซม.  20+70+20  ซม.
3.       ไม้โครง ( ไม้ไผ่ผ่าซีก  กว้าง 1 นิ้ว  ยาว  1.60  เมตร
4.       บัวรดน้ำ
5.       น้ำสะอาดควรเป็นน้ำสระไม่เค็มจะดีที่สุด
6.       อาหารเสริม ( มูลสัตว์แห้ง , ราละเอียด หรือ วัสดุอื่นที่หาได้  เช่น  กากไส้นุ่น , จอกแห้ง ,คายข้าว )
7.       พลาสติกสำหรับคลุมกองเห็ด
8.       EM/น้ำหมักชีวภาพ
9.       ปูนขาว
10.    ฟางสำหรับคลุมกอง
11.    จอบ

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. เตรียมดินให้เรียบ พลิกหน้าดินตากแดดไว้ 3-4 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค 
2. การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยใช้ได้ทั้งตอซังและปลายฟางถ้าเป็นตอซังแช่น้ำพออ่อนตัวก็นำมาเพาะได้ปกติประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นปลายฟางแข็ง ๆ ควรแช่น้ำประมาณ 1-2 วัน หรือจุ่มน้ำแล้วนำมากองสุมกันไว้ประมาณ 1 คืน ให้อิ่มตัวนิ่มดีเสียก่อนจึงจะใช้ได้ดี ถ้าเป็นผักตบชวาหรือต้นกล้วยจะสับหรือไม่สับก็ได้ แต่ต้องแช่น้ำพอนิ่ม ปกติแช่น้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วนำมาใช้กองได้เลย
3. หลังจากแช่น้ำวัสดุที่จะใช้เพาะได้ที่แล้ว ให้นำวัสดุที่ใช้เพาะนั้น ใส่ลงในกระบะไม้ที่วางเอาด้านกว้างซึ่งมีลักษณะป้านลงสัมผัสพื้น ให้ด้านแคบอยู่ข้างบนใส่ให้สูงประมาณ 4-6 นิ้ว ถ้าเป็นตอซังให้วางโคนตอซังหันออกด้านนอก ส่วนปลายอยู่ด้านในใช้มือกดฟางให้แน่นพอสมควร แต่ถ้าเป็นปลายฟางควรขึ้นไปย่ำพร้อมทั้งรดน้ำให้ชุ่ม ข้อควรระวังอย่าให้แฉะหรือแห้งจนเกินไป
4. นำอาหารเสริมที่ชุบน้ำแล้วโรยเป็นแถบกว้างประมาณ 2 นิ้ว รอบ ๆ ด้านทั้งสี่ด้านหนาประมาณ 1 นิ้ว
5. แบ่งเชื้อเห็ดฟางจากถุงซึ่งปกติเชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง หนักประมาณ 200 กรัม ออกเป็น 3-4 ส่วน เท่า ๆ กันจากนั้นโรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วน โดยโรยลงบนอาหารเสริมให้ทั่วและชิดกับขอบของแบบไม้ทั้งสี่ด้านก็เป็นการเสร็จชั้นที่ 1
6. ทำชั้นที่ 2 และ 3 หรือ 4 ต่อไปก็ทำเช่นเดียวกับชั้นที่ 1 ทุกอย่าง เมื่อทำมาถึงขั้นสุดท้าย ให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ดให้เต็มทั่วหลังแปลง
7. นำฟางที่แช่น้ำมาปิดทับให้หนา 1-2 นิ้ว แล้วเอาแบบไม้ออกโดยใช้มือข้างหนึ่งกดกองฟางไว้และทำกองอื่นต่อ ๆ ไป
8. ทำกองอื่น ๆ ต่อไปให้ขนานกบกองแรก โดยเว้นระยะห่างประมาณ 6-12 นิ้ว
9. ช่องว่างระหว่างกองแต่ละกองสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตได้อีก โดยอาจจะโรยเชื้อเห็ดฟางลงไปบนช่องว่างระหว่างกอง เพราะบริเวณนี้ก็สามารถทำให้เกิดดอกเห็ดได้ จากนั้น รดน้ำดินรอบ ๆ กองให้เปียกชื้น
 10. คลุมกองฟางด้วยผ้าพลาสติก โดยใช้ 2 ผืนเกยทับกันตรงกลางคลุมให้สูงกว่ากองฟางเล็กน้อยโดยคลุมเป็นแถว ๆ ถ้าอากาศร้อน ให้คลุมห่าง อากาศเย็นให้คลุมชิดหรืออาจคลุมติดกองเลย ในกรณี อากาศเย็นจัด การคลุมพลาสติกเป็นเรื่องสำคัญที่แต่ละแห่งในแต่ละ ฤดูจะต้องดัดแปลงไปตามความต้องการของเห็ด คือ ช่วงระยะแรก ราววันที่ 1-2 เชื้อเห็ดต้องการอุณหภูมิประมาณ 35-38 ํซ. และ ในวันต่อ ๆ มาต้องการอุณหภูมิต่ำลงเรื่อย ๆ จนราววันที่ 8-10 ซึ่ง เป็นวันที่เก็บผลผลิตนั้นต้องการอุณหภูมิราว 30 องศาเซลเซียส
11. นำฟางแห้งมาคลุม ทับผ้าพลาสติกอีกครั้งหนึ่งจนมิดเพื่อป้องกันแสงแดด แล้วใช้ของหนัก ๆ ทับปลายผ้าให้ติดพื้นกันลมตี

ข้อพึงระวัง ->

1.ระวังการเรียงเชื้อเห็ด ให้เรียงใกล้ ๆ รูตะกร้า อย่าให้เข้ามาด้านในมากเกินไป เห็ดจะไม่งอกออกด้านนอกตะกร้า
2. อย่ารดน้ำตะกร้าเห็ดมาเกินไป ฟางจะเน่าเห็ดจะไม่เกิด
3. อากาศหนาวหรือเย็น จะทำให้เชื้อเห็ดออกช้า อาจจะ 5 วัน หรือ 7 วัน

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา