ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะเห็ดฟาง ด้วย EM

โดย : นางสาราญ เชื้อคนขา วันที่ : 2017-03-29-17:05:37

ที่อยู่ : 63/2 หมู่ที่ 4 บ้านโนนชมพู ตำบลวังตามัว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบัน สังคมล้วนมีการแข่งขัน ทุกอย่างต้องรีบเร่ง การผลิตอาหารต่างๆ ก็ต้องใช้สารเคมี ปุ๋ย สารเร่ง เพื่อให้ผลผลิตทัน และเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ทำให้เกิดปัญหา ด้านสุขภาพร่างกาย สำหรับผู้บริโภค
เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว การใช้เทคนิคการเพาะเห็ดฟางด้วย EM จึงเป็นที่นิยมกันโดยทั่วไปในการเพาะเห็ดฟางที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติกันอยู่ นั่นคือเทคนิคพื้นฐาน เมื่อมีการนา EM เข้ามาใช้ร่วมด้วยนั้น มีข้อสำคัญๆ 2 เรื่องคือ
1. งดการใช้เคมี
2. น้ำที่ใช้จะผสม EM
การปฏิบัติอื่นๆ เหมือนเทคนิคการเพาะเห็ดโดยทั่วไป เช่น การหมัก การอบ ก็ปฏิบัติเหมือนเช่นเคย
โดยเฉพาะการหมักอาหารไม่ต้องใช้เคมีใดๆ จะใช้โบกาฉิ (ปุ๋ยหมัก EM) แทน ซึ่งทำให้ผลผลิตดี มีคุณภาพ เก็บได้ใช้นานกว่าสารเคมี
ในการเพาะเห็ดฟางมีหลายแบบ เช่น เพาะกับพื้นกลางแจ้ง เพาะในโรงเรือน เพาะในตะกร้า โดยมีวัสดุ ที่นำมาเพาะหลายชนิดเช่นกัน อาทิ เปลือกมันสำปะหลัง ขี้ฝ้าย ไส้นุ่น กากปาล์ม เป็นต้น ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการเพาะเห็ดแบบโรงเรือน 2 เรื่องคือ
1. เพาะด้วยเปลือกมันสำปะหลัง
2. เพาะด้วยขี้ฝ้าย ไส้นุ่น

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อให้การเพาะเห็ด เป็นไปแบบธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี และลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ
2.ลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากเพาะเห็ดเอง กินเอง ที่เหลือก็ส่งขายมีรายได้ให้กับครอบครัว และชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เปลือกมัน (เปลือกดิบ) 2.5 ตัน
2. EM+กากน้ำตาล+น้ำ (ครึ่งลิตร : ครึ่งลิตร:100ลิตร)
3. โบกาฉิฝาง 100 กิโลกรัม
4. แป้งข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม
5. โบกาฉิมูลสัตว์ 20 กิโลกรัม
6. เชื้อเห็ด 150 ถุง
7. รำละเอียด 8 ปี๊บ
8. ฟางจำนวนหนึ่ง (สามารถปูชั้นได้ทั้งหมด
9. ปูนขาว 5 กิโลกรัม หนาประมาณ 4-5 นิ้ว)

อุปกรณ์ ->

โรงเรือนสำหรับเพาะเห็ด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ก่อนผสม ทำโบกาฉิไว้ก่อนแล้วและมีอุปกรณ์อื่นๆ ครบโดยเริ่มตามขั้นตอนดังนี้
วันแรก เตรียมวัสดุเพาะ
1. นำเปลือกมันมากองให้ยาว ราบ แล้วโรยด้วย
- โบกาฉิ (ปุ๋ยหมัก) ฟาง - รำละเอียด - ปูนขาว - โบกาฉิ (ปุ๋ยหมัก) มูลสัตว์ 2. คลุกเคล้าให้เข้ากัน รดด้วยน้ำที่ผสมไว้ ความชื้น 80%
แบบฟอร์มการจัดการความรู้ (KM) สัมมาชีพชุมชน จังหวัดนครพนม
3. กองเป็นรูปสามเหลี่ยม คลุมด้วยกระสอบและหมักไว้ 3 วัน
วันที่ 2-3 นำฟางมาแช่น้ำผสม EM (EM+กากน้ำตาล+น้ำ อัตราส่วน 1:1:1,000) หมักไว้ 1 คืน
วันที่ 4 นำอาหารขึ้นชั้น ดำเนินการดังนี้
1. นำฟางที่แช่น้ำไว้ขึ้นชั้นก่อน ปูให้เรียบ ไม่ต้องกดให้หนาประมาณ 4-5 นิ้ว
2. นำแป้งข้าวเหนียวผสมกับอาหารที่หมักไว้ แล้วนำขึ้นกองบนฟางที่ปูบนชั้นให้หมด หนาประมาณ 3-4 นิ้ว หรือโรยให้ทั่วชั้น อย่าให้หนามาก จะทำให้อบไม่ทั่วถึง เป็นเหตุให้เกิดราได้ง่าย หากโรยบางเกินไป จะได้ดอกเห็ดเล็ก (เพราะมีอาหารน้อย) แล้วอบเลี้ยงรา
วันที่ 5 หลังนำอาหารขึ้นชั้น ปิดประตู หน้าต่าง ปิดผ้าพลาสติกที่คลุมแปลงให้มิดชิดไว้ 2 วัน ให้ได้อุณหภูมิประมาณ 40-45 °c หากไม่ได้ ต้องช่วยด้วยการอบไอน้ำ
วันที่ 6 อบไอน้ำ
1. ต้มน้ำให้เดือด ปล่อยไอน้ำไปตามท่อสู่กระโจมให้มีอุณหภูมิ 70-80 °c นาน 2-3 ชั่วโมง (เริ่มจับเวลาเมื่ออุณหภูมิ 65 °c หากเกิดเหตุทำให้อุณหภูมิลด หรือไฟดับหรือขัดข้องด้วยเหตุใดๆก็แล้วแต่ให้เริ่มต้นใหม่)
2. พัก 1 คืน ให้อุณหภูมิปกติประมาณ 35 °c
วันที่ 7-9 โรยเชื้อ
ก่อนโรยเชื้อใช้ EM ผสมน้า 1:1,000 ฉีดฝอยให้ทั่วแปลง(ชั้น)ก่อน แล้วจึงโรยเชื้อโรยให้ทั่ว ใช้มือกดเบาๆ (โรยประมาณ 2 ห่อต่อตารางเมตร) รักษาอุณหภูมิ ให้อยู่ระหว่าง 32-40 °c นาน 3 วัน - หากร้อนพอควร เห็ดจะออกดี - หากร้อนเล็กน้อย เห็ดจะออกน้อย สังเกตหากเชื้อเห็ดฟูมาก แสดงว่าอากาศร้อนเกินไป ควรลดอุณหภูมิให้อยู่ในระหว่าง 28-32°c วันที่ 10-11 เปิดออก เปิดประตูกระโจม ให้อากาศผ่านตลอดแปลง สังเกต - ถ้ามีละอองขาวเต็มแปลง ให้ฉีดพ่น EM+กากน้ำตาล+น้ำ (1:1:1,1000) - ถ้าคอกขรุขระ แสดงว่าอากาศไม่พอ ให้เปิดช่องลม - ถ้าผิวเรียบ แสดงว่าอากาศพอเหมาะ วันที่ 12-17 เก็บคอกรุ่นที่ 1 เก็บได้ตลอดวัน ทุกชั่วโมง วันที่ 18-20 เก็บคอกรุ่นที่ 2 เก็บเช้า เย็น วันที่ 21-22 บางครั้งก็มีเห็ดให้เก็บบ้าง แต่ไม่มากนัก หากทำเพื่อการค้า ทำให้เสียเวลา ควรเก็บร้าน อาหารฟาง ไปทำปุ๋ย และเริ่มต้นใหม่ตามที่กล่าวมา แต่ละรอบจะใช้เวลา 21-22 วัน

ข้อพึงระวัง ->

- หากดอกเห็ดหัวพุ่ง ควรเก็บทันที มีฉะนั้นดอกเห็ดจะบานออก
-ต้องระวังความชื้น ให้เหมาะสม ไม่ควรชื้นมาก หรือ น้อยเกินไป

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา