ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

โดย : นายชำนาญ คำด้วง วันที่ : 2017-03-29-15:40:33

ที่อยู่ : 20 หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านผึ้ง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน ซึ่งได้มีการเลี้ยงกันมาตั้งแต่สมัย พ่อ แม่  และนายชำนาญ  คำด้วง ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดาริฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต โดยนำแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะการทำกิจกรรมเกษตรผสมผสานมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง เช่น การเลี้ยงหมู การเลี้ยงปลา การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน และการปลูกพืชผักไว้รับประทานในครัวเรือน ซึ่งเป็นการลดรายจ่ายในครัวเรือน ลดการพึ่งพาจากภายนอก เหลือจึงนำมาขายหรือแจกจ่ายในหมู่บ้าน และใช้แนวทางการลดรายจ่าย เป็นหลักในการประกอบอาชีพ จึงได้เริ่มทำกิจกรรมการเกษตรแบบผสมผสานเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน ส่วนมากชาวบ้านวังกระแส หมู่ที่ 3 ก็จะเลี้ยงกันเกือบทุกครัวเรือน โดยเลี้ยงบ้านละ 2 – 3 ตัว เพื่อใช้รับประทานเป็นอาหาร   แต่จะไม่มีความรู้ในเรื่องการทำอาหารไก่ วิธีการเลี้ยงไก่ จึงมีแนวความคิด แรงบันดาลใจที่อยากจะเลี้ยงไก่พื้นบ้านให้ถูกวิธี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในหมู่บ้านต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อใช้เป็นอาหาร ซึ่งเป็นการลดรายจ่ายในครอบครัว

2. เป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.พันธุ์ไก่พื้นบ้าน
2.อาหารไก่พื้นบ้าน

อุปกรณ์ ->

1. โรงเรือน/เหล้าไก่ สามารถทำเล้าไก่แบบง่ายๆ ได้เอง โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ แฝก จาก ฯลฯ สถานที่ตั้งของเล้าไก่ ควรให้ห่างจากตัวบ้านพอสมควร และอยู่ในที่ดอน ไม่ชื้นแฉะ ไม่ควรอยู่ใกล้ต้นไม้ เพราะไก่ชอบนอนบนต้นไม้ จะไม่เข้าไปนอนในเล้าพื้นเล้าอาจจะปูด้วยแกลบ หรือขี้เลื่อย หรือฟางแห้ง ความหนาประมาณ ๔ เซนติเมตร และต้องเปลี่ยนวัสดุรองพื้นทุกๆ 3 เดือน
2.รางน้ำต้องมีรางน้ำ สำหรับใส่น้ำ สะอาดให้ไก่กิน อาจใช้รางไม้ หรือไผ่ผ่าครึ่งก็ได้
3.รางอาหารควรมีรางสาหรับให้อาหารไก่ เพราะการให้ไก่จิกกินอาหารบนพื้นดิน ทำให้ไก่เป็นโรคพยาธิได้ง่าย
4.รางใส่กรวดและเปลือกหอยป่นผสมเกลือป่น ในกรณีที่มีการเลี้ยงแบบขังคอกตลอดเวลา
5.รังไข่
6.ม่านกันฝน
7. คอนนอน สำหรับให้ไก่นอน ควรจะพาดไว้มุมใดมุมหนึ่งของเล้า

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การเริ่มต้นการเลี้ยง ทำโดยเลี้ยงพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ซึ่งเริ่มจากการซื้อลูกไก่ขนาดเล็ก หรือซื้อไก่รุ่นหรือไก่ใหญ่มาเลี้ยงเป็นพ่อ-แม่พันธุ์ โดยเลี้ยงแบบครึ่งปล่อยลานและครึ่งขังคอก ซึ่งปล่อยออกหากินในตอนเช้า และตอนเย็นให้อาหารกินอย่างเต็มที่
2.การเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ โดยพ่อพันธุ์แม่พันธุ์สำหรับเลี้ยงเพื่อนำไก่ไปฟัก หรือให้แม่ไก่ฟักไข่เอง ใช้ตัวผู้1 ตัว ต่อตัวเมีย ๔ ตัว โดยต้องทำ รังให้แม่ไก่ทุกตัว และเลือกใช้วัสดุต่างๆ เช่น ลังกระดาษ ลังไม้ ตะกร้า กระบุง เพื่อใช้เป็นที่วางไข่และฟัก และมีนํ้าและอาหารให้กินตลอดเวลา
3.การเลี้ยงดูลูกไก่ เมื่อลูกไก่ออกมาแล้ว ระยะ 0-2 สัปดาห์ ต้องให้ความอบอุ่นแก่ลูกไก่ ในพื้นที่ไม่มีไฟฟ้า ให้นำกล่องกระดาษเจอะรูด้านข้างเพื่อระบายอากาศ นำแกลบ หญ้าแห้งใส่รองพื้น หรือนำ มาขังสุ่มแล้วเอากระสอบคลุม เอาหญ้าหรือฟางแห้งรองพื้น นำลูกไก่ใส่ไว้ในตอนกลางคืน หรืออาจใช้หลอดไฟฟ้ากลมชนิดมีไส้แขวนไว้เหนือศีรษะไก่
4.การเลี้ยงไก่รุ่น ช่วงอายุ 3-6 สัปดาห์ ไม่จำเป็นต้องกก เพียงแต่ดูแลไม่ให้ฝนสาดหรือลมโกรกให้อาหารโดยใช้ถังแขวนเสมอไหล่ เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่คุ้ยเขี่ยอาหาร และอาหารตกหล่น ถังนํ้าแขวนระดับไหล่ เพื่อไม่ให้สกปรกง่าย และต้องทำ ความสะอาดทุกวัน ให้อาหารตามปกติ แต่ปล่อยให้ไก่ออกไปหากินอาหารธรรมชาติในบริเวณที่กำหนดและมีการให้อาหารเสริมเพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ
5. การสุขาภิบาลและการป้องกันโรค การเลี้ยงไก่นั้นการจัดการให้ไก่มีสุขภาพดีอยู่เสมอนั้นเป็นสิ่งจำ เป็นเพราะทำให้ลดการเสี่ยงต่อการขาดทุน การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโรงเรือน อุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์ ทำให้การจัดการเลี้ยงดูเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ต้องให้วัคซีนป้องกันโรคไก่ที่สำคัญตามกำหนดเวลาอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการเกิดโรคในไก่และการแพร่กระจายของเชื้อโรคไก่
6.การจำหน่ายไก่พื้นบ้าน เมื่อเลี้ยงได้นํ้าหนักประมาณ 1 กิโลกรัม (หรืออายุประมาณ ๑๒ สัปดาห์ขึ้นไป) ก็จับขายได้ ในราคากิโลกรัมละ ๑๐๐ – ๑๓๐ บาท การจำหน่ายสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ขายเป็นไก่มีชีวิต โดยชั่งนํ้าหนัก ขายเป็นตัว หรือจำหน่ายเป็นไก่แปรรูป ไก่ย่าง

ข้อพึงระวัง ->

1.การฉีดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลหรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า โรคกะลี้หรือโรคห่า ซึ่งสาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไวรัส ถ้าเกิดโรคระบาดขึ้นอัตราการตายจะสูงมาก บางครั้งอาจตายหมด
2.การใช้ยาปฏิชีวนะในสภาวะเครียดอัตราความสูญเสียของการเลี้ยงไก่โดยปล่อยให้หาอาหารตาม  ธรรมชาติเองนั้น มีส่วนหนึ่งที่เนื่องมาจากความแปรปรวนของอากาศที่จะทำให้ไก่เกิดสภาวะเครียด เป็นเหตุให้ไก่ต้องปรับสภาพร่างกาย ตัวไหนปรับไม่ทันย่อมแสดงอาการป่วย ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค และตายในที่สุด

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา