ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การจักสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่

โดย : นายยงค์ อินทร์โสม วันที่ : 2017-03-28-17:33:50

ที่อยู่ : ๓ หมู่ที่ ๘ บ้านบ่อดอกซ้อน ตำบลพระซอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านบ่อดอกซ้อน หมู่ที่ 8 ตำบลพระซอง เป็นหมู่บ้านที่มีการทำหัตถกรรมที่ยังคงอนุรักษ์ภูมิปัญญาของท้องถิ่นในการดำเนินชีวิต โดยการนำวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น โดยเฉพาะไม้ไผ่ในหมู่บ้านนำมาทำเป็นเครื่องจักสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ซึ่งเป็นการใช้ภูมิปัญญาของคนจากรุ่นสู่รุ่นที่ทำการสืบทอดกันมาแต่โบราณกลายเป็นผลิตภัณฑ์จากการจักสานไม้ไผ่ที่มีความหลากหลาย อาทิเช่น กระบุง กระด้ง กระติบข้าว ตะกร้า มวยข้าว ฯลฯ โดยปัจจุบันคนในหมู่บ้านนอกจากจะทำเครื่องจักสานฯ เพื่อใช้ในครัวเรือนแล้ว ยังต่อยอดทำเป็นอาชีพเสริม จำหน่ายทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน สร้างรายได้ให้กับคนในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อใช้ในครัวเรือนและเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ไม้ไผ่บ้าน อายุประมาณ 2 ปี ปล้องยาวประมาณ 12 – 16 นิ้ว มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 – 5 นิ้ว
2. หวาย

อุปกรณ์ ->

1.มีดผ่าไม้
2.มีดเหลาตอก/จักตอก
3. เลื่อย
4.ที่เลียดตอก  
5.กรรไกร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ตัดกอไผ่ หากตัดมาไว้ใช้งานจำนวนมาก ควรการเก็บให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานในหลุมดิน แล้วคลุมไม้ด้วยใบไม้หรือเศษผ้า รดน้ำให้ความชื้นสม่ำเสมอ
2.การเตรียมตอกไม้ไผ่ ริดกิ่งและตาไม้ไผ่ออก
3. ตัดข้อ
4.ผ่า การผ่าไม้ไผ่ นิยมผ่าจากปลาย
5.การจักตอกไม้ไผ่ มี 3 วิธีคือ
5.1การจักตอกปื้น คือ การจักตอกตามส่วนกว้างของไม้ไผ่ แล้วเหลาตอกให้บางเรียบตลอดเส้น
5.2การจักตอกตะแคง คือ การจักตอกตามความหนาของไม้ไผ่
5.3การจักตอกกลม คือ กาจักตอกให้เป็นเส้นสี่เหลี่ยม แล้วเหลาลบเหลี่ยมให้กลม
6.การสาน เป็นขั้นตอนถัดจากการจัก ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เป็นขบวนการทางความคิดสร้างสรรค์และฝีมือของแต่ละคนซึ่งมีมาช้านานแล้ว และสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการสานด้วยรูปแบบและลวดลายแบบใดขึ้นอยู่กับลักษณะการนำไปใช้งานและความนิยมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งมีการสานได้หลากหลาย เช่น ถ้าต้องการภาชนะที่มีตาห่าง ๆ เช่น ชะลอม เข่ง ก็มักจะสานด้วยลายเฉลว เป็นต้น นอกจากนี้ชื่อเรียกของลวดลายในแต่ละท้องถิ่นก็อาจจะเรียกแตกต่างกันออกไป โดยการสานเครื่องจักสานโดยทั่วไปแล้ว อาจจำแนกออกเป็นลักษณะใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
- การสานด้วยวิธีการสอดขัดกัน
- การสานด้วยการสอดขัดกันด้วยเส้นทแยง
- การสานด้วยวิธีขัดเป็นวง
7.การถัก เป็นกระบวนการที่เข้ามาเสริมหรือช่วยทำให้เครื่องจักสานดูเรียบร้อยสมบูรณ์มากขึ้น เป็นการเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างภายนอก เช่น ขอบ ปาก ก้น ของเครื่องจักสาน โดยมักจะใช้วัสดุที่เป็นเส้นอ่อนและมีความยาวพอสมควร ถักหรือผูกยึดโครงสร้างภายนอกให้ติดกับผนังของเครื่องจักสาน ลักษณะของการถักหรือการผูกขอบภาชนะโดยทั่วไปก็จะมีรูปแบบเฉพาะของการถักแต่ละแบบ เช่นเดียวกับแบบของลายสาน ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มความสวยงามของเครื่องจักสานไปในตัว
8.การรมควัน เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสานเพื่อเพิ่มความแข็งแรง สวยงามแก่เครื่องจักสาน
9. ติดต่อหาตลาดจำหน่าย ซึ่งโดยปกติจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน หรือบางครั้งจะรับสั่งทำตามที่ลูกค้าต้องการ หรืออาจจะนำไปขายเอง
10. ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบของเครื่องจักสานให้ทันสมัย เป็นที่ถูกตาต้องใจของลูกค้าทุกวัย

ข้อพึงระวัง ->

กอไผ่ หากตัดมาไว้ใช้งานจำนวนมาก ควรการเก็บให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานในหลุมดิน แล้วคลุมไม้ด้วยใบไม้หรือเศษผ้า รดน้ำให้ความชื้นสม่ำเสมอ

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา