ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

โดย : นายอนิรุตต์ แก้วอาสา วันที่ : 2017-03-28-16:33:58

ที่อยู่ : ๗๙ หมู่ที่ ๘ ตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านเนินสะอาด หมู่ที่ ๘ ตำบลนาราชควาย เป็นหมู่บ้านเกษตรกรรม  และต่อมามีสถานศึกษามาตั้งอยู่ในหมู่บ้าน  จึงทำให้การประกอบอาชีพเปลี่ยนไป  เป็นอาชีพที่ใช้พื้นที่น้อยและเป็นอาชีพที่ทำให้เกิดรายได้ภายในไม่กี่เดือน อาชีพเลี้ยงไก่พื้นบ้าน เนื่องมาจาก “ไก่บ้าน” เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ความเป็นอยู่และการให้อาหารก็ง่ายมาก ๆ แต่ละบ้านที่เลี้ยงไก่บ้าน ถ้าไม่ได้เป็นเกษตรกรจริง ๆ มีงานประจำอยู่แล้ว หรืออาจจะไม่ได้มีรายได้จากทางอื่น ก็สามารถเลี้ยงไก่บ้านเพื่อเป็นรายได้เสริมให้ครอบครัวอีกทางหนึ่ง ถ้าเลี้ยงไว้จำนวนมากก็จะสามารถเพิ่มรายได้กลับมามากขึ้น เพราะว่าเนื้อไก่ก็เป็นเนื้อสัตว์ที่ถูกนำมาทำเป็นเมนูอาหารมาก ใครที่ประกอบอาชีพเลี้ยงไก่บ้าน สามารถส่งขายให้กับตลาดได้ เมื่อไก่ออกไข่ก็สามารถขายได้ หรือถ้ามีน้ำหนักตัวพอดีตามเกณฑ์ที่สามารถขายได้ราคาดี  โดยปัจจุบันคนในหมู่บ้านนอกจากเลี้ยงไก่ไว้เป็นอาหารในครัวเรือนแล้ว ยังต่อยอดทำเป็นอาชีพเสริม จำหน่ายทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน สร้างรายได้ให้กับคนในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือนและเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

          (๑) ไก่พื้นเมือง

          (๒) อาหารไก่พื้นเมือง

อุปกรณ์ ->

อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่พื้นเมือง (ลูกไก่)

1. หัวอาหารอัดเม็ดสำหรับไก่ระยะแรก 8 กิโลกรัม

2. รำรวม 8 กิโลกรัม

3. ปลายข้าว 10 กิโลกรัม

อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่พื้นเมือง (ไก่โต)

1. รำรวม 38 กิโลกรัม

2. ปลายข้าว 60 กิโลกรัม

3. เปลือกหอยป่น 2 กิโลกรัม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลี้ยงและการดูแลลูกไก่พื้นเมือง

เมื่อลูกไก่พื้นเมืองออกจากไข่หมดแล้ว ควรให้แม่ไก่พื้นเมืองเลี้ยงลูกเอง โดยย้ายแม่ไก่พื้นเมืองและลูกไก่พื้นเมืองลงมาขังในสุ่มหรือในกรงในระยะนี้ควรมีถาดอาหารสำหรับใส่รำ ปลายข้าว หรือเศษข้าวสุกให้ลูกไก่พื้นเมืองกินและมีถ้วยหรืออ่างน้ำตื้น ๆ ใส่น้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา

เมื่อลูกไก่พื้นเมืองอายุประมาณ 2 สัปดาห์ ลูกไก่พื้นเมืองแข็งแรงดีแล้ว จึงเปิดสุ่มหรือกรงให้ลูกไก่พื้นเมืองไปหากินกับแม่ไก่พื้นเมืองได้โดยธรรมชาติแม่ไก่พื้นเมืองจะเลี้ยงลูกประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้แยกลูกไก่พื้นเมืองออกจากแม่ไก่พื้นเมือง โดยนำไปเลี้ยงในกรงหรือแยกเลี้ยงต่างหาก เพื่อให้แม่ไก่พื้นเมืองฟักตัวเตรียมไข่ในรุ่งต่อไป

ลูกไก่พื้นเมืองอายุ  2 สัปดาห์ที่แยกออกจากแม่ไก่พื้นเมืองใหม่ ๆ ยังหาอาหารไม่เก่งและยังป้องกันตัวเองไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องเลี้ยงต่างหากในกรงเพื่อให้แข็งแรงปราดเปรียว และเมื่อมีอายุได้ 1 -2 เดือนจึงปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติในระยะนี้ลูกไก่พื้นเมืองจะมีการตายมากที่สุดผู้ที่เลี้ยงควรเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดในเรื่องน้ำ อาหาร และการป้องกันโรค

ข้อพึงระวัง ->

การใช้เศษอาหารมาเลี้ยงไก่ควรคำนึงถึงความสะอาดและสิ่งแปลกปลอมที่เป็นพิษต่อไก่ด้วย ถ้าเป็นไปได้ควรเสริมเปลือกหอยป่นในอาหารที่ให้ไก่กินจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเปลือกไข่บางและปัญหาการจิกกินไข่ของแม่ไก่

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา