ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การปลูกกล้วยน้้าหว้า

โดย : นายไทย ชัยสุระ วันที่ : 2017-03-28-15:40:33

ที่อยู่ : 35 หมู่ที่ 3 บ้านโพนขาว ตำบลโพนสว่าง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ชาวบ้านโพนขาว ส่วนใหญ่เหมือนกับชาวบ้านทั่วไป ที่มีวิถีชีวิต
ผูกพันกับธรรมชาติ ทุกๆเรื่อง ทั้งในเรื่องตั้งแต่เกิด จนตาย ชีวิตความเป็นอยู่
อาหารการกิน โดยเฉพาะเรื่องของกล้วย ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกง่าย ปลูกได้ทุกที่
ซึ่งชาวบ้านจะปลูกตามบริเวณบ้านเรือนที่อยู่อาศัย หัวไร่ปลายนา
เป็นการปลูกเพื่อประโยชน์ใช้สอยในครัวเรือน เริ่มตั้งแต่ลำต้นเป็นทั้งอาหารคน อาหารสัตว์(ใช้เลี้ยงหมู) อาหารพืชด้วยกันเอง(ทำปุ๋ย) หรือจะใช้ในงานประเพณีต่างๆใบ ใช้ห่อหมก กระทง หรือใช้ทำเป็นของเล่นเด็ก ทำเป็นปืน ทำม้าก้านกล้วย หัวปลี ใช้ทำอาหาร ประดับตกแต่ง กล้วย ใช้ทำอาหารหวาน คาว ทำพิธีกรรมทางศาสนาและประโยชน์อื่นๆอีกมายมาย
จากสถานการณ์บ้านเมือง ระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป การปลูกกล้วยที่เคยปลูกหัวไร่ปลายนาปลูกตามบ้านเรือน จากการแลกเปลี่ยนเป็นของฝาก เป็นการซื้อขายเข้ามาแทนที่การปลูกเป็นการทำเพื่อการพานิชย์ มีการซื้อขายที่ชัดเจน มีการปลูกเป็นธุรกิจเชิงตลาดและปลูกเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง ปลูกตามหลักวิชาการ รวมทั้งมีการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตขึ้นไปอีก ทั้งในเรื่องการรวมกลุ่มปลูกเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การแปรรูป การตลาด

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการส่งเสริมอาชีพและรายได้/ลดค่าใช้จ่ายได้ให้กับคนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

หน่อกล้ากล้วย 200 ต้นต่อ 1 ไร่

อุปกรณ์ ->

1.จอบ
2.ปุ๋ยคอก
3.ไม้ไผ่
4.เชือก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ปลูกในช่วงฤดูฝนขุดหลุมลึก 50X50X50 ซม. ระยะห่าง 2.5X 3 ม หรือ 2.5X2.5 ม.ผสมดินปุ๋ยคอก และปุ๋ยร็อดฟอสเฟส 50 กรัม เข้าด้วยกัน สูง 2 ใน 3 ของหลุม
2. ปลูกด้วยหน่อใบแคบ ใบเรียว
3. วางต้นกล้าที่เอาถุงออกแล้วลงในหลุมให้ปากถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
4. ปิดกลบและกดดินบริเวณโคนให้แน่นแล้วคลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางให้ก่อนรดน้ำให้ชุม

ข้อพึงระวัง ->

-

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา