ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การสานกระติบข้าวจากต้นไหล

โดย : น.ส. สุมาลี เชื้อพระซอง วันที่ : 2017-03-28-15:16:04

ที่อยู่ : 15 หมู่ 2 บ้านโนนหอม ตำบลโคกสี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กระติบข้าวเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีมานานคู่ กับวิถีชีวิต คนอีสานจะใช้กระติบข้าวเป็นภาชนะ ในการใส่ข้าวเหนียว เพื่อเก็บความอุ่น ความนุ่ม ของข้าวให้นานตลอดทั้งวันซึ่งข้าวเป็นอาหารหลัก ของคนอีสาน กระติบข้าวสามารถพกพา นําไปได้ทุกที่โดยเฉพาะเวลาออกนอกบ้านไปทํางานและ ทําธุระต่าง ๆ นิยมจะนําข้าวใส่กระติบติดตัวไป ด้วยเสมอ ชาวบ้านจะนําวัสดุที่ได้ในหมู่บ้าน เช่น ไม่ไผ่ ไหล ผือ ต้นกก หรือใบเตย    มาจักสานเป็น กระติบข้าว โดยได้รับการถ่ายทอดและฝึกฝนการ สานกระติบข้าวจาก พ่อแม่ปู่ ย่า ตายาย บรรพบุรุษ ดั้งเดิมสําหรับกลุ่มหัตถกรรมจักสานบ้านคําไหล ใช้ ไหล ซึ่งเป็นวัสดุที่มีอยู่มากในหมู่บ้านมาจักสานเป็น กระติบข้าว

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้แก่ชุมชน และครัวเรือนเป้าหมายการพัฒนา จำนวน 20 ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.  ต้นไหล
2.  ไม้ก้านตาล

อุปกรณ์ ->

1.  เข็ม
2.  มีด
3.  น้ำ
4.  เชือกไนล่อน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ตัดไหลทีÉมีอายุได้ประมาณ 3-4 เดือน ต้น ไม่อ่อนไม่แก่จนเกินไปโดยตัดเอาส่วนที่เป็นต้นปลอม(เพราะไม่เป็นปล้องและข้อ)
2. ตากไหลให้แห้งใช้เวลาประมาณ 5 วัน ( อาจนานวันกว่านี้แล้วแต่แสงแดด)
3. ผ่าไหลเป็นเส้น ขนาดแล้วแต่ความพอใจ ถ้าต้องการความละเอียด สวยงาม จะทําเป็นเส้นเล็กๆ
4. นําไหลที่ทําเป็นเส้นประมาณ 10 เส้น รวมกันทําเป็นไส้ในการสาน บิดสัก 5-6 รอบ แล้วขดเป็นวงกลมขนาดเล็กๆ
5. ร้อยตอกไหลใส่เข็มสอดสานไปเรื่อยจน ได้ขนาดความกว้างและความสูงตาม ต้องการ ขณะที่สานควรพรมน้ำบ้างเส้น ไหลจะเหนียว
6. เมื่อสานตัวกระติบเสร็จแล้ว ค่อยสานฝา ซึ่งขั้นตอนการสานจะเหมือนกัน เพียงแต่ ความกว้างให้กว้างกว่าตัวกระติบเล็กน้อย
7. เมื่อสานเสร็จแล้วทําขากระติบ ซึ่งใช้ไม้ ก้านตาลมาฝ่าเป็นแผ่นบางๆขดเป็นวงกลม ขนาดเท่าตัวกระติบ เจาะรูใช้เชือกมัด ขากับตัวกระติบให้แน่น
8. ทําสายกระติบโดยใช้เชือกไนล่อนแขวน หรือสะพาย เมื่อเสร็จทุกขั้นตอน ก็นําออกจําหน่ายได้ หรือนําไปใช้ได้เลย

ข้อพึงระวัง ->

ในช่วงฤดูหนาวการสานกระติบข้าวค่อนข้างยากอากาศที่แห้ง ลมที่แรงทำให้เส้นของไหลกรอบและขาดได้ง่ายจึงทำให้การสานกระติบข้าวค่อนข้างยากและลำบากในฤดูฝนอากาศจะชื้นทำให้กระติบข้าวขึ้นรา  ได้ง่าย เส้นที่ใช้ในการสานก็จะขึ้นรา ต้องนำมาเก็บในที่แห้ง เพื่อให้ได้เส้นไหลที่สวยงาม 

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา