ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด

โดย : นายวัชระ คำใหญ่ วันที่ : 2017-03-25-13:57:58

ที่อยู่ : ๔๘/๒๘ หมู่ที่ ๗ บ้านดอนสมอ ต.ท่าบ่อสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านดอนสมอ เป็นหมู่บ้านที่เลี้ยงควายจำนวนมากเป็นอันดับหนึ่งของอำเภอ จำนวน ๘๐๐-๑,๐๐๐ ตัว เลี้ยงในเชิงธุรกิจและอนุรักษ์ เมื่อปี ๒๕๕๘ หมู่บ้านได้รับรางวัลกลุ่มผู้เลี้ยงกระบือ สวยงามระดับประเทศ

เมื่อมีควายจำนวนมาก ดังนั้นขี้ควายก็มีมากเช่นกัน เดิมชาวบ้านขายเฉพาะปุ๋ยคอก มีเกษตรกรทั้งในและนอกชุมชน มารับซื้อถึงหมู่บ้าน ต่อมาผู้นำชุมชนได้เรียนรู้ จากการดูงาน จากการฝึกอบรม จึงได้คิดทำปุ๋ยหมักอินทรีย์เพื่อเพิ่มมูลค่าในการ จำหน่าย และยังได้รับการสนับสนุนจาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) ในการสนับสนุนการทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด และ ผ่านการรับรองคุณภาพจาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.)

ชุมชนได้รวมกลุ่ม และจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน และใน ปี ๒๕๖๐ ได้ลงทะเบียน OTOP ผลิตภัณฑ์ ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ประเภทของใช้ฯ

วัตถุประสงค์ ->

๑.เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้

๒.เป็นอาชีพเสริมเพิ่มราย/ลดค่าใช้จ่ายได้ให้กับคนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. มูลสัตว์ (ขี้ควาย) จานวน ๑,๐๐๐ กิโลกรัม
๒. ปุ๋ยยูเรีย (๔๖-๐-๐) จานวน ๕ กิโลกรัม
๓. ปุ๋ยหินฟอสเฟต (๐-๓-๐) จานวน ๒๕ กิโลกรัม
๔.น้ำ

อุปกรณ์ ->

- ผ้าพลาสติก/ผ้าใบ สำหรับคลุม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

นำทุกส่วนมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ขณะที่ทำการผสมให้เติมน้ำให้มีความชื่นประมาณ ๕๐% (หรืออาจผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์เร่งกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์ให้เร็วขึ้นและช่วยลดกลิ่นเหม็นที่เกิดจากกระบวนการหมัก) ปริมาณความชื่นดังกล่าวสามารถวัดได้โดยการนำมูลสัตว์ที่ผสมกันเรียบร้อยแล้ว นำมากำด้วยมือ ถ้าปล่อยมือออกมูลสัตว์ยังคงรูปได้ แสดงว่าปุ๋ยมีความชื้นพอเหมาะแต่ถ้ากำแล้วปล่อยก้อนมูลสัตว์แตกเป็นก้อนเล็กๆ แสดงว่าปริมาณน้ำยังไม่พอต้องเพิ่มน้าอีก หลังจากที่ผสมคลุกเคล้าแล้วให้ลำเลียงมูลสัตว์ที่ผสมเรียบร้อยแล้วกวาดกองไว้รวมกัน จากนั้นนำผ้าพลาสติกหรือผ้าใบมาคลุม เพื่อป้องกันฝนและไม่ให้ความชื้นระเหยออกจากกองปุ๋ย หลังจากนั้น ๓ วันให้พลิกกลับกองปุ๋ยครั้งที่ ๑ เสร็จแล้วนำผ้าพลาสติกมาคลุมไว้เหมือนเดิม นับอีก ๗ วันให้พลิกกลับกองปุ๋ยครั้งที่ ๒ และคลุมพลาสติกไว้เหมือนเดิม นับอีก ๗ วันให้พลิกกลับกองปุ๋ยครั้งที่ ๓ และคลุมพลาสติกไว้เหมือนเดิม นับไปอีก ๗ วันให้พลิกกลับกองปุ๋ยครั้งที่ ๔ เสร็จแล้วนำพลาสติกมาคลุมไว้เหมือนเดิม หลังจากนั้น ๗ วัน ก็สามารถนาไปใช้ได้เลย หากต้องการเก็บไว้นาน และสะดวกในการใช้ นาไปเข้าเครื่องอัดเม็ด ตากให้แห้งแล้วบรรจุใส่กระสอบปุ๋ย

ข้อพึงระวัง ->

การพลิกกลับปุ๋ยเป็นเรื่องสาคัญมาก การผลิตปุ๋ยหมักจะต้องอาศัยกระบวนการทางานของจุลินทรีย์ เพื่อย่อยสลายมูลสัตว์ให้กลายเป็นปุ๋ย ระหว่างการย่อยสลายอยู่นั้น จะมีความร้อนเกิดขึ้น และความร้อนจะช่วยกำจัดเมล็ดวัชพืช เชื้อโรคและไข่พยาธิที่ติดมากับวัตถุดิบ แต่ถ้าความร้อนที่มีอุณภูมิสูงกว่า ๗๐ องศาเซลเซียส จะส่งผลให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ตาย เศษวัชรพืชจะย่อยสลายช้าลง ดังนั้นการพลิกกลับกองปุ๋ยครั้งแรกระยะเวลา ๓ วัน อุณภูมิของกองปุ๋ยจะตกประมาณ ๖๕-๗๐ องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณภูมิที่เหมาะสมในการพลิกกลับกองปุ๋ย

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา