ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การปลูกสับปะรด

โดย : นายเสกสรร ชนะดิษฐ์ วันที่ : 2017-03-24-17:18:57

ที่อยู่ : 6/1 บ้านธาตุหัวบึง หมู่ที่ 14 ตำบลโนนตาล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สับปะรด เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งที่มีพื้นที่เหมาะสมในการปลูกที่อำเภอท่าอุเทน และอำเภอโพนสวรรค์ สับปะรดของจังหวัดนครพนมเป็นสับปะรดที่มีคุณภาพ รสชาติหวานฉ่ำ กลิ่นหอม ไม่กัดลิ้น ตาตื้น ซึ้งเป็นลักษณ์เฉพาะถิ่น ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ และได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมีศาสตร์ หรือ GIS

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้แก่ชุมชน และครัวเรือนเป้าหมายการพัฒนา

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

หน่อสับปะรด

อุปกรณ์ ->

จอบ เสียม มีด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการปลูก ทำได้สองวิธี คือ การปลูกด้วยหน่อ และการปลูกด้วยจุก   โดยการปลูกด้วยหน่อให้คัดหน่อขนาดเดียวกันสำหรับปลูกในแต่ละแปลง เพื่อสามารถเก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน ซึ่งสามารถบังคับดอกได้เมื่ออายุปลูก 8 - 12 เดือน  ขึ้นอยู่กับขนาดของหน่อที่ใช้ปลูก   สำหรับการปลูกด้วยจุก   จุกควรมีขนาดตั้งแต่ 180 กรัมขึ้นไป  สามารถบังคับดอกได้เมื่ออายุปลูก 10 - 14 เดือน     ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาปลูก ก่อนปลูกต้องชุบหน่อหรือจุกด้วยสารป้องกันโรครากเน่าหรือต้นเน่า  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกช่วงกลางฤดูฝน ตามคำแนะนำ และควรปลูกในลักษณะแถวคู่ ระยะปลูก 30 x 30 x (80 - 90) เซนติเมตร  ปลูกได้ประมาณ 7,500 - 8,500 ตันต่อไร่ แต่ไม่ควรเกิน 12,000 ตันต่อไร่การให้ปุ๋ย ให้ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-20-0 และให้ปุ๋ยบริเวณกาบใบล่างของต้น  ด้วยปุ๋ยเคมีสัดส่วน 2:1:3 หรือ 3:1:4 เช่น สูตร 12-6-15 หรือ 12-4-18  หรือ 15-5-20 หรือ 13-13-21 ให้ 2 ครั้ง  ครั้งละ 10 - 15 กรัมต่อต้น  ครั้งแรกหลังปลูก 1 - 3 เดือน ครั้งต่อมาห่างกัน 2 - 3 เดือน หาก ไม่ได้ให้ปุ๋ยรองพื้น  จะให้ปุ๋ยทางกาบใบล่างของต้นก็ได้  แต่เพิ่มจำนวนเป็น 3 ครั้ง   ควรสังเกตดูว่าสับปะรดมีใบสีเขียวซีดจางเนื่องจากได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอหรือไม่  หากพบให้พ่นปุ๋ยทางใบเสริม เช่น ปุ๋ยเคมีสูตร 23-0-30 ผสมน้ำเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ อัตรา 75 มิลลิลิตรต่อต้น จำนวน  3 ครั้ง  คือ ระยะก่อนบังคับดอก 30 วัน 5 วัน  และหลังบังคับดอก 20 วัน สำหรับการให้น้ำ ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ  ถ้ามีปริมาณน้ำฝนสม่ำเสมอตลอดฤดูกาล  แต่ในฤดูแล้งหากฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน    ควรให้น้ำต้นสับปะรดที่กำลังเจริญเติบโต สัปดาห์ละ 1 - 2 ลิตรต่อต้น  และหลังใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้าย ถ้าไม่มีฝนต้องให้น้ำเพื่อให้ต้นสับปะรดใช้ปุ๋ยให้หมด   อีกทั้ง ควรให้น้ำก่อนและหลังการออกดอก และหยุดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยว 15 - 30 วัน
การบังคับดอก ในแปลงเดียวกัน  ควรบังคับดอกพร้อมกัน โดยบังคับดอกหลังการให้ปุ๋ยทางกาบใบแล้ว 2 เดือน หรือหลังการพ่นปุ๋ยทางใบ 1 เดือน และบังคับดอกเมื่อต้นสับปะรดมีน้ำหนักต้นปลูกประมาณ 2.5 - 2.8 กิโลกรัม และน้ำหนักต้นตอประมาณ 1.8 - 2.0 กิโลกรัม ด้วยสารผสมของเอทธิฟอน (39.5%) อัตรา 8 มิลลิลิตร   กับปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 300 กรัม   และน้ำ 20 ลิตร อัตรา 60 - 75 มิลลิกรัมต่อต้น หรือใส่ถ่าน แก๊ส อัตรา 1 - 2 กรัมต่อต้น    ในขณะมีน้ำอยู่ในยอดทั้ง 2 วิธี บังคับ 2 ครั้ง   ห่างกัน 4 - 7 วัน    ทำการบังคับดอกในช่วงเย็นหรือกลางคืน หากมีฝนตกภายใน 2 ชั่วโมง หลังหยอดสารบังคับดอก ควรหยอดซ้ำภายใน 2 - 3 วัน
การเก็บเกี่ยว สับปะรดสำหรับโรงงาน เก็บเกี่ยวผลสับปะรดที่มีความสุกแก่ตามมาตรฐาน และห้ามใช้สารเคมีทุกชนิดเร่งให้สับปะรดสุกก่อนกำหนด  เก็บโดยใช้มือหักผลออกจากต้นโดยไม่ต้องเหลือก้าน แล้วหักจุกออก คัดทิ้งผลแกน ถูกแดดเผา หรือจุกผิดปกติออก คัดขนาดให้ได้ตามมาตรฐานของโรงงาน และควรส่งโรงงานภายใน 1 - 2 วัน  เพื่อรักษาคุณภาพของสับปะรด และการจัดเรียงผลสับปะรด   ให้จัดเรียงโดยด้านจุกอยู่ด้านล่าง  เพื่อรับน้ำหนักและป้องกันผลช้ำ  สำหรับสับปะรดบริโภคสด   ควรเก็บเกี่ยวเมื่อตาสับปะรดเริ่มเปิด 2 - 3 ตา     หรือผิวเปลือกเปลี่ยนเป็น การจัดการต้นตอ   เนื่องจากสับปะรดสามารถไว้ตอได้ 1-2 ครั้ง โดยไม่ต้องปลูกใหม่  เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว  ควรใช้มีดตัดต้นสับปะรดระดับ สีเหลืองประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ใช้มีดตัดให้เหลือก้านยาวติดผลประมาณ 10 เซนติเมตร โดยไม่ต้องหักหัวจุกออกเหนือดิน 20-30 เซนติเมตร  และตัดใบให้เหลือประมาณ 10 เซนติเมตร  จากนั้นให้ใช้ต้นและใบสับปะรดคลุมดิน    เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันการงอกของวัชพืช  รวมทั้งให้ปุ๋ยและน้ำตามคำแนะนำ  ตลอดจนหักหน่ออากาศ หรือหน่อที่เกิดจากต้นไปใช้ขยายพันธุ์ เหลือเฉพาะหน่อดินไว้เป็นต้นตอโรคที่สำคัญของสับปะรดที่มักพบบ่อยๆ  คือ โรครากเน่าหรือต้นเน่า  และโรคผลแกน    ซึ่งโรครากเน่าหรือต้นเน่า เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราทำให้ใบยอดล้มพับและหลุดง่าย  ระบาดรุนแรงในฤดูฝน  โดยเฉพาะในพื้นที่มีสภาพเป็นด่าง  สามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงการใช้หน่อหรือจุกสับปะรดจากแหล่งและแปลงที่มีโรคระบาด   ลักษณะอาการส่วนยอดของสับปะรดจะเปลี่ยนเป็นสีแดง สีเหลืองซีด  ใบยอดล้มพับและหลุดง่ายบริเวณฐานใบมีรอยเน่าซ้ำสีเหลืองอ่อน   ขอบแผลสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ    เกิดอาการเน่าและมีกลิ่นเฉพาะตัว  มักระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน  โดยเฉพาะในพื้นที่มีสภาพเป็นด่าง  โรคนี้สามารถป้องกันและกำจัดได้โดยปรับพื้นที่แปลงปลูกให้มีการระบายน้ำได้ดี ปรับสภาพความเป็นกรดด่างของ ดินให้ต่ำกว่า 5.5   โดยใช้กำมะถันผง  หลีกเลี่ยงการใช้หน่อหรือจุกสับปะรดจากแหล่งและแปลงที่มีโรคระบาด  และจุ่มหน่อหรือจุกก่อนปลูก และพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชทุก 2 เดือน   ตามคำแนะนำ  เมื่อพบต้นที่เป็นโรคให้เก็บต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย   แล้วพ่นต้นสับปะรดบริเวณใกล้เคียง ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ตามคำแนะนำ

ข้อพึงระวัง ->

ห้ามใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ภายหลังจากการใช้สารเคมีเร่งดอกสับปะรดแล้ว ให้รอจนกว่าจะเก็บผลเสร็จสิ้นแล้วจึงจะใช้ได้

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา