ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เครื่องปั้นดินเผา

โดย : นายสุนทร ชื่นชม วันที่ : 2017-03-24-15:20:02

ที่อยู่ : 134/4 บ้านกลาง หมู่ที่ 1 ตำบลโนนตาล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านกลาง ตำบลโนนตาล อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นชุมชนที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาเพื่อขายเป็นอาชีพเสริมเพราะบ้านกลางเป็นพื้นที่ที่มีบ่อดินเหนียวที่หนองกุดค้าวแห่งเดียวในจังหวัดนครพนม โดยตอนแรกผลิตเป็นกิจการของครัวเรือน ซึ่งการทำเครื่องปั้นดินเผาเกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านอย่างแท้จริง สำหรับการทำเครื่องปั้นดินเผามีการสืบทอดกันมานานนับได้ประมาณ ๑๕๐ ปี ซึ่งมีคนที่เริ่มทำเป็นคนแรกมีชื่อว่า ปู่ไห เป็นชาวอุบลราชธานี ที่ได้อพยพมาอยู่ที่บ้านกลางในสมัยนั้น และเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้มีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด ๔๓ คน ในการรวมกลุ่มก็เป็นการต่อรองราคาสินค้า และที่มีนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์  คนในชุมชนก็เลยให้ความสนใจในเรื่องนี้ และชุมชนเองก็ให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาที่ตนเองหรือชุมชนมีอยู่ จึงนำสินค้าด้านเครื่องปั้นดินเผามาเป็น สินค้า (OTOP)  และได้รับการยอมรับ

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้แก่ชุมชน และครัวเรือนเป้าหมายการพัฒนา

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ดินเหนียว

อุปกรณ์ ->

1. แป้นหมุน ใช้สำหรับขึ้นรูปแจกัน โอ่ง อ่าง หม้อ ครก ฯลฯ
2. เหล็กขูด หรือไม้ขูดใช้สำหรับตกแต่ง ขีด ปาด เขียนลวดลายบนภาชนะ
3. ผ้าคลุมดิน ใช้คลุมดินไม่ให้ดินแห้งแข็งเร็วก่อนกำหนด ขณะที่ผลงานยังไม่เสร็จ
4. น้ำสำหรับล้างมือและขึ้นรูปเพื่อให้ความเลื่อนง่ายต่อการขึ้นรูป
5. ไม้แกะสลัก ทำด้วยไม้ไผ่ ใช้สำหรับแกะสลักลวดลาย
6. ด้ายหรือลวด เอาไว้สำหรับตัดดินหรือตัดก้นของผลิตภัณฑ์หลังจากที่ขึ้นรูปเสร็จ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำดินที่สามารถนำมาทำเครื่องปั้นดินเผามาตากแดดให้แห้งแล้วนำเข้าเครื่องปดดิน
2. พอปดดินได้แล้วก็นำดินดังกล่าวไปหมักในทอหรือนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ ๑ คืน
3. นำดินที่แช่นำเข้าเครื่องนวด
4. นำดินที่นวดแล้ววางบนแป้นหมุนขึ้นรูปทรงตามที่ต้องการ
5. ตกแต่งรูปทรง ขนาด ความหนาให้เรียบร้อย ใช้กะลา หรือหินขัด ตกแต่งรูปทรงให้สมส่วน แล้วนำมาผึ่งให้แห้ง
6. กำหนดลวดลายที่ต้องการลงบนภาชนะที่ต้องการ
7. ใช้เครื่องมือที่ทำด้วยไม้ไผ่ หรือเหล็กขูด แกะตามลายที่กำหนดไว้
8. ตกแต่งลวดลายให้สวยงาม เศษดินที่ติดตามร่องลายตามซอกลายให้นำออกให้หมด
9. นำภาชนะที่แกะเรียบร้อยแล้วไปผึ่งในที่ร่มโล่ง โปร่ง ห้ามตากแดด เพราะจะทำให้
ภาชนะที่ปั้นแตกร้าวได้
10. นำภาชนะแกะตกแต่งที่แห้งแล้วนำไปเข้าเตาเผา เผาด้วยอุณหภูมิประมาณ
800 ํc ถึง 1,000 ํc ใช้เวลาเผาประมาณ  7 วัน  งานแต่ละชิ้นจะใช้เวลาประมาณ 22 – 25  วัน
11. ผลงานที่เผาเสร็จจะมีสีเนื้อดินเป็นสีส้ม อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของบ้านกลาง

ข้อพึงระวัง ->

ดินจะต้องเป็นดินเหนียวปราศจากวัชพืช หรือเศษกรวดทรายปนอยู่ในเนื้อดิน เนื้อดินต้องมีลักษณะเหนียว มีสีนวลปนเหลือง เนื้อดินจับเป็นก้อนแน่นไม่ร่วนซุยผสมด้วยทรายละเอียด ผสมนวดให้เนื้อดินกับทรายให้เข้ากัน

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา