ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเพาะเลี้ยงกุ้งขาว และกุ้งก้ามกราม

โดย : นายสนั่น หินเพ็ชร วันที่ : 2017-03-19-15:02:13

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 53 หมู่ 1 ตำบลดอนข่อย อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->


 

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อถ่ายทอดความรู้ในการเพาะเลี้ยงกุ้งให้แก่บุคคลทั่วไปทราบ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

หลังจากจับกุ้งจะตากบ่อประมาณ 1-2 สัปดาห์หรือมากกว่านั้นขึ้นกับสภาพอากาศ หลังจากนั้นจึงลงปูนขาว (ปูนเปลือกหอย) ประมาณ 100 กิโลกรัม/ไร่ และจากการเลี้ยงกุ้งแบบนี้ที่ผ่านมาบ่อก็ไม่ค่อยมีเลนมากเท่าไหร่ แต่ถ้าต้องการให้บ่อแห้งเร็วก็จะจ้างรถมาคราด การเตรียมน้ำที่นี่จะใช้น้ำจากคลองในหมู่บ้าน เป็นน้ำที่ไม่มีความเค็ม แต่บ่อที่เตรียมไว้สำหรับชำลูกกุ้งก้ามกรามอย่างเดียวก็จะใช้การโรยเกลือเพื่อให้กุ้งก้ามกรามได้เกาะเม็ดเกลือ (เพราะช่วงแรกของวงจรชีวิตลูกกุ้งกรามกรามน้ำที่อยู่ต้องมีความเค็มระดับหนึ่ง)ส่วนบ่อที่จะเลี้ยงกุ้งขาวร่วมกับกุ้งก้ามกราม น้ำที่เอาเข้ามาไม่ต้องปรับความเค็ม เพราะลูกกุ้งขาวจะโดนปรับความเค็มให้มาตั้งแต่โรงเพาะฟักเพื่อให้สามารถเลี้ยงได้ในน้ำที่มีความเค็มต่ำมากๆ และระหว่างการเลี้ยงจะใส่ปูนเปลือกหอยเมื่อมีปัญหาน้ำดรอปเท่านั้น
                   การปล่อยกุ้งขาวจะปล่อยเมื่อพีเอชได้ประมาณ8 จึงจะติดดี อัลคาไลน์อย่างน้อยต้องมี 70-80 พีพีเอ็ม และเมื่อเลี้ยงต่อไปค่าอัลคาไลน์จะเพิ่มขึ้นเอง กุ้งขาวที่ปล่อยลงไปจะให้อาหารกุ้งกุลาดำหรืออาจไม่ให้อาหารเลยในระยะแรกถ้าเตรียมบ่อดีแล้วมีสัตว์หน้าดินมาก และในช่วงแรกที่เราปล่อยลูกกุ้งเลี้ยงจะไม่เปิดเครื่องตีน้ำเพราะเราปล่อยกุ้งบางมาก แต่ต้องมีการเตรียมน้ำให้ดี ต้องมีสีน้ำ จากการที่เตรียมบ่อดีพบว่า 2 สัปดาห์จะมีอาหารธรรมชาติเอง และจะให้อาหารกุ้งเต็มที่เมื่อลงกุ้งก้ามกราม โดยอาหารที่ให้เป็นอาหารกุ้งกุลาดำ และให้วันละ 1 มื้อ เวลา 8.00-9.00 น. อัตราส่วนอาหาร 1 กิโลกรัม/ต่อกุ้งก้ามกราม 10 กิโลกรัม และจะวางยอเมื่อกุ้งก้ามกรามมีอายุ 1 เดือน โดยในยอให้อาหาร 1 ช้อนโต๊ะต่ออาหารกุ้ง2 กิโลกรัม ปกติจะวาง 2 ยอ ต่อบ่อ2ไร่ และจะเช็คอาหารว่าเหลือหรือเปล่าในวันรุ่งขึ้น (ใช้เวลาประมาณ 23 ชั่วโมง) โดยจะเช็คยอก่อนให้อาหาร 1 ชั่วโมง ถ้าอาหารหมดถึงจะให้ และเดินอาหารตั้งแต่เบอร์ 1-4 เท่านั้น
                   ในการจับกุ้งก้ามกรามและกุ้งขาวจะคว่ำบ่อขาย โดยอัตราแลกเนื้อของกุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงไป 3 เดือนในบ่อที่เลี้ยงทั้งสองกุ้งจะดีที่สุด คือเท่ากับ 1.3 และถ้าเลี้ยงต่อไป 4 เดือนจะมีอัตราแลกเนื้อเท่ากับ 1.5 
ในการเลี้ยงกุ้งแบบนี้เมื่อเลี้ยงครบ 3 เดือน กุ้งก้ามกรามตัวผู้จะได้ขนาด 15-16 ตัว/กิโลกรัม (ที่ความหนาแน่น 6,000 ตัว/ไร่) และถ้าต้องการให้ได้กุ้งก้ามกรามตัวใหญ่เช่นได้ขนาด 7-8 ตัว/กิโลกรัม (ต้องปล่อยที่ความหนาแน่นก้ามกราม 3,000 ตัว/ไร่) โดยได้ผลผลิตกุ้งก้ามกรามรวมประมาณ 300-400 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อเลี้ยงไป 3 เดือนขนาดกุ้งขาวได้ขนาด 50-60 ตัว/กิโลกรัม (ซึ่งได้กุ้งขาวประมาณ 250 กิโลกรัม)
ช่วงแรกของการเลี้ยงจะไม่มีการเปิดเครื่องตีน้ำ แต่เมื่ออายุกุ้งประมาณ 2 เดือนครึ่งจึงจะเปิดเครื่องตีน้ำเวลากลางคืน เพื่อให้น้ำเคลื่อนตัวให้ออกซิเจนหมุนเวียนได้
 

ข้อพึงระวัง ->

ที่ฟาร์มเคยเจอปัญหากุ้งก้ามกรามเหงือกดำ เพราะตอนนั้นเมื่อจับกุ้งเสร็จไม่ได้ตากบ่อและดึงน้ำเข้าบ่อทันที พบว่ากุ้งทยอยตาย หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนมาตากบ่อให้แห้งสนิทเตรียมบ่อให้ดีทีสุด พบว่าทุกอย่างก็กลับมาแฮ๊ปปี้ มีความสุขเหมือนเดิม

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครปฐม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา