ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทำนา

โดย : นายมานิตย์ รักสงบ วันที่ : 2017-03-25-08:30:49

ที่อยู่ : 48 หมู่ที่ 8 บ้านลาดช้าง ต.บึงศาล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยในทุกภาค มีพื้นจากการเป็นสังคมเกษตรกรรม เป็น สังคมที่ผสมผสานคติความเชื่อพื้นเมือง เช่น การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นับถือธรรมชาติ เข้ากับคติความเชื่อ ทางศาสนา การเป็นสังคมเกษตรของไทยในอดีต คือการเกษตรแบบยังชีพ การทำนาเป็นอาชีพหลัก ใน อดีตเป็นการทำนาที่ใช้แรงงานคนในครอบครัวและแรงงานสัตว์เป็นหลัก พึ่งพาน้ำฝนและน้ำในแม่น้ำลำ คลองในการเพาะปลูก และใช้ในชีวิตประจำวัน ลักษณะการดำรงชีวิตที่ต้องพึงพาธรรมชาติ และพึ่งพาตน เอง ทำให้ชาวบ้านเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันและพึ่งพากัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงเป็นสุข

วัฒนธรรมแบบสังคมเกษตรของคนไทยมีลักษณะเด่น คือ เป็น สังคมที่มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือกัน มีการนับญาติกันอย่าง สนิทสนม เช่น ใช้คำว่า ปู่ ย่าลุง ป้า น้า พี่ เรียกผู้สูงอายุที่ไม่รู้จักกัน หรือไม่ใช่ญาติ มีการยกย่องธรรมชาติและสิ่งที่มีบุญคุณ เช่น การทำ ขวัญพระแม่โพสพ การลอยกระทง เพื่อขอบคุณและขอขมาพระแม่ คงคา การนับถือพระแม่ธรณี การทำขวัญโค-กระบือ มีการร่วมมือกัน ในสังคม เช่น การขอแรงเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงาน เมื่อแรงงาน ภายในครอบครัวไม่เพียงพอ เช่น การลงแขก การขอแรง การเอาแรง เอามือ เอาปากกินหวาน เพื่อช่วยกันทำงานในนา ปลูกสร้างบ้าน โดยเป็นการแลกเปลี่ยนหมุนเวียน แรงงานในชุมชน โดยที่ไม่ต้องใช้   การว่าจ้างเจ้าของงานมีหน้าที่เพียงดูแลเรื่องอาหารการกินให้เพียง พอแก่ผู้มาช่วยงาน

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

รถไถนาใช้ได้ทั้งเตรียมดินนาหว่านและนาดำและคราด

รถแทรกเตอร์ 
เครื่องเตรียมดิน ทำนา ทำสวน ทำไร่หรือหักร้างถางพง

เครื่องปักดำใช้แทนการปักดำด้วยแรงงานคน เครื่องมือชนิดนี้ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก

เครื่องสูบน้ำ 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำนา หมายถึง การปลูกข้าวและการดูแลรักษาต้นข้าวในนา ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว การปลูกข้าวในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามสภาพของดินฟ้าอากาศ และสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ ในแหล่งที่ต้องอาศัยน้ำจากฝนเพียงอย่างเดียว ก็ต้องกะระยะเวลาการปลูกข้าวให้เหมาะสมกับช่วงที่มีฝนตกสม่ำเสมอ และเก็บเกี่ยวในช่วงที่ฤดูฝนหมดพอดี เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นมีสภาพดินฟ้าอากาศที่แตกต่างกัน

สำหรับการทำนาในประเทศไทยมีปัจจัยหลัก 2 ประการ เป็นพื้นฐานของการทำนาและเป็นตัวกำหนดวิธีการปลูกข้าว และพันธุ์ข้าวที่จะใช้ในการทำนาด้วยหลัก 2 ประการ คือ


1. สภาพพื้นที่ ( ลักษณะเป็นพื้นที่สูงหรือต่ำ )  และภูมิอากาศ
2. สภาพน้ำสำหรับการทำนา

ฤดูทำนาปีในประเทศไทยปกติจะเริ่มราวเดือนพฤษภาคมถึงกรกฏาคมของทุกปี ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน เมื่อ 3 เดือนผ่านไป ข้าวที่ปักดำหรือหว่านเอาไว้จะสุกงอมเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว ส่วนนาปรัง สามารถทำได้ตลอดปี เพราะพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง เมื่อข้าวเจริญเติบโตครบกำหนดอายุก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้

การทำนามีหลักสำคัญ คือ

    1. การเตรียมดิน ก่อนการทำนาจะมีการเตรียมดินอยู่ 3 ขั้นตอน

  • การไถดะ เป็นการไถครั้งแรกตามแนวยาวของพื้นที่กระทงนา (กรณีที่แปลงนาเป็นกระทงย่อยๆ หลายกระทงในหนึ่งแปลงนา) เมื่อไถดะจะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศ ออกซิเจน และเป็นการตากดินเพื่อทำลายวัชพืช โรคพืชบางชนิด การไถดะจะเริ่มทำเมื่อฝนตกครั้งแรกในปีฤดูกาลใหม่ หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์
  • การไถแปร หลังจากที่ตากดินเอาไว้พอสมควรแล้ว การไถแปรจะช่วยพลิกดินที่กลบเอาขึ้นการอีกครั้ง เพื่อทำลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่ และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง จำนวนครั้งของการไถแปรจึงขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัชพืช ลักษณะดินและระดับน้ำ ในพื้นที่ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วจะไถแปรเพียงครั้งเดียว
  • การคราด เพื่อเอาเศษวัชพืชออกจากกระทงนา และย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงอีก จนเหมาะแก่การเจริญของข้าว ทั้งยังเป็นการปรับระดับพื้นที่ให้มีความสม่ำเสมอ เพื่อสะดวกในการควบคุม ดูแลการให้น้ำ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครนายก
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา