ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำน้ำหมักชีวภาพคุณภาพสูง

โดย : นายไพรัตน์ แพทย์เจริญ วันที่ : 2017-03-27-13:00:35

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 64 หมู่ 3 ตำบลบ้านพริก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา

ชาวบ้านในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา เป็นส่วนใหญ่ โดยใช้ปุ๋ยเคมีในการบำรุงข้าว และทำการบำรุงพืชอื่นๆ แต่พบว่าต้นทุนทางการผลิตมีราคาสูง และเกษตรกรมีปัญหาด้านสุขภาพตามมาจึงหันมาสู่การทำการเกษตรโดยการลดการใช้สารเคมี การทำน้ำหมักชีวภาพ และฮอโมนไข่

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

             ข้าพเจ้าได้หาศึกษาหาความรู้จากหมอดินในตำบล เจ้าหน้าที่เกษตรจังหวัดนครนายก และหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ จนได้เป็นสูตรของน้ำหมักชีวภาพ โดยระยะแรกของการทดลองการปลูกพืชโดยใช้น้ำหมักชีวภาพนั้น ก็ได้ทำการเฝ้าสังเกตและเห็นความเปลี่ยนแปลงของดินและต้นพืชในทางที่ดีขึ้น โดยพืชตอบสนองต่อน้ำหมักชีวภาพได้อย่างดีมาก ต้นแข็งแรง โตเร็ว ผลผลิตที่ได้ออกมาก็ดี และยังเป็นการช่วยลดต้นทุนในการทำการเกษตรเป็นอย่างมาก

          สูตรการทำน้ำหมักชีวภาพ มีดังนี้

          1. ซากสัตว์ เช่น ปลา  กุ้ง  หอย  ปู  แมลง  เป็นต้น  โดยเลือกที่สดใหม่

          2. ซากพืช  เช่น  ยอด  ใบ  ผลอ่อน เป็นต้น

          3. ส่วนที่นำมาเป็นตัวเสริมหรือละลาย เช่น น้ำมันมะพร้าวแก่หรือน้ำมันมะพร้าวอ่อน น้ำอ้อย น้ำตาลสด น้ำผึ้ง น้ำนม เป็นต้น

          4. พ.ด.2

          วิธีทำ

          1. นำวัสดุต่างๆ ที่หามาได้ สับอย่างละเอียด

          2. นำวัตถุดิบที่ได้สับแล้วนำมาหมักในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ ( เพื่อกันแมลงวันวางไข่) โดยแยกเป็นซากสัตว์ 1 ถัง และซากพืช 1 ถัง

          3. นำกากน้ำตาลมาใส่ในถังหมัก โดยถังซากสัตว์ใส่กากน้ำตาลในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 เช่น ซากสัตว์ 10 กิโลกรัม ต้องใส่กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม ส่วนซากพืชใส่กากน้ำตาลในอัตราส่วน 3 ต่อ 1 เช่น ซากพืช 30 กิโลกรัม ต้องใส่กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม

          4. น้ำมันมะพร้าวแก่หรือน้ำมันมะพร้าวอ่อน น้ำอ้อย น้ำตาลสด น้ำผึ้ง น้ำนม ที่เตรียมมาใส่ในถังหมักโดยใส่ให้ท่วมวัสดุประมาณ 1 คืบ และใส่ พ.ด.2 ลงในถังหมัก

          5. เปิดฝาถังหมักแล้วคนทุกเช้าเป็นเวลา 10 นาที  ใน 7 วันแรกที่หมัก

          6. ปิดฝาไว้ 1 ปี แล้วจึงน้ำน้ำหมักทั้ง 2 ถังมารวมกัน แล้วจะได้เป็นน้ำหมักคุณภาพสูง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครนายก
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา