ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกกุ่ยช่าย

โดย : นายสมยศ เทพเทียมทัศ วันที่ : 2017-03-27-12:52:19

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 3/1 หมู่ 4 ตำบลบ้านพริก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา

    จากที่ได้ไปอบรมการปลูกกุยช่ายจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพริก เมื่อ พ.ศ. 2548 ซึ่งช่วงนั้นกุยช่ายเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก จึงมีความคิดที่จะปลูกเพื่อให้เป็นรายได้เสริม จึงเริ่มปลูกกุยช่ายตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

          วัสดุ อุปกรณ์

1. การะถางพลาสติกหรือกระถางดินเผา ขนาด 11x23x30 เซนติเมตร (เส้นผ่าศูนย์กลางก้นกระถาง x เส้นผ่าศูนย์กลางปากกระถาง x ความสูง)
2.ตาข่ายพรางแสง (ซาแลน)
3. ไม้ไผ่

ขั้นตอนการปลูก
1. ใช้กล้าพันธุ์ที่เตรียมได้จากเหง้ากุยช่ายเขียว ที่มีการตัดใบจำหน่ายแล้ว อย่างน้อย 1 ครั้ง แต่ไม่ควรเกินอายุ 1 ปี หรืออาจใช้ต้นกล้าอายุตั้งแต่ 3-4 เดือน
2. ทำการขุดเหง้ากุยช่าย และเก็บไว้ในที่ร่ม แต่ควรปลูกทันทีเมื่อขุดเหง้าขึ้น
3. ทำการตัดรากให้ชิดเหง้าประมาณ 1 เซนติเมตร และตัดใบให้เหลือประมาณ 1 นิ้ว
4. ปลูก 4-6 เหง้า/หลุม ในระยะระหว่างต้น และระหว่างแถว 30×30 เซนติเมตร เว้นขอบแปลงด้านละ 15 เซนติเมตร แปลงขนาด 1.3-1.5 เมตร จะได้ประมาณ 4-5 แถว
5. ดูแล ให้น้ำ ให้ปุ๋ย และเก็บเกี่ยวกุยช่ายเขียว กุยช่ายดอกจำหน่ายแล้ว จนถึงอายุประมาณ 1 ปี จะเหมาะสำหรับผลิตเป็นกุยช่ายขาวได้
6. การตัดใบกุยช่ายเขียวจำหน่ายครั้งสุดท้าย ให้ตัดใบในระดับผิวหน้าดิน
7. ใช้กระถางครอบแต่ละกอต้นกุยช่าย โดนออกแรงกดให้กระถางจมลงดินเล็กน้อยหรือให้อยู่ในระดับที่ไม่เกิดการล้มของกระถางได้
8. ขุดหลุมฝังเสาไม้ พร้อมขึงตาข่ายพรางแสง
9. รดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง ในระยะ 10 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครนายก
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา